สถานีสนามไชย
สถานีสนามไชย (อังกฤษ: Sanam Chai Station, รหัส BL31) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล โดยเป็นสถานีเดียวในระบบรถไฟฟ้าใต้ดินที่ตั้งอยู่บริเวณใจกลางพื้นที่อนุรักษ์เกาะรัตนโกสินทร์ ในแนวถนนสนามไชย กรุงเทพมหานคร บริเวณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นเส้นทางต่อเนื่องจากสถานีหัวลำโพงผ่านพื้นที่เมืองเก่าก่อนลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณปากคลองตลาด ไปยังฝั่งธนบุรี และยกระดับขึ้นสู่สถานีท่าพระต่อไป
สนามไชย BL31 Sanam Chai | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ข้อมูลทั่วไป | |||||||||||
ที่ตั้ง | ถนนสนามไชย เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร | ||||||||||
พิกัด | 13°44′38″N 100°29′38″E / 13.744°N 100.494°E | ||||||||||
เจ้าของ | การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย | ||||||||||
ผู้ให้บริการ | ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) | ||||||||||
สาย | |||||||||||
ชานชาลา | 1 ชานชาลาเกาะกลาง | ||||||||||
ทางวิ่ง | 2 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | ท่าราชินี | ||||||||||
โครงสร้าง | |||||||||||
ประเภทโครงสร้าง | ใต้ดิน | ||||||||||
ข้อมูลอื่น | |||||||||||
รหัสสถานี | BL31 | ||||||||||
ประวัติ | |||||||||||
เริ่มเปิดให้บริการ | 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2562 | ||||||||||
ผู้โดยสาร | |||||||||||
2564 | 877,862 | ||||||||||
การเชื่อมต่อ | |||||||||||
| |||||||||||
|
สถานีตั้งอยู่ด้านล่างถนนสนามไชย ด้านทิศเหนือของแยกสะพานเจริญรัช 31 หรือปากคลองตลาด (จุดบรรจบถนนสนามไชย, ถนนมหาราช, ถนนราชินี, ถนนอัษฎางค์ และถนนจักรเพชร) บริเวณด้านหน้าโรงเรียนวัดราชบพิธ, มิวเซียมสยาม และด้านหลังวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในพื้นที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินมายังสถานีนี้ เพื่อทรงเปิดโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ส่วนต่อขยาย หัวลำโพง–หลักสอง และบางซื่อ–ท่าพระ เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563[1]
การออกแบบ
แก้ที่ตั้งของสถานีสนามไชยเป็นสถานีแห่งเดียวในโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานคร ที่มีตัวสถานีอยู่ใจกลางพื้นที่ชั้นในของเกาะรัตนโกสินทร์ ภายในขอบเขตระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยา และคลองคูเมืองเดิม (นอกเหนือจากสถานีสนามหลวง ของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม ซึ่งมีทางเข้าออกสถานีที่เชื่อมต่อกับท้องสนามหลวงอยู่ในขอบเขตพื้นที่ดังกล่าว) จึงทำให้การวางแผนก่อสร้างเส้นทางและตัวสถานีสนามไชยเป็นที่จับตามองจากคณะกรรมการกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากหลายฝ่ายกังวลว่าโครงสร้างระบบรถไฟฟ้าจะส่งผลกระทบต่อชั้นน้ำใต้ดินและความมั่นคงของโครงสร้างโบราณสถานที่สำคัญใกล้เคียง โดยเฉพาะวัดพระเชตุพนฯ และพระบรมมหาราชวัง นอกจากนี้เพื่อรักษาทัศนียภาพของเมืองและเพื่อลดผลกระทบในระหว่างการก่อสร้าง จึงจำเป็นต้องเลือกวิธีการก่อสร้างเส้นทางแบบไม่เปิดหน้าดิน
