ดำรง ลัทธพิพัฒน์

ดำรง ลัทธพิพัฒน์ (29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) [1] อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[2][3] และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

ดำรง ลัทธพิพัฒน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน
ดำรงตำแหน่ง
7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528
นายกรัฐมนตรีเปรม ติณสูลานนท์
ก่อนหน้าทินกร พันธุ์กระวี
ถัดไปเล็ก นานา
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
ดำรงตำแหน่ง
20 เมษายน – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2519
นายกรัฐมนตรีเสนีย์ ปราโมช
ก่อนหน้าทองหยด จิตตวีระ
ถัดไปสุธี นาทวรทัต
เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์
ดำรงตำแหน่ง
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2521
ก่อนหน้าธรรมนูญ เทียนเงิน
ถัดไปเฉลิมพันธ์ ศรีวิกรม์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด29 สิงหาคม พ.ศ. 2475
อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
เสียชีวิต29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 (52 ปี)
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
พรรคการเมืองประชาธิปัตย์ (2512—2528)
คู่สมรสสมศรี ลัทธพิพัฒน์

ประวัติ

แก้

ดำรง เข้าสู่การเมืองโดยเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ ในการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 พร้อมด้วยพิชัย รัตตกุล ในเหตุการณ์ 14 ตุลา ดำรงเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ที่ร่วมลงชื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาล ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรคเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2518 แทนธรรมนูญ เทียนเงินที่ลาออกจากพรรคไป ด้วยมีความขัดแย้งกับสมาชิกในพรรค

ในเหตุการณ์ 6 ตุลา ดำรงถูกกล่าวหาร่วมกับชวน หลีกภัย และสุรินทร์ มาศดิตถ์ ว่าเป็นผู้ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์

ดำรง ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช[4] แต่ยังมิได้เริ่มปฏิบัติงาน เนื่องจากไม่ได้รับความไว้วางใจจากสภาในการแถลงนโยบาย[5] ต่อมาได้รับแต่งตั้งอีกครั้งในปี พ.ศ. 2519[6] จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออก และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์[7] อีกสมัยหนึ่ง แต่ดำรงตำแหน่งเพียง 12 วัน และได้เข้าเฝ้าถวายสัตย์ปฏิญาณเพียงวันเดียวก็ต้องพ้นจากตำแหน่ง เนื่องจากการรัฐประหารของพลเรือเอก สงัด ชลออยู่

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ในรัฐบาลพลเอก เปรม ติณสูลานนท์[8]

ชีวิตส่วนตัว สมรสกับ สมศรี ลัทธพิพัฒน์ ซึ่งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มีบุตรด้วยกัน 2 คน ได้แก่ ดร.ดาริกา ลัทธพิพัฒน์ (บุตรสาว) อธิการบดีมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน และ ดร.วาว ดิลกะ ลัทธพิพัฒน์ (บุตรชาย)

ดำรง ลัทธพิพัฒน์ถึงแก่อนิจกรรมในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการพลังงาน ด้วยบาดแผลจากกระสุนปืนที่ศีรษะ โดยประกอบอัตวินิบาตกรรม[9][10][11]นั่งรถประจำตำแหน่งมาทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 เนื่องจากความเครียด ภายหลัง สมัคร สุนทรเวช ซึ่งขณะนั้นเป็นคอลัมนิสต์ "มุมน้ำเงิน" ในหนังสือพิมพ์เดลิเมล์ ได้เขียนบทความว่า เขายิงตนเองให้ถึงแก่ความตายเพื่อหนีความผิดค้าเฮโรอีนข้ามประเทศ นางสมศรี ลัทธพิพัฒน์ (เกตุทัต) ภรรยา[12] มอบหมายให้นายบัณฑิต ศิริพันธุ์ ทนายความ ฟ้องหมิ่นประมาทสมัคร สุนทรเวช[13] ศาลฎีกามีคำตัดสินเมื่อเดือนธันวาคม 2531[14] ว่า นายสมัครมีความผิดตามฟ้อง ให้จำคุก 6 เดือน แต่ให้รอลงอาญาไว้ และปรับ 4,000 บาท ทั้งให้โฆษณาคำพิพากษาในหนังสือพิมพ์ 2 ฉบับ 7 วัน[15]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Damrong Lathapipat, 1932-1985
  2. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
  3. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  4. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๐ ราย)
  5. คอลัมน์ส่วนร่วมสังคมไทย โดน นรนิติ เศรษฐบุตร หน้า 8 หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ฉบับที่ 22,506 ประจำวันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
  6. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน 35 ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2012-07-26.
  7. "พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๓๓ ราย)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 2015-06-30.
  8. พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี (จำนวน ๔๔ ราย)
  9. ศาลฎีกา. "คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๐๓๑/๒๕๓๑ - วิกิซอร์ซ". th.wikisource.org.
  10. "ขุนเขาแห่งความตาย | OK NATION". www.oknation.net (ภาษาอังกฤษ).
  11. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:179258
  12. "นิตยสารผู้จัดการ ฉบับที่ 2 เดือนกันยายน 2526". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-12-06. สืบค้นเมื่อ 2015-05-07.
  13. เปิดใจ "บัณฑิต ศิริพันธุ์" ขอทำงานเพื่อความถูกต้อง เก็บถาวร 2009-01-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน หนังสือพิมพ์แนวหน้า 14 กันยายน 2550
  14. คำพิพากษาศาลฎีกาจำคุก สมัคร 6 เดือนฐานหมิ่นประมาทดำรง[ลิงก์เสีย], สยามรัฐสัปดาหวิจารณ์ (26 ก.พ.-4 มี.ค.32), (5-11 มี.ค.32)
  15. กองบรรณาธิการมติชน. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน พ.ศ. 2521-2549. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์มติชน, พ.ศ. 2549. 424 หน้า. ISBN 974-323-889-1
  16. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๒ ตอนที่ ๑๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๔, ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-05-26 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๐ ตอนที่ ๒๐๗ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๔๗, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๒๖
ก่อนหน้า ดำรง ลัทธพิพัฒน์ ถัดไป
วิจารณ์ นิวาตวงศ์    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 35)
(15 กุมภาพันธ์ 2518 – 13 มีนาคม 2518)
  ทองหยด จิตตวีระ
ทองหยด จิตตวีระ    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ (ครม. 3738)
(20 เมษายน 2519 – 6 ตุลาคม 2519)
  สุธี นาทวรทัต
นาวาอากาศโททินกร พันธุ์กระวี    
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน
(7 พฤษภาคม พ.ศ. 2526 – 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2528)
  เล็ก นานา
(บัญญัติ บรรทัดฐาน รักษาราชการแทน)