ลิฉุย
ลิฉุย (เสียชีวิตเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายน ค.ศ. 198)[2] เป็นตัวละครในวรรณกรรมจีนอิงประวัติศาสตร์เรื่องสามก๊กที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ยุคสามก๊ก นายทหารของตั๋งโต๊ะ มีความทะเยอทะยานสูงไม่แพ้เจ้านาย เมื่อตั๋งโต๊ะถูกลิโป้ฆ่า ลิฉุยได้ร่วมมือกับกุยกี เตียวเจ หวนเตียว จัดตั้งกองทัพบุกยึดอำนาจในเมืองหลวงมาได้ ทำให้ลิโป้ต้องหนีออกมา และกลายเป็นขุนพลเร่ร่อน ส่วนอ้องอุ้นถูกประหาร เมื่อมีอำนาจก็กระทำการหยาบช้าไม่ต่างจากสมัยของตั๋งโต๊ะ
李傕 | |
หลังตั๋งโต๊ะเสียชีวิต กุยกีกับลิฉุยเข้าปล้นที่ฉางอัน เมืองหลวงของฮั่น ภาพวาดสมัยราชวงศ์ชิงแสดงการโจมตีนี้ | |
เจ้ากรมกลาโหม (大司馬) | |
ดำรงตำแหน่ง 195–198 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
ผู้บัญชาการกองพลทหารม้ารถศึก (車騎將軍) | |
ดำรงตำแหน่ง 192–195 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
ผู้บังคับการมณฑลราชธานี (司隸校尉) | |
ดำรงตำแหน่ง 192–195 | |
กษัตริย์ | พระเจ้าเหี้ยนเต้ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | ไม่ทราบ เทศมณฑลฟู่ผิง มณฑลส่านชี |
เสียชีวิต | ค.ศ. 198[1] |
บุตร |
|
อาชีพ | จุนพล, ขุนนาง, ขุนศึก |
ชื่อรอง | จื่อหราน (稚然) |
บรรดาศักดิ์ | ฉือหยางโหว (池陽侯) |
ต่อมา เอียวปิวได้ทำให้ลิฉุยกับกุยกีผิดใจกัน แต่ก็ให้เกิดความวุ่นวายขึ้น จนทำให้พระเจ้าเหี้ยนเต้ต้องย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่ลกเอี๋ยง ต่อมา ลิฉุย กุยกีได้กลับมาร่วมมือกันอีกครั้งหวังปลงพระชนม์ฮ่องเต้ แต่กองทัพของลิฉุย กุยกีก็ถูกโจโฉปราบปรามจนสิ้น ลิฉุย กุยกีหนีรอดมาได้ แต่ก็ถูกตวนอุย งอสิบ ฆ่าตายในเวลาต่อมา
อ้างอิง
แก้- ↑ de Crespigny (2007), p. 289.
- ↑ รายงานจากพระราชประวัติพระเจ้าเหี้ยนเต้ใน โฮ่วฮั่นชู ลิฉุยถูกสังหารในเดือน 4 ปีที่ 3 ศักราช Jian‘an ในรัชสมัยของพระองค์ ตรงกับวันที่ 24 พฤษภาคมถึง 21 มิถุนายน ค.ศ. 198 ตามปฏิทินจูเลียน [(建安三年)夏四月,遣谒者裴茂率中郎将段煨讨李傕,夷三族] Houhanshu, vol.09
- ตันซิ่ว (คริสต์ศตวรรษที่ 3). จดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อ).
- de Crespigny, Rafe (1984). Northern Frontier: the policies and strategy of the Later Han empire. Canberra: Faculty of Asian Studies, Australian National University. ISBN 0-86784-410-8.
- de Crespigny, Rafe (2007). A Biographical Dictionary of Later Han to the Three Kingdoms 23-220 AD. Leiden: Brill. ISBN 9789004156050.
- ฟ่าน เย่ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). ตำราประวัติศาสตร์ราชวงศ์ฮั่นยุคหลัง (โฮ่วฮั่นชู).
- เผย์ ซงจือ (คริสต์ศตวรรษที่ 5). อรรถาธิบายจดหมายเหตุสามก๊ก (ซันกั๋วจื้อจู้).
- ซือหม่า กวาง (1084). จือจื้อทงเจี้ยน.