สมเด็จ (เขมร: សម្តេច, UNGEGN: Sâmdéch [sɑmɗac] ออกเสียง ซ็อมดัจ) เป็นนามยศซึ่งพระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชาพระราชทานแก่บุคคลที่ถือว่ามีคุณูปการต่อประเทศชาติ โดยมากผู้ที่ได้รับพระราชทานยศนี้มีราชทินนามต่อท้ายเพื่อแสดงคุณสมบัติหรือตำแหน่งหน้าที่เฉพาะบุคตล เช่น บรรดาศักดิ์อย่างเต็มของฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา คือ สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช ฮุน เซน[1] สมาชิกในพระราชวงศ์บางพระองค์และพระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์บางรูป ก็มีสิทธิที่จะได้รับพระราชทานสถาปนาอิสริยยศและสมณศักดิ์ชั้น "สมเด็จ" เช่นกัน[2][3] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 ทางรัฐบาลมีคำสั่งให้สื่อออกนามของผู้นำในรัฐบาลด้วยราชทินนามและบรรดาศักดิ์อย่างครบถ้วน[4]

ในรัชสมัยแรกของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ (1941–1955) บรรดาศักดิ์ชั้นดังกล่าวนี้เป็นสิ่งที่ไม่ค่อยได้พบเห็นในหมู่สามัญชน โดยมีนักการเมืองเพียงแค่ 4 คนที่ได้รับยศนี้ ได้แก่ แปน นุต, ญึก เตียวฬง, ซอน ซาน และเจา เซน กอกซัล ชุม ทั้งหมดดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี[5]

คำว่า สมเด็จ โดยศัพท์แปลว่า เจ้า การพระราชทานยศสมเด็จนี้จึงถึงเสมือนว่าเป็นการตั้งให้เป็นเจ้าสำหรับสามัญชนหรือขุนนาง ถือเป็นยศขุนนางชั้นสูงสุด เทียบเท่าบรรดาศักดิ์ชั้นสมเด็จเจ้าพระยาในระบบบรรดาศักดิ์ของไทยในอดีต หากพระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ย่อมนับว่าเป็นการยกย่องเพิ่มพูนพระอิสริยยศในพระราชวงศ์ให้สูงยิ่งขึ้น ซึ่งยังมีการแบ่งระดับความสำคัญออกไปอีกหลายระดับ และหากพระราชทานแก่พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์ในพระพุทธศาสนา พระสงฆ์เหล่านั้นจะมีฐานะเป็นสมเด็จพระราชาคณะ ทำหน้าที่บริหารกิจการคณะสงฆ์ของประเทศ ซึ่งฆราวาสพึงปฏิบัติต่อพระสงฆ์เหล่านั้นเสมือนเจ้านาย

ผู้ครองยศ "สมเด็จ" เท่าที่ปรากฏ

แก้

พระอิสริยยศในพระมหากษัตริย์

แก้
พระนาม ฐานันดรในพระราชวงศ์ พระอิสริยยศ
นโรดม สีหนุ พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระ
นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์แห่งกัมพูชา พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ

พระอิสริยยศในพระบรมวงศานุวงศ์

แก้
พระนาม ฐานันดรในพระราชวงศ์ พระอิสริยยศ
นโรดม มุนีนาถ พระวรราชมารดาชาติเขมร สมเด็จพระมหากษัตรีย์
นโรดม รณฤทธิ์ พระองค์มจะ (ทรงกรม) สมเด็จกรมพระ
นโรดม บุปผาเทวี พระองค์มจะ สมเด็จราชบุตรี พระเรียม
นโรดม จักรพงศ์ พระองค์มจะ สมเด็จพระมหิสสรา
นโรดม อรุณรัศมี พระองค์มจะ สมเด็จราชบุตร พระอนุช
นโรดม สิริวุธ พระองค์มจะ (ทรงกรม) สมเด็จกรมขุน

