สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี[1][2][note 1] (12 สิงหาคม พ.ศ. 2421 – 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423)[3] เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี[4] พระองค์สิ้นพระชนม์พร้อมกับพระชนนีจากเหตุการณ์เรือพระที่นั่งล่มที่บางพูดเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 ขณะตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแปรพระราชฐานไปยังพระราชวังบางปะอิน[5]
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ | |||||
---|---|---|---|---|---|
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 5 เจ้าฟ้าชั้นเอก | |||||
สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี และสมเด็จเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ | |||||
ประสูติ | 12 สิงหาคม พ.ศ. 2421 พระบรมมหาราชวัง กรุงเทพพระมหานคร ประเทศสยาม | ||||
สิ้นพระชนม์ | 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2423 (1 ปี) บางพูด เมืองนนทบุรี ประเทศสยาม | ||||
| |||||
ราชวงศ์ | จักรี | ||||
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | ||||
พระมารดา | สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี | ||||
ศาสนา | พุทธ |
ธรรมเนียมพระยศของ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ | |
---|---|
การทูล | ใต้ฝ่าพระบาท |
การแทนตน | ข้าพระพุทธเจ้า |
การขานรับ | พ่ะย่ะค่ะ/เพคะ |
พระประวัติ
แก้พระชนม์ชีพช่วงต้น
แก้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารีประสูติเมื่อเวลา 23.11 น.[6] ของวันจันทร์ ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 9 ปีขาล สัมฤทธิศก จ.ศ. 1240 ตรงกับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2421 เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี[1] เหตุการณ์ในวันประสูติของพระองค์นั้น ปรากฏอยู่ใน จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ 5 ความตอนหนึ่งว่า "[วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2421] เวลา ๔ ทุ่มพระองค์เจ้าสุนันทาประชวรพระครรภ์ เสด็จลงประทับอยู่ที่พระตำหนักจันทร รุ่งยังไม่ประสูติ"[6] และ "[วันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2421] เวลา ๕ ทุ่ม ๑๑ นาฑี กับ ๒๕ วินาฑี พระองค์เจ้าสุนันทาประสูติพระราชบุตรี รกติดยู่ประมาณ ๑๕ นาฑีจึงออก เราอยู่ที่วังสมเด็จกรมพระ ๆ กับเราเข้าไป รับสั่งให้เราแขวนพระกระโจมอย่างคราวก่อน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าหญิงนั้น มีติ่งที่ริมพระกรรณข้างขวาหน้าออกมาตรงพระปราง ติ่งนั้นยาวประมาณ ๓ กระเดียดน้อย เมื่อเรากลับออกมากับสมเด็จกรมพระนั้นฝนตก เวลา ๗ ทุ่ม ๔๕ มินิตถึงบ้าน"[6][7] ด้วยพระองค์มีติ่งที่พระกรรณข้างขวามาแต่ประสูติ ถือเป็นสัญลักษณ์พิเศษ จึงพระราชทานพระนามว่าสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ โสภางคทัศนิยลักษณ์ อรรควรราชกุมารี[8]
การประสูติกาลพระราชธิดาครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโสมนัสยิ่งนัก ดังจะเห็นว่าทรงเฉลิมพระนามพระราชธิดาพระองค์นี้ว่า "อรรควรราชกุมารี" แสดงให้เห็นว่าโปรดปรานมาก ทั้งยังปรากฏการพระราชทานของขวัญแก่สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ด้วย ความว่า "...เราถวายสายนาฬิกาทรงซื้อ ๑๕ ชั่ง พระราชทานพระองค์เจ้าสุนันทาประสูติ กับรับสั่งให้เติมแหวนที่ทรงซื้อเงินพระคลังข้างที่อีก ๒ วง ราคาวงละ ๑๕ ชั่ง รวม ๓๘ ชั่ง ขายเงินงวดตามธรรมเนียม..."[7] ส่วนในช่วงสมโภชเดือนเจ้าฟ้าประสูติใหม่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานทองคำจากเมืองกบินทร์บุรีแก่เจ้าฟ้าพระองค์นี้ ดังปรากฏความใน จดหมายเหตุพระราชกิจรายวันในรัชกาลที่ 5 ความว่า "[วันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2421] โปรดเกล้าฯ ให้เราเขียนหนังสือปิดทองคำแท่งเมืองกบินทร์บุรี ๒ แท่ง ความว่าทองคำบ่อเมืองกบินทร์บุรีเนื้อ ๘ หนัก พระราชทานสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพ็ชรรัตน โสภางค์ทัศนิยลักษณ อรรควรราชกุมารี ในการสมโภชเดือน..."[9]
สิ้นพระชนม์
