สมเด็จกรมพระนโรดม จักรพงศ์
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
สมเด็จกรมพระนโรดม จักรพงศ์ หรือพระนามเดิม สมเด็จพระมหิสสรานโรดม จักรพงศ์ (เขมร: នរោត្តម ចក្រពង្ស ; ประสูติ 21 ตุลาคม ค.ศ. 1945) เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ[1] กับพระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี จึงถือว่าพระองค์เป็นพระเชษฐาต่างพระมารดาของพระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหมุนี พระมหากษัตริย์กัมพูชาองค์ปัจจุบัน
สมเด็จกรมพระนโรดม จักรพงศ์ | |
---|---|
รองนายกรัฐมนตรีแห่งกัมพูชา | |
ดำรงตำแหน่ง มกราคม พ.ศ. 2535 – มิถุนายน พ.ศ. 2536 | |
นายกรัฐมนตรี | ฮุน เซน |
ก่อนหน้า | บู ทอง |
ถัดไป | |
สมาชิกพฤฒสภากัมพูชา | |
ดำรงตำแหน่ง มกราคม พ.ศ. 2549 – พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 | |
ประธานาธิบดี | เจีย ซีม |
รองประธานพรรคนโรดม รณฤทธิ์ | |
ดำรงตำแหน่ง พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 – มิถุนายน พ.ศ. 2550 | |
ประธานาธิบดี | นโรดม รณฤทธิ์ |
ถัดไป | Chhim Siek Leng |
สมาชิกสภารัฐธรรมนูญแห่งกัมพูชา | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 2013 | |
ประธานาธิบดี | Ek Som Ol, Im Chhun Lim |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
พรรคการเมือง | พรรคฟุนซินเปก (พ.ศ. 2524–34; พ.ศ. 2542–2544; พ.ศ. 2547–2549) |
การเข้าร่วม พรรคการเมืองอื่น |
|
คู่สมรส | นักนางนโรดม กชนิภา จักรพงศ์ |
บุตร | 13 องค์ |
ประสูติ | พนมเปญ กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส | 21 ตุลาคม ค.ศ. 1945
ราชวงศ์ | ตรอซ็อกผแอม (สายราชสกุลนโรดม) |
พระบิดา | พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ |
พระมารดา | พระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี |
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง | |
รับใช้ | กัมพูชา |
แผนก/ | กองทัพกัมพูชา |
ประจำการ | 1963–1970; 1981-1991 (Armée Nationale Sihanoukiste); 1993–1994 |
ชั้นยศ | พลตรี |
เว็บไซต์ | Norodom Racvivong Foundation |
สมเด็จพระมหิสสรานโรดม จักรพงศ์ยังเป็นนักการเมืองพรรคฟุนซินเปกที่มีแนวความคิดกษัตริย์นิยมและเคยดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีแห่งพระราชอาณาจักรกัมพูชา ทั้งนี้ยังเคยดำรงตำแหน่งองคมนตรีของคณะองคมนตรีสูงสุดแล้ว โดยที่พระองค์ได้ทำงานอุทิศพระองค์ด้านสิทธิมนุษยชนและสนับสนุนกิจกรรมของราชวงศ์ ในปี พ.ศ. 2556 สมเด็จพระมหิสสรานโรดม จักรพงศ์ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภารัฐธรรมนูญแห่งพระราชอาณาจักรกัมพูชาโดยองค์พระมหากษัตริย์กัมพูชา
พระประวัติ
แก้สมเด็จกรมพระนโรดม จักรพงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ณ พระราชวังเขมรินทร์ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ กับพระองค์เจ้าสีสุวัตถิ์ พงสานมุนี โดยมีพระพี่น้องร่วมพระมารดาด้วยกัน 7 พระองค์ โดยแรกเริ่มพระองค์ดำรงตำแหน่งนักบินในกองทัพกัมพูชา แต่ภายหลังการยึดอำนาจของลอน นอล พระองค์พร้อมด้วยพระมหากษัตริยานีสีสุวัตถิ์มุนีวงศ์ กุสุมะนารีรัตน์สิริวัฒนา พระอัยยิกาเสด็จลี้ภัยในยังประเทศจีนในปี ค.ศ. 1973 และลี้ภัยตั้งแต่ปี ค.ศ. 1973-1975 หลัง ค.ศ. 1975 พระองค์ได้เสด็จไปยังประเทศฝรั่งเศส โดยร่วมกับพระราชบิดาในการต่อต้านเวียดนามที่ยึดครองกัมพูชา แต่ภายในพรรคฟุนซินเปกของพระบิดานั้นมีความยุ่งยาก โดยพระองค์นั้นอยู่ในตำแหน่งรักษาการณ์เสนาธิการทหารกลุ่มสีหนุ[ต้องการอ้างอิง]
ต่อมาได้มีสนธิสัญญาปารีสขึ้นมา ทำให้พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ พระราชบิดาเสด็จนิวัตกลับประเทศกัมพูชา ส่วนพระองค์เองได้ออกจากพรรคฟุนซินเปก มาดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลฮุน เซน ภายใต้แรงกดดันของรัฐบาลกลาง ต่อมาในปี ค.ศ. 1994 พระบาทสมเด็จพระบรมนาถ นโรดม สีหนุ โปรดเกล้า เฉลิมพระอิสริยยศเป็ย สมเด็จกรมขุน (Sdech Krom Khun)[ต้องการอ้างอิง]
ภายหลังการยึดอำนาจของนายพลสิน สอง (Sin Song) และนายพลสิน เซน (Sin Sen) สมเด็จกรมขุนนโรดม จักรพงศ์ เสด็จออกนอกประเทศโดยทรงประทับในประเทศมาเลเซียเป็นแห่งแรก และเสด็จไปประทับ ณ ประเทศฝรั่งเศสอีกครั้ง
