กลีบท้ายทอย
สมองกลีบท้ายทอย หรือ กลีบท้ายทอย (อังกฤษ: occipital lobe, lobus occipitalis) เป็นกลีบสมองที่เป็นศูนย์ประมวลผลของการเห็นในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ซึ่งโดยมากประกอบด้วยเขตต่างๆ ทางกายวิภาคของคอร์เทกซ์สายตา[1]
Brain: สมองกลีบท้ายทอย | ||
---|---|---|
กลีบต่างๆ ของสมองมนุษย์ สมองกลีบท้ายทอยมีสีแดง | ||
ผิวด้านใน (medial) ของซีกสมองด้านซ้าย, สมองกลีบท้ายทอยมีสีส้ม, ส่วนที่เรียกว่า cuneus ถูกแยกออกจากรอยนูนรูปลิ้น (lingual gyrus) โดย ร่องแคลคารีน | ||
Latin | lobus occipitalis | |
Gray's | subject #189 823 | |
Part of | ซีรีบรัม | |
Artery | posterior cerebral artery | |
NeuroNames | hier-122 | |
MeSH | Occipital+Lobe | |
NeuroLex ID | birnlex_1136 |
คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม เป็นส่วนเดียวกับ เขตบร็อดแมนน์ 17 เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า V1 ซึ่งในมนุษย์ อยู่ที่สมองกลีบท้ายทอยใกล้กลาง (medial) ภายในร่องแคลคารีน (calcarine sulcus) เขต V1 นั้น บ่อยครั้งดำเนินต่อไปทางด้านหลังของสมองกลีบท้ายทอย และบ่อยครั้งเรียกว่า คอร์เทกซ์ลาย (striate cortex) เพราะเป็นเขตที่ระบุได้โดยริ้วลายขนาดใหญ่ของปลอกไมอีลิน ที่เรียกว่า ลายเจ็นนารี (Stria of Gennari)
ส่วนเขตมากมายอื่นๆ ที่ทำหน้าที่ประมวลผลทางสายตาที่อยู่นอก V1 เรียกว่า เขตคอร์เทกซ์สายตานอกคอร์เทกซ์ลาย (extrastriate cortex) ซึ่งแต่ละเขตมีกิจเฉพาะของตนในการประมวลข้อมูลทางสายตา รวมทั้งการประมวลผลด้านปริภูมิ ด้านการแยกแยะสี และการรับรู้การเคลื่อนไหว ชื่อของสมองกลีบท้ายทอย (occipital lobe) เป็นชื่อสืบมาจากกระดูกท้ายทอย (occipital bone) ซึ่งมาจากคำในภาษาละตินว่า ob ซึ่งแปลว่า "ท้าย" และ caput ซึ่งแปลว่า "ศีรษะ"
กายวิภาค
แก้สมองกลีบท้ายท้อย 2 กลีบ เป็นกลีบที่เล็กที่สุดในบรรดากลีบสมอง 4 คู่ในเปลือกสมองของมนุษย์ เป็นกลีบที่อยู่ท้ายสุดของกะโหลกศีรษะ เป็นส่วนของสมองส่วนหน้า (forebrain) กลีบสมองในคอร์เทกซ์ไม่ได้ถูกกำหนดโดยลักษณะใดลักษณะหนึ่งของโครงสร้างภายใน แต่ว่าโดยกระดูกกะโหลกศีรษะเหนือกลีบสมองเหล่านั้น ดังนั้น สมองกลีบท้ายทอยจึงถูกนิยามว่า เป็นส่วนของเปลือกสมองที่อยู่ภายใต้กระดูกท้ายทอย
กลีบสมองทั้งหมดตั้งอยู่บน tentorium cerebelli ซึ่งเป็นส่วนที่ยื่นออกมาจากเยื่อดูรา ที่แบ่งซีรีบรัมออกจากซีรีเบลลัม กลีบสมองที่เป็นคู่ๆ ถูกแยกออกจากกันโดยโครงสร้างให้อยู่ในซีกสมองทั้ง 2 ข้าง โดย cerebral fissure ริมส่วนหน้าของสมองกลีบท้ายทอย มีรอยนูนสมองกลีบท้ายทอย (occipital gyri) ด้านข้างหลายส่วน ซึ่งแยกออกจากกันโดยร่องสมองกลีบท้ายท้อย (occipital sulcus) ที่อยู่ด้านข้างเช่นกัน