เพื่อป้องกันมิให้โครงสร้างสถานีบดบังทัศนียภาพของมิวเซียมสยาม การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย และผู้รับเหมาก่อสร้างคือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) จึงตกลงร่วมกันที่จะก่อสร้างทางขึ้นลงที่ 1 ในรูปแบบการตัดหลังคาออกไป โดยระหว่างการก่อสร้างได้มีการเพิ่มบ่อพักน้ำฝนและเพิ่มท่อระบายน้ำบริเวณที่เป็นโซนพื้นที่กลางแจ้งของสถานี รวมถึงได้มีการติดตั้งบันไดเลื่อนแบบใช้งานกลางแจ้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาไฟฟ้ารั่วหรือลัดวงจรแก่ผู้มาใช้บริการ แนวทางการออกแบบอนุรักษ์ คือ ออกแบบทางขึ้นลงของสถานีให้สอดคล้องกับรูปแบบรั้วจองมิวเซียมสยาม[2]
การออกแบบภายใน ใช้รูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ออกแบบโดย รศ.ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ให้ความรู้สึกเหมือนเป็นท้องพระโรงในสมัยรัตนโกสินทร์ มีการประดับด้วยเสาสดุมภ์ ที่ตั้งตระหง่านอยู่ระหว่างทางเดิน ลงลายกระเบื้องเป็นดอกพิกุล ปลายเสาประดับด้วยบัวจงกลปิดทองคำเปลว พื้นและผนังจำลองมาจากกำแพงเมือง ประดับด้วยเสาเสมาของพระบรมมหาราชวัง เพดานเป็นลายฉลุแบบดาวล้อมเดือน ปิดทองคำเปลว[3] นอกจากนี้ยังมีการจัดนิทรรศการ แสดงวัตถุโบราณที่ขุดพบ เช่น ฐานรากของพระราชวังของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศุขสวัสดี
ระบบปรับอากาศ ไว้ด้านข้างแทนการวางด้านบน ทำให้สถานีนี้มีเพดานสูงกว่าสถานีอื่น[4]
การขุดพบโบราณวัตถุ
แก้ในช่วงการก่อสร้างสถานี ผู้รับเหมาก่อสร้างตามสัญญาที่ 2 (โครงสร้างใต้ดินช่วงสนามไชย - ท่าพระ) คือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ได้มีการขุดเจอวัตถุโบราณระหว่างการก่อสร้างกำแพงกันดิน (Retaining Wall) ในชั้นดินเป็นจำนวนมาก อาทิ ตุ๊กตาดินเผา ถ้วย ชาม กระเบื้องดินเผา สมัยพุทธศตวรรษที่ 24–25 ทั้งภาษาไทยและภาษาจีน ปืนโลหะ ความยาว 14.5 ซม. สลักวลีว่า MEMENTO MORI ซึ่งมีความหมายว่า Remember you will die นอกจากนั้นยังพบเหรียญโลหะสมัยรัชกาลที่ 4-5 เช่น เหรียญโลหะวงกลม มีตราจักร มูลค่า 1 สตางค์ เหรียญโลหะวงกลม พิมพ์อักษรสยามรัฐ มูลค่า 1 สตางค์ เหรียญโลหะ มีตรามหามงกุฎ อีกด้านพิมพ์ลายจักรภายในมีช้าง เป็นต้น ยังขุดพบ คลองราก หรือฐานรากโครงสร้างพระราชวังโบราณ ทำให้ทราบวิธีการก่อสร้างพระราชวังโบราณ[5] การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทยและผู้รับเหมาจึงได้ดำเนินการส่งมอบวัตถุโบราณให้กรมศิลปากร และมิวเซียมสยาม นำไปเก็บรักษาและสืบหาที่มาของวัตถุ พร้อมทั้งปรับแบบของสถานีสนามไชยให้มีพื้นที่จัดแสดงวัตถุโบราณหรือไซต์มิวเซี่ยมก่อนลงไปยังพื้นที่ของสถานี[6] โดยปัจจุบันอยู่ในระหว่างการปรับปรุงและตกแต่งพื้นที่บริเวณทางออกที่ 1 เพื่อจัดแสดงเป็นนิทรรศการถาวรภายใต้ชื่อ ไซต์มิวเซี่ยม โดย รฟม. ได้มอบพื้นที่ให้มิวเซียมสยามเข้ามาตกแต่งและดูแลรักษาพื้นที่แห่งนี้
