สมเด็จพระสังฆราชกัมพูชา

สมเด็จพระสังฆราช (เขมร: សម្តេចព្រះសង្ឃរាជ สมฺเตจพฺระสงฺฆราช; อังกฤษ: Supreme Patriarch) เป็นประมุขของคณะสงฆ์กัมพูชา

สมเด็จพระมหาสังฆราช
ในพระราชอาณาจักรกัมพูชา
សម្ដេចព្រះមហាសង្ឃរាជ នៃព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា
ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (นนท์ แงด ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺโค)
สมเด็จพระมหาสังฆราชรักษาการ
ตั้งแต่ ค.ศ. 2024-ปัจจุบัน
ผู้แต่งตั้งพระมหากษัตริย์กัมพูชา
วาระตลอดพระชนม์ชีพ
สถาปนาค.ศ. 2006

สมณศักดิ์ของผู้ดำรงตำแหน่งสังฆราช

แก้

ในประเทศกัมพูชา ซึ่งมีคณะสงฆ์เถรวาทอยู่ 2 นิกายหลัก คือ คณะมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย ได้จัดการปกครองให้คณะสงฆ์แต่ละนิกายมีประมุขดำรงตำแหน่งพระสังฆราชของตนเองเป็นเอกเทศ พระสงฆ์ผู้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชแต่ละพระองค์นั้นมีสมณศักดิ์ต่างๆ กัน ดังปรากฏตามบัญชีรายพระนามข้างท้ายบทความ แต่ในปัจจุบัน จะทรงมีสมณศักดิ์ดังต่อไปนี้

  • สมเด็จพระสังฆราชคณะสงฆ์มหานิกาย ทรงมีสมณศักดิ์เป็นที่ "สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี" (เขมร: សម្តេចព្រះមហាសុមេធាធិបតី สมฺเตจพฺระมหาสุเมธาธิบตี) คำว่า สุเมธาธิบดี แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในหมู่นักปราชญ์ สมเด็จพระสังฆราชคณะมหานิกายกัมพูชาเกือบทุกพระองค์ดำรงสมณศักดิ์นี้
  • สมเด็จพระสังฆราชคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ทรงมีสมณศักดิ์เป็นที่ "สมเด็จพระสุคนธาธิบดี" (เขมร: សម្តេចព្រះសុគន្ធាធិបតី สมฺเตจพฺระสุคนฺธาธิบตี) คำว่า สุคนธาธิบดี แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ผู้มีกลิ่น คือ ศีล อันหอมฟุ้ง สมณศักดิ์นี้มีที่มาจากสมณศักดิ์ของสมเด็จพระสังฆราชฝ่ายธรรมยุติกนิกายกัมพูชาพระองค์แรก คือ สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน ปญฺญาสีโล) แต่ตามประวัติศาสตร์ที่ผ่านมานั้น สมเด็จพระสังฆราชคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายส่วนมากจะดำรงสมณศักดิ์เป็นที่ "สมเด็จพระสุธรรมาธิบดี" (เขมร: សម្តេចព្រះសុធម្មាធិបតី สมฺเตจพฺระสุธมฺมาธิบตี) ราชทินนามของสมณศักดิ์นี้แปลว่า "ผู้เป็นใหญ่ในหมู่ผู้มีธรรมอันดีงาม"

ในยุคหลังได้มีการเพิ่มพูนสมณศักดิ์ของสมเด็จพระสังฆราชให้สูงขึ้นเป็น "สมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี" (เขมร: សម្តេចព្រះអគ្គមហាសង្ឃរាជាធិបតី สมเตจพระอคฺคมหาสงฺฆราชาธิบตี) และมีอำนาจปกครองคณะสงฆ์ทั่วประเทศ ทั้งนี้ ต่อมาได้มีการสถาปนาให้สมเด็จพระสังฆราชคณะสงฆ์ธรรมยุตินิกายมีสถานะเป็น "มหาสังฆราชาธิบดี" เช่นกัน ในราชทินนาม "สมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี" (เขมร: សម្តេចព្រះអភិសិរីសុគន្ធាមហាសង្ឃរាជាធិបតី สมฺเตจพฺระอภิสิรีสุคนฺธามหาสงฺฆราชาธิบตี) แต่มีอำนาจปกครองเฉพาะคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายเท่านั้น