ส่วนต่างๆ ของสมองกลีบท้ายทอย ทางด้านในของแต่ละซีกสมอง ถูกแยกออกจากกันโดยร่องแคลคะรีน (calcarine sulcus) ซึ่งมีรูปเป็นตัวอักษร Y. เหนือร่องแคลคะรีนนั้น เป็นส่วนที่เรียกว่า cuneus และส่วนใต้ร่องแคลคะรีน เป็นส่วนที่เรียกว่ารอยนูนรูปลิ้น (lingual gyrus) (ดูรูปที่ 2 จากด้านบนบทความ)
ความเสียหายต่อเขตสายตาขั้นปฐม (primary visual cortex) ส่วนต่างๆ ในสมองกลีบท้ายทอย อาจจะทำให้บุคคลมองไม่เห็นเป็นบางส่วน หรือมองไม่เห็นโดยสิ้นเชิง[2]
หน้าที่
แก้ส่วนที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของสมองกลีบท้ายทอยก็คือ คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม (primary visual cortex)
เซลล์รับแสง (photoreceptor cell) ในเรตินา ส่งข้อมูลแสงไปทางลำเส้นใยประสาทตา ไปยังนิวเคลียสงอคล้ายเข่าด้านข้าง (lateral geniculate nucleus) ผ่านวิถีประสาทนิวเคลียสงอคล้ายเข่า-คอร์เทกซ์ลาย (geniculostriate pathway) ไปยังคอร์เทกซ์สายตา ซึ่งแต่ละข้างรับข้อมูลดิบจากครึ่งด้านนอกของเรตินา ที่อยู่ในด้านศีรษะเดียวกัน และจากครึ่งด้านในของเรตินา ที่อยู่ในด้านศีรษะตรงกันข้ามกัน
ส่วน cuneus รับข้อมูลทางตาจากส่วนบนของเรตินาด้านตรงข้ามของศีรษะ ซึ่งมีข้อมูลของลานสายตา (visual field) ด้านล่าง ส่วนรอยนูนรูปลิ้นรับข้อมูลจากส่วนล่างของเรตินาด้านตรงข้ามของศีรษะ ซึ่งมีข้อมูลของลานสายตาด้านบน สองส่วนนี้รวมกันโดยกิจเรียกว่า "คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม" หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "เขตบร็อดแมนน์ 17"
จากเรตินา ข้อมูลสายตาถูกส่งผ่านสถานีย่อย คือนิวเคลียสงอคล้ายเข่าด้านข้าง (lateral geniculate nucleus) ซึ่งอยู่ในทาลามัส ก่อนที่จะถูกส่งต่อไปยังคอร์เทกซ์ เซลล์ประสาทที่อยู่ด้านหลังในเนื้อเทาของสมองกลีบท้ายทอยด้านหลัง ถูกจัดระเบียบเป็นแผนที่ทางปริภูมิของลานสายตา การสร้างภาพของสมองโดยกิจ เช่น fMRI แสดงรูปแบบการตอบสนองของเนื้อเยื่อคอร์เทกซ์ของกลีบสมองทั้งสอง ที่คล้ายๆ กันกับเรตินา เมื่อลานสายตาประสบกับรูปแบบที่มีกำลัง
ถ้าสมองกลีบท้ายทอยซีกหนึ่งเสียหาย อาจจะทำให้เกิดการสูญเสียการเห็นประเภท homonymous hemianopsia[3] คือมีส่วนของลานสายตาด้านเดียวกันที่สูญเสียไปในตาทั้งสองข้าง รอยโรคที่สมองกลีบท้ายทอยอาจจะทำให้เกิดประสาทหลอนทางตา ส่วนรอยโรคในเขตประสาทสัมพันธ์ ในสมองกลีบข้าง สมองกลีบขมับ และสมองกลีบท้ายทอย มีความสัมพันธ์กับภาวะเสียการระลึกรู้สีเหตุสมอง (cerebral achromatopsia[4]) ภาวะไม่รู้ความเคลื่อนไหว (akinetopsia) และภาวะเสียการเขียน (agraphia[5])
ความเสียหายต่อคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม ซึ่งอยู่บนผิวของสมองกลีบท้ายทอยด้านหลัง สามารถทำให้ตาบอด เนื่องจากมีช่องในแผนที่ทางตาบนผิวของคอร์เทกซ์สายตา ที่เกิดจากรอยโรค[6]
กายวิภาคโดยกิจ