-
พื้นที่พิพิธภัณฑ์
-
โครงกระดูกวัวโบราณ
-
ฐานรากของพระราชวังโบราณ
แผนผังสถานี
แก้G ระดับถนน |
- | ป้ายรถประจำทาง, มิวเซี่ยมสยาม, โรงเรียนวัดราชบพิธ โรงเรียนราชินี, ท่าเรือราชินี, สน.พระราชวัง, ปากคลองตลาด วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม |
B1 ทางเดินระหว่างชั้นระดับถนน กับ ชั้นขายตั๋วโดยสาร |
ชั้น Subway | ชั้นคั่นกลาง ระหว่างระดับถนน กับ ชั้นขายตั๋วโดยสาร, ทางออก 3-5 |
B2 ชั้นขายบัตรโดยสาร ไซต์มิวเซี่ยม |
ชั้นขายบัตรโดยสาร | ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร ไซต์มิวเซี่ยม, ทางเดินลอดถนน, ทางออก 1-2 |
B3 ทางเดินระหว่างชั้นขายบัตรโดยสาร กับ ชั้นชานชาลา |
ชั้น Plant | ชั้นคั่นกลาง ระหว่างชั้นขายบัตรโดยสาร กับ ชั้นชานชาลา |
B4 ชานชาลา |
ชานชาลา 2 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า ท่าพระ (ผ่าน บางซื่อ) |
ชานชาลา 1 | สายสีน้ำเงิน มุ่งหน้า หลักสอง |
รายละเอียดสถานี
แก้รูปแบบของสถานี
แก้เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform) โดยชั้นออกบัตรโดยสารตกแต่งโดยใช้สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ตอนต้น ออกแบบโดยรองศาสตราจารย์ ดร. ภิญโญ สุวรรณคีรี
ทางเข้า-ออกสถานี
แก้- 1 มิวเซียม สยาม, พระบรมมหาราชวัง, วัดพระศรีรัตนศาสดาราม, วัดโพธิ์ (ลิฟต์, บันไดเลื่อนขึ้นและลง)
- 2 โรงเรียนวัดราชบพิธ (ลิฟต์, บันไดเลื่อนขึ้นและลง / ไม่มีบันไดธรรมดา)
- 3 สถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง (บันไดเลื่อนขึ้นและลง / ไม่มีบันไดธรรมดา)
- 4 ปากคลองตลาด
- 5 ท่าเรือราชินี, โรงเรียนราชินี (บันไดเลื่อนขึ้น)
-
ทางออกที่ 1 มิวเซียมสยาม
-
ทางออกที่ 2 บริเวณด้านหน้าโรงเรียนวัดราชบพิธ
-
ลายไทยบนหลังคาทางเข้าที่ 2
-
ทางออกที่ 3 บริเวณสถานีตำรวจนครบาลพระราชวัง
-
ป้ายทางออกภายในสถานี
-
บริเวณพื้นที่จัดแสดงวัตถุโบราณ ขณะก่อสร้างสถานี บริเวณทางออกที่ 1 (มิวเซียมสยาม)
-
บริเวณพื้นที่จัดแสดงวัตถุโบราณ (ขวา) เชื่อมต่อกับชั้นออกบัตรโดยสาร (ซ้าย)
การจัดพื้นที่ในตัวสถานี
แก้แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย
- G ชั้นระดับถนน (Ground level)
- B1 ชั้นระหว่างชั้นระดับถนน กับชั้นออกบัตรโดยสาร
- B2 ชั้นออกบัตรโดยสาร เหรียญโดยสาร และห้องประชาสัมพันธ์ (Concourse level)
- B3 ชั้นระหว่างชั้นออกบัตรโดยสาร กับชั้นชานชาลา
- B4 ชั้นชานชาลา (Platform level) ชานชาลา 1 มุ่งหน้าสถานีหลักสอง และชานชาลา 2 มุ่งหน้าสถานีท่าพระ (ผ่านบางซื่อ)
เวลาให้บริการ
แก้ปลายทาง | วัน | ขบวนแรก | ขบวนสุดท้าย | |||
---|---|---|---|---|---|---|
สายเฉลิมรัชมงคล[7] | ||||||