ประวัติ

แก้

แต่เดิมมาการปกครองคณะสงฆ์กัมพูชานั้นไม่มีตำแหน่งสกลสังฆปริณายก หรือผู้ปกครองสงฆ์ทั้งหมดทุกนิกายทั่วสังฆมณฑล คณะสงฆ์แต่ละนิกายต่างก็มีสมเด็จพระสังฆราชเป็นของตนเองและแยกกันปกครอง ไม่ขึ้นแก่กันมาตลอด กระทั่งกองทัพเขมรแดงได้เข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศกัมพูชาแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดในปี ค.ศ. 1975 การปกครองของคณะสงฆ์ทั้งสองนิกายในช่วงเวลาดังกล่าวจึงขาดช่วงไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากรัฐบาลกัมพูชาประชาธิปไตยของเขมรแดงมีการกวาดล้างศาสนาและลัทธิความเชื่อต่างๆ ทั่วประเทศ พระสงฆ์ในพุทธศาสนาต้องถูกบังคับสึกให้ออกมาใช้แรงงานหรือถูกสังหารในกรณีที่ไม่ยอมสึก บางส่วนก็ต้องลี้ภัยออกไปยังต่างประเทศ

เมื่อแนวร่วมสามัคคีสงเคราะห์ชาติกัมพูชาได้โค่นล้มการปกครองของเขมรแดงและจัดตั้งรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาขึ้นแทนที่ในปี ค.ศ. 1979 แล้ว พุทธศาสนาในกัมพูชาจึงค่อยๆ ได้รับการฟื้นฟูขึ้นมาใหม่ ใน ค.ศ. 1981 คณะสงฆ์กัมพูชาได้มีการปรับปรุงโครงสร้างการปกครองตามอย่างคณะสงฆ์เถรวาทในประเทศเวียดนาม โดยจัดให้มีการปกครองคณะสงฆ์รวมกันเป็นคณะเดียวอยู่ในกำกับของรัฐบาล ไม่แบ่งแยกนิกาย มีตำแหน่งประมุขคณะสงฆ์เรียกว่า ประธานการกสงฆ์ โดยพระเทพ วงศ์ (ទេព វង្ស เทพ วงฺส) ได้รับเลือกเป็นประธานการกสงฆ์ที่ปรับปรุงใหม่[1][2]

หลังจากกัมพูชาลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีส ค.ศ. 1991 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ได้ทรงสถาปนาพระเทพ วงศ์ เป็นสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี สมเด็จพระสังฆราชในคณะมหานิกาย และสถาปนาสมเด็จพระองค์ครู บัวร์ กรี (បួរ គ្រី บัวร กรี) เป็นสมเด็จพระสุคนธาธิบดี สมเด็จพระสังฆราชในคณะธรรมยุติกนิกาย ทำให้การปกครองคณะสงฆ์ประเทศกัมพูชากลับมาแยกกันปกครองเป็น 2 นิกาย และมีผู้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช 2 พระองค์อีกครั้ง ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญกัมพูชายังกำหนดให้สมเด็จพระสังฆราชทั้งสองพระองค์เป็นสมาชิกโดยตำแหน่งของกรมปรึกษาราชบัลลังก์ ซึ่งมีหน้าที่คัดเลือกผู้สืบราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์กัมพูชา[3]

ถึงปี ค.ศ. 2006 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงสถาปนาสมเด็จเทพ วงศ์ เป็นสมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี สมเด็จพระมหาสังฆราชในพระราชอาณาจักรกัมพูชา นับเป็นบุคคลแรกในรอบ 150 ปีที่ได้รับตำแหน่งพิเศษดังกล่าว[2] และสถาปนาพระนนท์ แงด (នន្ទ ង៉ែត) เป็นสมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี สมเด็จพระสังฆนายกในคณะมหานิกายมาจนถึงปัจจุบัน[2] ต่อมาในปี ค.ศ. 2007 จึงได้มีการสถาปนาสมเด็จบัวร์ กรี ขึ้นเป็นสมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี (សម្តេចព្រះអភិសិរីសុគន្ធាមហាសង្ឃរាជាធិបតី สมฺเตจพฺระอภิสิรีสุคนฺธามหาสงฺฆราชาธิบตี) สมเด็จพระมหาสังฆราชในคณะธรรมยุติกนิกายในพระราชอาณาจักรกัมพูชา โดยไม่ปรากฏว่ามีการแต่งตั้งผู้ใดขึ้นดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆนายกในคณะธรรมยุติกนิกายทดแทนอย่างเช่นในคณะมหานิกาย

