วิจารณ์ นิวาตวงศ์
วิจารณ์ นิวาตวงศ์ เป็นอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของไทย ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตปลัดกระทรวงพาณิชย์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ประเทศไทย) พ.ศ. 2515 และอดีตประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า
วิจารณ์ นิวาตวงศ์ | |
---|---|
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ | |
ดำรงตำแหน่ง 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 – 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2518 | |
นายกรัฐมนตรี | สัญญา ธรรมศักดิ์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 สิงหาคม พ.ศ. 2469 |
เสียชีวิต | 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 |
ประวัติ
แก้วิจารย์ นิวาตวงศ์ เป็นบิดาของรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สุภนิติ์ นิวาตวงศ์ รองผู้อำนวยการศูนย์รับบริจาคอวัยวะ สภากาชาดไทย[1]
นายวิจารณ์ ถึงแก่กรรมด้วยโรคปอดติดเชื้อ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[2] โดยเมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้นาย ชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาเป็นประธานในพิธีพระราชทานเพลิงศพพร้อมโกศแปดเหลี่ยม ณ วัดธาตุทอง
การทำงาน
แก้วิจารณ์ นิวาตวงศ์ เป็นข้าราชการพลเรือนชาวไทย เคยรับราชการในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ อาทิ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ (พ.ศ. 2515 - พ.ศ. 2529)[3] อธิบดีกรมการสนเทศ กระทรวงเศรษฐการ (พ.ศ. 2510 - พ.ศ. 2513)[4][5]รองอธิบดีกรมเศรษฐสัมพันธ์ ประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า (พ.ศ. 2518)[6] และเขายังเป็นรองหัวหน้าคณะผู้แทนการค้าไทย ไปเจรจาการค้ากับจีนในปี พ.ศ. 2515[7]
นายวิจารณ์ เป็นผู้ผลักดันการจัดตั้งสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และริเริ่มให้มีการจัดทำ Service Contract ในเส้นทางยุโรป สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น[8]และดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยคนแรก
วิจารณ์ เป็นอดีตกรรมการ บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
แก้นายวิจารณ์ นิวาตวงศ์ เคยปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2514 - พ.ศ. 2515 ภายใต้การบริหารของสภาบริหารคณะปฏิวัติ ตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 34 เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2514 หลังจอมพล ถนอม กิตติขจรยึดอำนาจตัวเอง โดยให้ปลัดกระทรวง เป็นผู้ใช้อำนาจของรัฐมนตรี[9]
ในปี พ.ศ. 2517 นายวิจารณ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายสัญญา ธรรมศักดิ์[10]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2522 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[11]
- พ.ศ. 2517 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[12]
- พ.ศ. 2525 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้า (ท.จ.) (ฝ่ายหน้า)[13]
- พ.ศ. 2522 – เหรียญจักรพรรดิมาลา (ร.จ.พ.)[14]
อ้างอิง
แก้- ↑ หนังสือพิมพ์แนวหน้า
- ↑ คดีหมายเลขดำที่ พ449/2563 ด้วย พนักงานอัยการ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นผู้ร้อง เรื่อง ขอเป็นผู้จัดการมรดก (ไม่มีพินัยกรรม) ของ นายวิจารณ์ นิวาตวงศ์ ผู้ตาย ศาลนัดไต่สวน ณ วันที่ 27 เมษายน 2563 เวลา13.30 นาฬิกา
- ↑ "รายพระนามและนามปลัดกระทรวงพาณิชย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-28. สืบค้นเมื่อ 2020-06-20.
- ↑ "กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-11-29. สืบค้นเมื่อ 2020-06-20.
- ↑ วารสารข้าราชการ ปีที่ 12 ฉบับที่ 9 เก็บถาวร 2020-11-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน กันยายน 2510
- ↑ "ประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 2020-06-20.
- ↑ "การพบปะติดต่อไปมาหาสู่เพื่อปูทางสู่การฟื้นความสัมพันธ์ไทย-จีน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-01-19. สืบค้นเมื่อ 2020-06-20.
- ↑ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย
- ↑ "ประกาศกระทรวงพาณิชย์ ฉบับที่ ๘๓ (พ.ศ. ๒๕๑๕)". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-06. สืบค้นเมื่อ 2020-06-20.
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (๓๐ ราย)
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๓ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๓, ๑๘ เมษายน ๒๕๒๓
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๑ ตอนที่ ๒๒๙ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓๘, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๗
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๙๙ ตอนที่ ๗๖ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๖, ๓ มิถุนายน ๒๕๒๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญจักรมาลาและเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๙๗ ตอนที่ ๖๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๒๕๕๔, ๒๑ เมษายน ๒๕๒๓
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- http://www.mfa.go.th/asean/EBOOK/files/basic-html/page222.html เก็บถาวร 2020-11-30 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
ก่อนหน้า | วิจารณ์ นิวาตวงศ์ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
ชาญชัย ลี้ถาวร | รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (27 พฤศจิกายน 2517 – 14 กุมภาพันธ์ 2518) |
ดำรง ลัทธพิพัฒน์ |