รายชื่อรัฐที่ได้รับการรับรองอย่างไม่สมบูรณ์
การขาดการรับรองทางการทูตเป็นอุปสรรคต่อหน่วย (entity) ทางภูมิรัฐศาสตร์ร่วมสมัยซึ่งปรารถนาจะได้รับการรับรองเป็นรัฐเอกราชโดยนิตินัย ในอดีต เคยมีหน่วยที่คล้ายกัน และปัจจุบันมีหน่วยที่ประกาศอิสรภาพ ซึ่งมีการควบคุมดินแดนของตนโดยพฤตินัย โดยมีการรับรองแปรผันตั้งแต่ได้รับการรับรองจากรัฐที่ได้รับการรับรองอื่นแทบทั้งหมดไปจนถึงแทบไม่มีรัฐใดรับรองเลย
มีสองลัทธิแต่เดิมที่มให้การตีความว่าเมื่อใดรัฐเอกราชโดยนิตินัยควรได้รับการรับรองเป็นสมาชิกประชาคมระหว่างประเทศ ทฤษฎี "ประกาศ" (declarative) นิยามรัฐเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศหากเป็นไปตามเกณฑ์ต่อไปนี้: 1) มีดินแดนแน่นอน 2) มีประชากรถาวร 3) มีรัฐบาล และ 4) มีความสามารถสร้างความสัมพันธ์กับรัฐอื่น ตามทฤษฎีประกาศ สภาพเป็นรัฐของหน่วยไม่ขึ้นอยู่กับการรับรองของรัฐอื่น ทว่า ทฤษฎี "ก่อตั้ง" นิยามรัฐว่าเป็นบุคคลในกฎหมายระหว่างประเทศหากได้รับการรับรองจากรัฐอื่นซึ่งเป็นสมาชิกประชาคมระหว่างประเทศอยู่แล้ว
หลายหน่วยอ้างลัทธิข้างต้นหนึ่งหรือทั้งสองลัทธิเพื่ออ้างความชอบของการอ้างสิทธิ์สภาพเป็นรัฐของหน่วย ตัวอย่างเช่น มีหน่วยที่เป็นไปตามเกณฑ์ทฤษฎีประกาศ (คือ มีการควบคุมเหนือดินแดนที่อ้างสิทธิ์อย่างสมบูรณ์หรือบางส่วนโดยพฤตินัย มีรัฐบาลและประชากรถาวร) แต่สภาพเป็นรัฐของหน่วยเหล่านั้นไม่ได้รับการรับรองจากรัฐอย่างน้อยหนึ่งรัฐ การไม่รับรองมักเป็นผลแห่งข้อขัดแย้งกับประเทศอื่นซึ่งอ้างว่าหน่วยเหล่านั้นเป็นดินแดนส่วนหนึ่งของตน ในกรณีอื่น หน่วยที่ได้รับการรับรองบางส่วนสองหน่วยหรือกว่านั้นอาจอ้างสิทธิ์เหนือพื้นที่เดียวกัน ซึ่งแต่ละหน่วยมีการควบคุมบางส่วนของพื้นที่นั้นโดยพฤตินัย (เช่นในกรณีสาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐจีน และเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้) หน่วยซึ่งได้รับการรับรองจากรัฐส่วนน้อยของโลกปกติอ้างอิงลัทธิประกาศเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่การอ้างสิทธิ์ของตน
รายชื่อ
แก้รัฐสมาชิกสหประชาชาติ
แก้รัฐ | ปีที่ประกาศ | สถานะ | อ้างสิทธิโดย | ไม่ได้รับรองโดย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
รัฐอิสราเอล | ค.ศ. 1948 | รัฐอิสราเอลสถาปนาขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1948 และเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1949 | ซีเรีย อ้างสิทธิการปกครองเหนือบริเวณที่ราบสูงโกลัน ปาเลสไตน์ อ้างว่าตนคือรัฐบาลที่ถูกต้องของพื้นที่เวสต์แบงก์ |
อัฟกานิสถาน แอลจีเรีย บังกลาเทศ บรูไน คอโมโรส คิวบา จิบูตี อินโดนีเซีย อิหร่าน อิรัก เกาหลีเหนือ คูเวต เลบานอน ลิเบีย มาเลเซีย มัลดีฟส์ มาลี มอริเตเนีย ไนเจอร์ โอมาน ปากีสถาน กาตาร์ ซาอุดีอาระเบีย โซมาเลีย ซีเรีย ตูนิเซีย เวเนซุเอลา เยเมน เวสเทิร์นสะฮารา |
[1][2] |
สาธารณรัฐเกาหลี | ค.ศ. 1948 | สาธารณรัฐเกาหลีเป็นอิสรภาพจากสหรัฐตั้งแต่ ค.ศ. 1948 ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์สหประชาชาติใน ค.ศ. 1949 และเป็นรัฐสมาชิกตั้งแต่ ค.ศ. 1991 | เกาหลีเหนือ อ้างว่าตนคือรัฐบาลที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียวของประเทศเกาหลี แต่เกาหลีใต้ควบคุมพื้นที่ทางภาคใต้ไว้ | เกาหลีเหนือ | [3][4] |
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลี | ค.ศ. 1948 | สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนเกาหลีเป็นอิสรภาพจากสหภาพโซเวียตตั้งแต่ ค.ศ. 1948 ได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์สหประชาชาติใน ค.ศ. 1973 และเป็นรัฐสมาชิกตั้งแต่ ค.ศ. 1991 | เกาหลีใต้ อ้างว่าตนคือรัฐบาลที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียวของประเทศเกาหลี แต่เกาหลีเหนือควบคุมพื้นที่ทางภาคเหนือไว้ | บอตสวานา เอสโตเนีย ฝรั่งเศส อิสราเอล ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐ นครรัฐวาติกัน ไต้หวัน |