บรรดาศักดิ์ข้าราชการและนักการเมือง

แก้
ชื่อ ตำแหน่ง บรรดาศักดิ์และราชทินนาม อ้างอิง
ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สมเด็จอัครมหาเสนาบดี เดโช [4]
เฮง สัมริน ประธานรัฐสภา สมเด็จอัครมหาพญาจักรี [6]
สาย ฌุม ประธานพฤฒสภา สมเด็จวิบุลเสนาภักดี [7]
เจีย ซีม ประธานพฤฒสภา สมเด็จอัครมหาธรรมโพธิศาล [8]
ก็อง ซ็อม-อล รัฐมนตรีประจำสำนักพระราชวัง สมเด็จเจ้าฟ้าวัง [9]
สก อาน รัฐมนตรีประจำสำนักงานคณะรัฐมนตรี สมเด็จวิบุลปัญญา [10]
ซอ เค็ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สมเด็จกลาโหม [7]
เตีย บัญ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม สมเด็จพิชัยเสนา [11]
บุน รานี ผู้อำนวยการกาชาดกัมพูชา สมเด็จกิตติพฤฒิบัณฑิต [1]
ซอน ซาน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สมเด็จบวรเศรษฐาธิบดี [5]
ญึก เตียวฬง นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สมเด็จจักรีกุญชราธิบดี [12]
Hun Neng ผู้ว่าราชการจังหวัดกำปงจาม สมเด็จอุดมเทพวิเชียร [13]
แปน นุต นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สมเด็จ [5]
เจา เซน กอกซัล ชุม นายกรัฐมนตรีกัมพูชา สมเด็จ [14]

สมณศักดิ์พระสงฆ์

แก้
ชื่อ ตำแหน่ง สมณศักดิ์และราชทินนาม อ้างอิง
เทพ วงศ์ สมเด็จพระมหาสังฆราชแห่งกัมพูชา สมเด็จพระมหาสังฆราชาธิบดี [15]
มหาโฆสานนท์ ประธานคณะสงฆ์กัมพูชาพลัดถิ่น (ฐานะเสมอสมเด็จพระสังฆราชแห่งกัมพูชา) สมเด็จพระมหาโฆสานนท์ [16]
ชวน ณาต สมเด็จพระสังฆราชในคณะมหานิกายแห่งกัมพูชา สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี สมเด็จพระสังฆราช [3]
บัวร์ กรี สมเด็จพระสังฆราชในคณะธรรมยุตินิกายแห่งกัมพูชา สมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี [17]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "Welcome, Lord Prime Minister: Cambodian media told to use leader's full royal title". The Guardian. 12 May 2016. สืบค้นเมื่อ 27 June 2020.
  2. "Statement by His Royal Highness Samdech Krom Preah Norodom Ranariddh The First Prime Minister of Kingdom of Cambodia". asean.org. สืบค้นเมื่อ 27 June 2020.
  3. 3.0 3.1 "Chuon Nath: Guardian of Cambodian culture". Phnom Penh Post. 8 April 2011.
  4. 4.0 4.1 "In a Title Fight, Phnom Penh Orders the Press to Use 'Samdech' for Top Government Officials". Radio Free Asia. 12 May 2016. สืบค้นเมื่อ 27 June 2020.
  5. 5.0 5.1 5.2 "If a Republican Can Be a Samdech, Why Not CPP Leaders?". The Cambodia Daily. 22 June 2015.
  6. "Samdech Akka Moha Ponhea Chakrei HENG SAMRIN sent a congratulating letter to H.E. Mr. Li Zhanshu, Chairman of the Standing Committee of the National People's Congress on the occasion of the 60th anniversary of the establishment of diplomatic relations between Cambodia and China". mfaic.gov.kh. Ministry of Foreign Affairs and International Cooperation. 20 July 2018.[ลิงก์เสีย]
  7. 7.0 7.1 "'Samdech' titles given to Chhum and Kheng". Phnom Penh Post. 15 June 2015.
  8. "Passing of Former President of the Senate of Cambodia Samdech Chea Sim". mofa.go.jp. 9 June 2015.
  9. "Samdech Chaufea Veang Kong Sam Ol Holds a Religious Ceremony to Celebrate King's Birthday". Tourism Cambodia. 14 May 2015.
  10. "H.E. Sok An Awarded the Title of "Samdech Vibol Panha"". pressocm.gov.kh. 14 March 2017.
  11. "Defence Minister Tea Banh gets 'Samdech' honorific". Phnom Penh Post. 31 July 2017.
  12. "Obituary: Samdech Chakrey Nhiek Tioulong 1908–96". Phnom Penh Post. 14 June 1996.
  13. "Hun Neng Appointed as "Samdech Oudom Tep Nhean"". Fresh News. 7 May 2022.
  14. "Samdech Chau Sen Cocsal, ancien Premier ministre". Le Petit Journal Cambodge. 26 January 2009.
  15. "Great Supreme Patriarch". The Phnom Penh Post. 15 December 2006.
  16. "Venerable Maha Ghosananda". Khmer-Buddhist Educational Assistance Project. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-08-02. สืบค้นเมื่อ 2023-08-02.
  17. "His Holiness Samdech Bour Kry Receives Vietnamese President". pressocm.gov.kh. 26 February 2019.