ในวันที่ 31 สิงหาคม ค.ศ. 2004 พระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศให้สมเด็จกรมขุนนโรดม จักรพงศ์ เป็น สมเด็จพระมหิสสรานโรดม จักรพงศ์ และในวันที่ 22 มกราคม ค.ศ. 2024 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระอิสริยยศเป็น สมเด็จกรมพระนโรดม จักรพงศ์ ถือเป็นลำดับเกียรติยศสูงสุดของกัมพูชา[ต้องการอ้างอิง]
พระชายาและพระบุตร
แก้- นักนางฮุน เสือน (Anak Munang Soeun) เดิมชื่อ ฮุน เสือน เกิดเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1943 เดิมเธอเป็นนางรำในราชสำนัก มีพระโอรสด้วยกัน 5 พระองค์ ได้แก่
- พระองค์เจ้านโรดม พุทธพงศ์
- พระองค์เจ้านโรดม อัมฤทธิวงศ์
- พระองค์เจ้านโรดม นราวงศ์ (ประสูติเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1970)
- พระองค์เจ้านโรดม นฤทธิพงศ์
- พระองค์เจ้านโรดม รวิจักร (ประสูติเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1974)
- นักนางเคธี (Anak Munang Kethy) เดิมชื่อ เคธี เตียวลง เกิดเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม ค.ศ. 1951 โดยเสกสมรสกันเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน ค.ศ. 1965 ณ พระราชวังเขมรินทร์ เธอเป็นบุตรีของนายแญก เตียวลง โดยเจ้าจักรพงศ์ และเคธี มีพระธิดาด้วยกัน 1 พระองค์ คือ
- พระองค์เจ้านโรดม นันทาเทวี
- นักนางทิญาติ (Anak Munang Diyathi) เดิมชื่อ ดวง ทิญาติ เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1948 เสกสมรสกันเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1967 ณ พระราชวังเขมรินทร์ เธอเป็นบุตรีของนายดวง โดยเจ้าจักรพงศ์ และทิญาติมีพระโอรส-พระธิดาด้วยกัน 3 พระองค์ โดย 2 องค์แรกเป็นพระธิดา และองค์สุดท้ายเป็นโอรส คือ
- พระองค์เจ้านโรดม วิมาลา (ประสูติเมื่อวันที่ 28 มกราคม ค.ศ. 1968)
- พระองค์เจ้านโรดม บุปผารี (ประสูติเมื่อวันที่ 15 มกราคม ค.ศ. 1971)
- พระองค์เจ้านโรดม อิทธิพงศ์ (ประสูติเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม ค.ศ. 1972)
- นักนางญาณี (Anak Munang Yani) เดิมชื่อ ดวง ญาณี เกิดเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1953 เธอเสกสมรสกับเจ้าจักรพงศ์ในปี ค.ศ. 1974 ณ ปักกิ่ง ประเทศจีน เธอเป็นบุตรีของนายดวง เธอมีพระโอรสด้วยกันกับเจ้าจักรพงศ์ 1 พระองค์ คือ
- พระองค์เจ้านโรดม รินทรา (ประสูติเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1975)
- นักนางจารุวรรณ (Anak Munang Yaruvani) พระชายาชาวไทย เดิมชื่อจารุวรรณ ดวงจันทร์[2] เป็นบุตรีของนางจงจิตร ดวงจันทร์ และสืบเชื้อสายราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ จากเจ้าสายทอง ณ เชียงใหม่ ผู้เป็นยาย[3][4]
- พระองค์เจ้านโรดม จารุจักร (ประสูติในปี ค.ศ. 1985) เสกสมรสแล้วกับนางเรศ สุพร ปัจจุบันพระองค์ต้องคดีอาญาเนื่องจากพระองค์ได้ตั้งแก๊งอาชญากรรมปล้นจี้ชิงทรัพย์[5]
- นักนางมุนีเร็ม (Anak Munang Munirimi) ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนาในปี ค.ศ. 2006[6] โดยมีพระโอรส-ธิดา 2 พระองค์ คือ
- พระองค์เจ้านโรดม พงสุริยา (ประสูติในปี ค.ศ. 1997)
- พระองค์เจ้านโรดม พงมุนีเรศ (ประสูติในปี ค.ศ. 2000)
- นักนางกชนิภา (Anak Munang Kachanipha) พระชายาชาวไทย
พงศาวลี
แก้พงศาวลีของสมเด็จกรมพระนโรดม จักรพงศ์ | |||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ Prince Norodom Chakrapong เก็บถาวร 2009-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Biographies
- ↑ ลูกสะใภ้สีหนุหนี แฉถูกทำร้าย 5 ปี
- ↑ "เมีย-สะใภ้เจ้าเขมรผวาอิทธิพลมืด". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-14. สืบค้นเมื่อ 2010-03-14.
- ↑ เจ้านายฝ่ายเหนือ ราชตระกูลคู่บารมีจักรีวงศ์
- ↑ ยุทธการบ่อนทำลายราชตระกูล “นโรดม”[ลิงก์เสีย]
- ↑ รางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา 2549[ลิงก์เสีย]
- ↑ ‘พระราชวงศ์เขมร’ และ ‘พระราชวงศ์ไทย’ โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์ ฉบับที่ 2500 ปีที่ 48 ประจำวัน อังคาร ที่ 17 กันยายน 2545
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Norodom Chakrapong[ลิงก์เสีย] Biography