แก้สมองกลีบท้ายทอยแบ่งออกเป็นเขตการเห็น (visual areas) หลายเขต ในแต่ละเขตมีแผนที่สมบูรณ์ของโลกทางการเห็น ถึงแม้ว่า จะไม่มีตัวบ่งชี้ทางกายวิภาคที่แยกแยะเขตเหล่านี้ (ยกเว้นลายเส้นที่เด่นในคอร์เทกซ์ลาย) นักสรีระวิทยาก็ได้ใช้อิเล็กโทรด เพื่อสำรวจการทำงานของเซลล์ประสาทในเขต แล้วแบ่งคอร์เทกซ์ออกเป็นเขตต่างๆ กันโดยกิจ
เขตที่แบ่งโดยกิจเขตแรกก็คือคอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม (คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐม) ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางเฉพาะที่ (local orientation) ความถี่ปริภูมิ[7] และคุณลักษณะต่างๆ ของสี คอร์เทกซ์สายตาขั้นปฐมส่งสัญญาณไปยังเขตต่างๆ ของสมองกลีบท้ายทอยในทางสัญญาณด้านล่าง (คือ เขตสายตา V2 และเขตสายตา V4) และในทางสัญญาณด้านหลัง (คือ เขตสายตา V3 และเขตสายตา MT และ dorsomedial area)
โรคลมชักกับสมองกลีบท้ายทอย
แก้งานวิจัยเร็วๆ นี้แสดงให้เห็นว่า สภาพประสาทเฉพาะอย่างบางอย่าง มีผลต่อโรคลมชักที่สมองกลีบท้ายทอยแบบ idiopathic[8] แบบ symptomatic (idiopathic occipital lobe epilepsies)[9]
การชักที่สมองกลีบท้ายทอย ถูกเหนี่ยวนำโดยแสงสว่างฉับพลัน หรือภาพทางตาที่มีสีหลายสี ซึ่งเรียกว่าตัวกระตุ้นกระพริบ (flicker stimulation) ที่มักจะมาจากโทรทัศน์ ส่วนการชักแบบนี้เรียกว่า การชักไวต่อภาพ (photo-sensitivity seizure) คนไข้ที่ประสบการชักที่สมองกลีบท้ายทอย บรรยายการชักของตนว่า มีการเห็นสีที่สดใส เป็นการเห็นที่พร่ามัวมาก และบางคน ก็มีการอาเจียน ภาวะนี้ มักจะถูกเหนี่ยวนำในเวลากลางวัน โดยโทรทัศน์ วิดีโอเกม หรือการกระตุ้นแบบกระพริบอย่างใดอย่างหนึ่ง[10]
การชักที่สมองกลีบท้ายทอย เป็นการชักที่จำกัดอยู่ในสมองกลีบท้ายทอย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นแบบไม่มีเหตุอะไร หรืออาจจะถูกเหนี่ยวนำด้วยตัวกระตุ้นทางตาภายนอก โรคชักที่สมองกลีบท้ายทอยมีแบบ idiopathic[8] แบบ symptomatic[11] และแบบ cryptogenic [12][13] ภาวะแบบ symptomatic เริ่มเกิดในวัยใดก็ได้ และในขั้นใดก็ได้หลังจากหรือระหว่างการเป็นไปของโรคที่เป็นเหตุของการชัก ในขณะที่แบบ idiopathic มักจะเริ่มเกิดขึ้นในวัยเด็ก[14]
โรคชักที่สมองกลีบท้ายทอยเกิดขึ้นใน 5%-10% ของโรคชักทั้งหมด[15]
ภาพต่างๆ
แก้-
ฐานสมอง สมองกลีบท้ายทอยมีป้ายด้านล่าง
-
รูปวาดแสดงตำแหน่งต่างๆ ของสมองเทียบกับกะโหลก สมองกลีบท้ายทอยมีสีแดงอยู่ด้านซ้ายมือ
-
สมองกลีบท้ายทอยมีสีน้ำเงิน
-
สมองกลีบท้ายทอย มีสีม่วงน้ำเงิน
-
สมองกลีบท้ายทอย มีสีเขียวอ่อน
ดูเพิ่ม
แก้หมายเหตุและอ้างอิง
แก้- ↑ "SparkNotes: Brain Anatomy: Parietal and Occipital Lobes". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-31. สืบค้นเมื่อ 2008-02-27.
- ↑ Schacter, D. L., Gilbert, D. L. & Wegner, D. M. (2009). Psychology. (2nd ed.). New Work (NY): Worth Publishers.