ชานชาลาที่ 1 | ||||||
BL38 | หลักสอง | จันทร์ – ศุกร์ | 05:50 | 00:13 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05:55 | 00:13 | ||||
ชานชาลาที่ 2 | ||||||
BL01 | ท่าพระ (ผ่านบางซื่อ) |
จันทร์ – ศุกร์ | 05:48 | 23:24 | ||
เสาร์ – อาทิตย์ นักขัตฤกษ์ | 05:56 | 23:24 | ||||
ขบวนสุดท้ายเชื่อมต่อสายสีม่วง | – | 22:38 |
รถโดยสารประจำทาง
แก้ถนนสนามไชย (หน้ามิวเซียมสยาม)
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
3 | 8 (กปด.18) | อู่กำแพงเพชร | คลองสาน | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ขสมก. | |
3 | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) |
รถเอกชน
แก้ถนนสนามไชย (ฝั่งสวนเจ้าเชตุ)
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
3 | 8 (กปด.18) | อู่กำแพงเพชร | คลองสาน | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ขสมก. | |
3 | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีส้ม (ยูโรทู) | |||||
12 | 4 (กปด.34) | ห้วยขวาง | ปากคลองตลาด | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ||
53 | 7 (กปด.27) | สนามหลวง | เทเวศร์ | เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม ผ่านเฉพาะวนซ้าย | ||
82 | 5 (กปด.15) | ท่าน้ำพระประแดง | สนามหลวง | ผ่านเฉพาะขากลับท่าน้ำพระประแดง |
รถเอกชน
แก้ถนนมหาราช
แก้องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
แก้สายที่ | เขตการเดินรถที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|---|
47 | 4 (กปด.14) | ปากคลองตลาด | คลองเตย | รถโดยสารประจำทางสีครีม-แดง | ขสมก. | |
53 | 7 (กปด.27) | สนามหลวง | เทเวศร์ | เส้นทางรถวิ่งเป็นวงกลม | ||
82 | 5 (กปด.15) | ท่าน้ำพระประแดง | สนามหลวง |
รถเอกชน
แก้สายที่ | จุดเริ่มต้น | จุดสิ้นสุด | ประเภทของรถที่ให้บริการ | ผู้ให้บริการ | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
82 (4-15) | ท่าน้ำพระประแดง | สนามหลวง | รถโดยสารประจำทางปรับอากาศสีน้ำเงิน (ใช้พลังงานไฟฟ้า) | บจก.ไทยสมายล์บัส |
- ถนนอัษฎางค์ สาย 7ก 8 42(วนซ้าย) 73
- รถรับส่งนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ วิทยาเขตท่าพระจันทร์
สถานที่สำคัญใกล้เคียง
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดโครงการรถไฟฟ้ามหานครสาย "เฉลิมรัชมงคล" (สายสีน้ำเงิน) ส่วนต่อขยาย". www.mrta.co.th.
- ↑ "เรื่องเล่าสองข้างราง MRT สีน้ำเงิน". p. 38.
- ↑ สถานีสนามไชย สถานีรถไฟฟ้าใต้ดินสวยที่สุดในไทย
- ↑ เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “สถานีสนามไชย” สถานีรถไฟใต้ดินที่สวยที่สุดในประเทศไทย
- ↑ ขุดรถไฟฟ้าพบประวัติศาสตร์ โบราณวัตถุสมัยรัชกาลที่ 4–5 ไทยรัฐออนไลน์
- ↑ MRT สนามไชย “พิพิธภัณฑ์ใต้ดิน” แห่งแรกของไทย! - บ้านและสวน
- ↑ "รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ตารางเดินรถไฟฟ้า". www.mrta.co.th.