แก้ขณะที่ทรงพระชันษาได้เพียงขวบปีเดียวพระองค์พร้อมพระมารดาได้ประสบอุบัติเหตุเรือพระประเทียบล่ม ณ ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี จนสิ้นพระชนม์ทั้งสองพระองค์พร้อมกับพระราชบุตรในพระครรภ์สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ ยังความทุกข์โทมนัสแก่พระราชบิดาคือพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก ดังปรากฏในหนังสือประวัติการของจอมพล เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ภาค 1 หน้า 73 กล่าวไว้ว่า[10]
"...ในระหว่างนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระปริวิโยค มีความโศกเศร้าเป็นอันมาก จนไม่มีใครจะเข้ารอพระพักตร์ได้ และมีพระกระแสรับสั่งให้ปิดทวารกั้นเป็นพิเศษ มิให้ข้าราชการฝ่ายในออกมาพลุกพล่านรบกวนได้ มีแต่เจ้าหมื่นไวยวรนารถและพวกมหาดเล็กคอยตั้งเครื่องอานรับใช้อยู่แต่เพียงหกเจ็ดคนเท่านั้น ขณะที่ทรงได้ยินเสียงกลองชนะประโคมพระศพขึ้นครั้งไร ก็ทรงพระกันแสงพิลาปรำพันไปต่าง ๆ นานา จนกระทั่งประชวรพระวาโยไป..."
พระอนุสรณ์
แก้- พระราชานุสาวรีย์พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์ ตั้งภายในอุทยานสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สร้างเพื่อเป็นที่รำลึกและเป็นอนุสรณ์ของพระมเหสีและพระราชธิดาที่ล่วงลับ[11]
พงศาวลี
แก้อ้างอิง
แก้- เชิงอรรถ
- ↑ ในพระราชกิจจานุเบกษา ได้มีการสะกดพระนามของพระองค์ได้หลายทาง ดังต่อไปนี้
- "กรรณาภรณ์เพชรรัตน์" ("การพระราชกุศลตรงกับวันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (10): 78. 7 มิถุนายน ร.ศ. 110.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)) - "กรรณาภรณ์เพชร์รัตน์" ("การพระราชกุศลตรงกับวันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 9 (11): 72. 12 มิถุนายน ร.ศ. 111.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help)) - "กรรณาภรณ์เพ็ชร์รัตน์" ("การพระราชกุศลตรงกับวันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 27 (0ง): 375. 5 มิถุนายน ร.ศ. 129.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help))
- "กรรณาภรณ์เพชรรัตน์" ("การพระราชกุศลตรงกับวันสิ้นพระชนม์ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 8 (10): 78. 7 มิถุนายน ร.ศ. 110.
- อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 ราชสกุลวงศ์, หน้า 86
- ↑ "ทรงอภิเษกสมรส". สุนันทาลัย. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-12-18. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "การบำเพญพระราชกุศล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 6 (9): 76. 2 มิถุนายน.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ "ข่าวทรงบำเพญ พระราชกุศลที่บางปอิน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 (11): 4–6. 17 กรกฎาคม จ.ศ. 1250.
{{cite journal}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|date=
(help) - ↑ พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5, หน้า 160
- ↑ 6.0 6.1 6.2 พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5, หน้า 130-132
- ↑ 7.0 7.1 พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม, หน้า 93-95
- ↑ พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5, หน้า 134
- ↑ พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5, หน้า 135
- ↑ พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม, หน้า 99-100
- ↑ "พระอนุสาวรีย์ พระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์/สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้ากรรณาภรณ์เพชรรัตน์". ศูนย์ข้อมูลเกาะรัตนโกสินทร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-09. สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2557.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help)
- บรรณานุกรม
- กรมศิลปากร. สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ (2554). ราชสกุลวงศ์ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-02-02. สืบค้นเมื่อ 2014-10-09.
- จิรวัฒน์ อุตตมะกุล, นายแพทย์. พระภรรยาเจ้า และสมเด็จเจ้าฟ้าในรัชกาลที่ 5. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ลายคำ, 2552
- ส.พลายน้อย. พระบรมราชินีและเจ้าจอมมารดาแห่งราชสำนักสยาม. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : ฐานบุ๊คส์, 2554