รายพระนามประมุขสงฆ์แห่งกัมพูชา

แก้

หมายเหตุ: ปีพุทธศักราชในที่นี้ใช้วิธีการคำนวณพุทธศักราชอย่างที่ใช้ในประเทศไทย ซึ่งจะเร็วกว่าพุทธศักราชที่ใช้ในประเทศกัมพูชาอยู่ 1 ปี

สมเด็จพระสังฆราชแห่งคณะมหานิกาย

แก้
ลำดับที่ พระรูป พระนาม พระนามเดิม ฉายา สถิต ณ วัด ประสูติ-สิ้นพระชนม์
(ค.ศ./พ.ศ.)
พระชนมายุ (ปี) ดำรงตำแหน่ง
(ค.ศ./พ.ศ.)
รวมระยะเวลา (ปี) หมายเหตุ
1   สมเด็จพระมหาสังฆราช (เนิล เตียง สุวณฺณเกสโร) និល ទៀង
เนิล เตียง, เที่ยง
សុវណ្ណកេសរោ
สุวณฺณเกสโร
วัดอุณาโลม 1823-1913
2366-2456
90 1859-1913
2402-2456
54
2   สมเด็จพระธรรมลิขิต (แก อุก อินฺทตฺเถโร) កែ អ៊ុក
แก อุก
ឥន្ទត្ថេរោ
อินฺทตฺเถโร
วัดอุณาโลม 1851-1936
2394-2479
86 1914-1930
2458-2473
16 [4]
3   สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ปรัก ฮิน สุธมฺมตฺเถโร) ប្រាក់ ហ៊ិន
ปรัก ฮิน
សុធម្មត្ថេរោ
สุธมฺมตฺเถโร
วัดสาละวัน 1863-1947
2406-2490
84 1930-1947
2473-2490
17 [5]
4   สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ชวน ณาต โชตญาโณ) ជួន ណាត
ชวน ณาต
ជោតញ្ញាណោ
โชตญาโณ
วัดอุณาโลม 1883-1969
2426-2512
86 1948-1969
2491-2512
21
5   สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (ฮวต ตาต วชิรปญฺโญ) ហួត តាត
ฮวต ตาต
វជិរបញ្ញោ
วชิรปญฺโญ
วัดอุณาโลม 1892-1975
2435-2518
83 1970-1975
2513-2518
5 ถูกกองทัพเขมรแดงนำตัวไปปลงพระชนม์ที่เมืองอุดงค์มีชัย จังหวัดกำปงสปือ[6]
6   สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (เทพ วงศ์ อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก) ទេព វង្ស
เทพ วงศ์
ឧបេក្ខាសម្ពោជ្ឈង្គិកោ
อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก[7]
วัดอุณาโลม 1932-2024
2475-2567
92 1991-2006
2534-2549
15 เลื่อนสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี
7   สมเด็จพระมหาสุเมธาธิบดี (นนท์ แงด ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺโค) នន្ទ ង៉ែត
นนท์ แงด
បស្សទ្ធិសម្ពោជ្ឈង្គោ
ปสฺสทฺธิสมฺโพชฺฌงฺโค
วัดปทุมวดีราชวราราม[8] 1922-ปัจจุบัน
2465-ปัจจุบัน
97 2006-ปัจจุบัน
2549-ปัจจุบัน
13 สมเด็จพระมหาสังฆราชรักษาการ