- ↑ ตาบอดครึ่งซีก (hemianopsia) เป็นการสูญเสียลานสายตาที่เป็นไปตามแนวกลางด้านตั้ง (vertical midline) ในตา โดยปกติเกิดขึ้นที่ทั้งสองตา แต่มีบางกรณีเกิดที่ตาข้างเดียว กล่าวอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ มีการสูญเสียการเห็นส่วนของลานสายตาด้านซ้ายหรือด้านขวา ที่มีเหตุมาจากตาทั้งสองข้างหรือข้างเดียว ส่วน homonymous hemianopsia (ตาบอดครึ่งซีกแบบ homonymous) เป็นการการสูญเสียลานสายตาด้านเดียวกัน ในตาทั้งสองข้าง กล่าวอีกอย่างหนึ่ง คือ homonymous hemianopsia เป็นประเภทหนึ่งของโรคตาบอดครึ่งซีก ที่เกิดขึ้นที่ตาทั้งสองข้าง
- ↑ ภาวะเสียการระลึกรู้สีเหตุสมอง (cerebral achromatopsia) คือความบกพร่องในการรับรู้สี ที่เกิดขึ้นเพราะรอยโรคในซีกสมองด้านหนึ่งหรือสองด้าน ที่รอยต่อของสมองกลีบขมับและสมองกลีบท้ายทอย (temporo-occipital junction)
- ↑ ภาวะเสียการเขียน (agraphia) เป็นสภาวะที่ไม่สามารถเขียนหนังสือมีเหตุมาจากโรคทางสมอง สภาวะเสียการเขียนเป็นรูปแบบอย่างหนึ่งของภาวะเสียการสื่อความ (aphasia) ซึ่งเป็นสภาวะที่ไร้ความสามารถในการสื่อความ หรือความสามารถนั้นมีความขัดข้อง
- ↑ Carlson, Neil R. (2007). Psychology : the science of behaviour. New Jersey, USA: Pearson Education. p. 115. ISBN 978-0-205-64524-4.
- ↑ ในคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ และวิศวกรรม ความถี่ปริภูมิ (spatial frequency) เป็นลักษณะเฉพาะของโครงสร้างชนิดใดชนิดหนึ่งก็ได้ ที่เคลื่อนที่ไปในปริภูมิอย่างเป็นคาบๆ ความถี่ปริภูมิวัดได้โดยองค์ประกอบรูปไซน์ (sinusoidal component) ที่กำหนดโดยการแปลงฟูรีเย ของโครงสร้างที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กันในช่วงระยะทางหนึ่ง หน่วยวัดสากลของความถี่ปริภูมิก็คือรอบต่อเมตร (cycles per meter)
- ↑ 8.0 8.1 โรคชักแบบ idiopathic (แปลว่า เกิดขึ้นเอง, ไม่รู้สาเหตุ) เป็นโรคที่โดยทั่วไปสันนิษฐานว่า เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ซึ่งนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลง (ที่ผิดปกติ) ในการควบคุมระบบประสาทขั้นพื้นฐาน
- ↑ Chilosi, Anna Maria; Brovedani (November 2006). "Neuropsychological Findings in Idiopathic Occipital Lobe Epilepsies". Epilepsia. 47 (s2): 76–78. doi:10.1111/j.1528-1167.2006.00696.x. PMID 17105468. S2CID 23702191.
- ↑ Destina Yalçin, A., Kaymaz, A., & Forta, H. (2000). Reflex occipital lobe epilepsy. Seizure, 9(6), 436-441.
- ↑ โรคชักแบบ symptomatic (แปลว่า มีอาการ, แบบทั่วไป) เกิดจากรอยโรคที่ทำให้เกิดการชัก ไม่ว่ารอยโรคนั้นจะเป็นในจุดเดียวเช่นเนื้องอก หรือเกิดจากความบกพร่องในระบบเมแทบอลิซึมที่ทำให้เกิดความเสียหายอย่างกว้างขวางในสมอง
- ↑ โรคชักแบบ cryptogenic (แปลว่า ไม่รู้สาเหตุ) เกี่ยวข้องกับรอยโรคที่คิดว่ามี แต่ว่า ยากที่จะค้นพบ หรือไม่สามารถจะค้นพบได้ในการตรวจสอบ
- ↑ Adcock, Jane E; Panayiotopoulos, Chrysostomos P (31 October 2012). "Journal of Clinical Neurophysiology". Occipital Lobe Seizures and Epilepsies. 29 (5): 397–407. doi:10.1097/wnp.0b013e31826c98fe. PMID 23027097.
- ↑ Adcock, Jane E. Journal of Clinical Neurophysiology Volume 29 (2012). 'Occipital Lobe Seizures and Epilepsies. DOI: 10.1097/WNP.0b013e31826c98fe
- ↑ Adcock, J. E.; Panayiotopoulos, C. P. (2012). Occipital Lobe Seizures and Epilepsies. Journal of Clinical NeuroPhysiology. 29(5), 397-407. doi: 10.1097/WNP.0b013e31826c98fe