ตั้งแต่ ค.ศ. 2024-ปัจจุบัน

สมเด็จพระสังฆราชแห่งคณะธรรมยุติกนิกาย

แก้
ลำดับที่ พระรูป พระนาม พระนามเดิม ฉายา สถิต ณ วัด ประสูติ-สิ้นพระชนม์
(ค.ศ./พ.ศ.)
พระชนมายุ (ปี) ดำรงตำแหน่ง
(ค.ศ./พ.ศ.)
รวมระยะเวลา (ปี) หมายเหตุ
1   สมเด็จพระสุคนธาธิบดี (ปาน ปญฺญาสีโล) ប៉ាន
ปาน
បញ្ញាសីលោ
ปญฺญาสีโล
วัดปทุมวดีราชวราราม 1826-1893
2369-2436
67 1855–1893
2398–2436
38 [9]
2   สมเด็จพระมงคลเทพาจารย์ (เอี่ยม ภทฺทคู) អៀម
เอี่ยม
ភទ្ទគូ
ภทฺทคู
วัดปทุมวดีราชวราราม 1849-1922
2392-2465
73 1893-1922
2436-2465
29 [10]
3   สมเด็จพระมงคลเทพาจารย์ (สุก ปญฺญาทีโป) ស៊ុក
สุก
បញ្ញាទីបោ
ปญฺญาทีโป
วัดปทุมวดีราชวราราม 1861-1943
2404-2486
82 1923-1943
2466-2485
11 [10]
4   สมเด็จพระสุธรรมาธิบดี (อุง สะเรย พุทฺธนาโค) អ៊ុង ស្រី
อุง สะเรย
ពុទ្ធនាគោ
พุทธฺนาโค
วัดปทุมวดีราชวราราม 1870-1956
2413-2498
85 1943-1956
2486-2498
13 [10]
5   สมเด็จพระมหาสุธรรมาธิบดี (ภุล เทส อินฺทญาโณ) ភុល ទេស
ภุล เทส
ឥន្ទញាណោ
อินฺทญาโณ
วัดปทุมวดีราชวราราม 1891-1966
2434-2509
75 1956-1966
2498-2509
10 [10]
6   สมเด็จพระมหาสุธรรมาธิบดี (เทพ เลือง คนฺธโร) ទេព លឿង
เทพ เลือง
គន្ធរោ
คนฺธโร
วัดปทุมวดีราชวราราม 1883-1975
2426-2518
92 1966-1975
2509-2518
9 สิ้นพระชนม์ก่อนเสียกรุงพนมเปญให้แก่เขมรแดงเพียง 2 วัน[11][10]
7   สมเด็จพระสังฆราช (ฮี เจีย) ហ៊ី ជា
ฮี เจีย
ไม่ทราบ วัดปทุมวดีราชวราราม ไม่ทราบ-1975
ไม่ทราบ-2518
ไม่ทราบ 1975
2518
ไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ รักษาการสมเด็จพระสังฆราชแห่งคณะธรรมยุติกนิกายกัมพูชา[10] ถูกกองทัพเขมรแดงปลงพระชนม์
8   สมเด็จพระอภิสิริสุคนธามหาสังฆราชาธิบดี (บัวร์ กรี จนฺทคิริโก) បួរ គ្រី
บัวร์ กรี
ចន្ទតិរិកោ
จนฺทคิริโก
วัดปทุมวดีราชวราราม 1940-ปัจจุบัน
2483-ปัจจุบัน
79 1991-ปัจจุบัน
2534-ปัจจุบัน
28 ดำรงสมณศักดิ์เป็น "สมเด็จพระสุคนธาธิบดี" จนถึง พ.ศ. 2550 จึงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระมหาสังฆราชในคณะธรรมยุติกนิกาย

ประธานการกสงฆ์กัมพูชา

แก้

ประธานการกสงฆ์กัมพูชาเป็นตำแหน่งประมุขของคณะสงฆ์กัมพูชา (ไม่มีการแยกคณะมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย) ในสมัยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชา

ลำดับที่ ภาพ นาม ฉายา ดำรงตำแหน่ง
(ค.ศ./พ.ศ.)
รวมระยะเวลา (ปี) หมายเหตุ
1   พระวินัยธรเทพ วงศ์ อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก ទេព វង្ស
เทพ วงศ์
ឧបេក្ខាសម្ពោជ្ឈង្គិកោ
อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก
1981–1991
2524-2534
10 ตำแหน่งยุบเลิกไปเนื่องจากมีการจัดการปกครองคณะสงฆ์ใหม่

ประธานคณะสงฆ์กัมพูชาพลัดถิ่น

แก้

ในการเลือกพระเทพ วงศ์ เป็นประธานการกสงฆ์กัมพูชาโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนกัมพูชาภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรีฮุน เซน นั้น ปรากฏว่าไม่เป็นที่ยอมรับของบรรดาพระสงฆ์กัมพูชาที่ลี้ภัยทางการเมืองอยู่ต่างประเทศ เนื่องจากพระเทพ วงศ์ ด้อยอาวุโสทั้งอายุและพรรษากว่าพระหลายๆ รูปในเวลานั้น และมีข้อครหาในการอิงแอบกับฝ่ายการเมืองของรัฐบาลฮุน เซน คณะสงฆ์ดังกล่าวจึงได้ประชุมกันที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และคัดเลือกให้สมเด็จพระมหาโฆสานนท์ (วา ยาว) ทำหน้าที่เป็นประธานคณะสงฆ์กัมพูชา โดยไม่ได้เกี่ยวข้องหรือเป็นที่ยอมรับจากรัฐบาลที่พนมเปญแต่อย่างใด[12]

ลำดับที่ ภาพ นาม ฉายา ดำรงตำแหน่ง
(ค.ศ./พ.ศ.)
รวมระยะเวลา (ปี) หมายเหตุ
1   สมเด็จพระมหาโฆสานันท์ (วา ยาว) โฆสานนฺโท
ឃោសានន្ទ
1988–2007
2532-2551
19 สังกัดคณะมหานิกาย ถึงแก่มรณภาพเมื่ออายุ 94 ปี (ชาตะ ค.ศ. 1913 มรณภาพ ค.ศ. 2007)

สมเด็จพระมหาสังฆราชในพระราชอาณาจักรกัมพูชา

แก้
ลำดับที่ พระรูป พระนาม พระนามเดิม ฉายา นิกายที่สังกัด ดำรงตำแหน่ง
(ค.ศ./พ.ศ.)
รวมระยะเวลา (ปี) หมายเหตุ
1   สมเด็จพระอัครมหาสังฆราชาธิบดี (เทพ วงศ์ อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก) ទេព វង្ស
เทพ วงศ์
ឧបេក្ខាសម្ពោជ្ឈង្គិកោ
อุเปกฺขาสมฺโพชฺฌงฺคิโก
มหานิกาย 2006-2024
2549-2567
18 สิ้นพระชนม์ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2567 เวลา 17.40 น.

อ้างอิง

แก้
  1. (Harris 2001, p. 75)
  2. 2.0 2.1 2.2 Cambodia Daily article on KI Media
  3. (Harris 2001, p. 77)
  4. វត្តខេមររតនារាម. "សម្តេចសង្ឃ កែ អ៊ុក". watkhmers.org. สืบค้นเมื่อ 2019-10-07.
  5. វត្តខេមររតនារាម. "សម្តេចសង្ឃ ប្រាក់ ហ៊ិន". watkhmers.org. สืบค้นเมื่อ 2019-10-07.
  6. Pot, Pol; Sary, Ieng; révolutionnaire, Cambodia Tribunal populaire (2000-04-04). Genocide in Cambodia: Documents from the Trial of Pol Pot and Ieng Sary (ภาษาอังกฤษ). University of Pennsylvania Press. p. 361. ISBN 9780812235395.
  7. https://www.thairath.co.th/news/local/2766287
  8. วัดปทุมวดีราชวรารามได้ถูกพระสงฆ์คณะมหานิกายเข้าครอบครองขณะที่ยังไม่มีการแยกคณะสงฆ์ในช่วงหลังยุคการปกครองของเขมรแดง ดูรายละเอียดที่ ហោត្រៃ. "ប្រវត្តិ វត្តបទុមវតីរាជវរាម". haotrai.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-07.
  9. បាភ្នំស្រុកកំណើតខ្. "ព្រះរាជជីវប្រវត្តិសង្ខេបរបស់សម្តេចព្រះសុគន្ធាសង្ឃរាជាធិបតី សម្តេចព្រះសង្ឃរាជទី១ នៃគណៈធម្មយុត្តិកនិកាយ នៃព្រះរាជាណាចក្រកម្ពុជា". baphnommyhomeland.blogspot.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-07.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 10.4 10.5 ហោត្រៃ. "ប្រវត្តិ វត្តបទុមវតីរាជវរាម". haotrai.com. สืบค้นเมื่อ 2019-10-07.
  11. ៥០០០ឆ្នាំ. "សម្ដេចព្រះសុធម្មាធិបតី គណៈធម្មយុត្តិកនិកាយ គន្ធរោ ទេព លឿង". 5000-years.org. สืบค้นเมื่อ 2019-10-07.
  12. In 1988, Maha Ghosananda was elected Supreme Patriarch by a group of exiled monks in Paris. During this same period, Tep Vong held the same office in the unified Cambodian sangha. After 1991, Tep Vong was recognized as head of the Maha Nikaya in Cambodia. (Harris 2001, p. 70)

บรรณานุกรม

แก้

ดูเพิ่ม

แก้