[5][6][7][5] |
สาธารณรัฐประชาชนจีน | ค.ศ. 1949 | สาธารณรัฐประชาชนจีนสถาปนาขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1949 โดยถือว่าเป็นรัฐสืบทอดของสาธารณรัฐจีนภายหลังสงครามกลางเมืองจีน และเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1971 มีการบังคับใช้นโยบายจีนเดียว | ไต้หวัน อ้างว่าตนคือรัฐบาลที่แท้จริงเพียงหนึ่งเดียวของประเทศจีน | เบลีซ ภูฏาน เอสวาตินี กัวเตมาลา เฮติ หมู่เกาะมาร์แชลล์ ปาเลา ปารากวัย เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ลูเชีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ตูวาลู นครรัฐวาติกัน ไต้หวัน |
[8] |
สาธารณรัฐไซปรัส | ค.ศ. 1960 | สาธารณรัฐไซปรัสเป็นเอกราชจากจักรวรรดิบริติช และเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1960 | นอร์เทิร์นไซปรัส อ้างสิทธิการปกครองเหนือพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะไซปรัส | ตุรกี นอร์เทิร์นไซปรัส |
[9][10][11] |
สาธารณรัฐอาร์เมเนีย | ค.ศ. 1991 | สาธารณรัฐอาร์เมเนียเป็นเอกราชจากสหภาพโซเวียตตั้งแต่ ค.ศ. 1991 และเป็นรัฐสมาชิกสหประชาชาติตั้งแต่ ค.ศ. 1992 | ไม่มี | ปากีสถาน | [12][13] |
รัฐสังเกตการณ์สหประชาชาติ
แก้รัฐ | ปีที่ประกาศ | สถานะ | อ้างสิทธิโดย | ไม่ได้รับรองโดย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
รัฐปาเลสไตน์ | ค.ศ. 1988 | รัฐปาเลสไตน์สถาปนาขึ้นตั้งแต่ ค.ศ. 1988 และได้รับสถานะผู้สังเกตการณ์สหประชาชาติตั้งแต่ ค.ศ. 2012 | อิสราเอล อ้างว่าพื้นที่ดินแดนปาเลสไตน์เป็นพื้นที่พิพาท | สหรัฐ อันดอร์รา อาร์มีเนีย ออสเตรเลีย ออสเตรีย บาฮามาส บาร์เบโดส เบลเยียม บริเตนใหญ่ แคเมอรูน แคนาดา โครเอเชีย เดนมาร์ก เอริเทรีย เอสโตเนีย ฟีจี ฟินแลนด์ ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ อิสราเอล อิตาลี จาเมกา ญี่ปุ่น คิริบาส เกาหลีใต้ ลัตเวีย ลีชเทินชไตน์ ลิทัวเนีย ลักเซมเบิร์ก เม็กซิโก หมู่เกาะมาร์แชลล์ ไมโครนีเชีย โมนาโก พม่า นาอูรู เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ มาซิโดเนียเหนือ ปานามา ปาเลา โปรตุเกส ซามัว ซานมารีโน สิงคโปร์ สโลวีเนีย หมู่เกาะโซโลมอน สวิตเซอร์แลนด์ ตองงา ตรินิแดดและโตเบโก ตูวาลู ไต้หวัน |
[14][15] |
รัฐที่มิใช่ทั้งสมาชิกและผู้สังเกตการณ์ซึ่งรับรองโดยสมาชิกสหประชาชาติ
แก้รัฐที่มิใช่ทั้งสมาชิกและผู้สังเกตการณ์ซึ่งไม่ได้รับรองโดยสมาชิกสหประชาชาติ
แก้รัฐ | ปีที่ประกาศ | สถานะ | อ้างสิทธิเหนือ | รับรองโดย | หมายเหตุ |
---|---|---|---|---|---|
สาธารณรัฐมอลเดเวียพรีดเนสโตรวี | ค.ศ. 1990 | สาธารณรัฐมอลเดเวียพรีดเนสโตรวีสถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1990 โดยแยกตัวออกจากสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตมอลเดเวียภายหลังสงครามทรานส์นีสเตรีย | เขตปกครองตนเองทรานส์นีสเตรีย ประเทศมอลโดวา | อับฮาเซีย เซาท์ออสซีเชีย |
[26] |
สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์ | ค.ศ. 1991 | สาธารณรัฐโซมาลีแลนด์สถาปนาขึ้นใน ค.ศ. 1991 โดยแยกตัวออกจากประเทศโซมาเลียภายหลังสงครามกลางเมืองโซมาเลีย | พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศโซมาเลีย | ไต้หวัน | [27] |
หมายเหตุ
แก้ไม่รวมรายการดังต่อไปนี้ไว้ในรายชื่อ
- คณะเสนาธิปัตย์แห่งมอลตา ปัจจุบันมิใช่รัฐอธิปไตยซึ่งมีดินแดนในปกครอง แต่เป็นองค์กรที่ให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม ทั้งยังมีความสัมพันธ์ทางการทูตกับ 110 รัฐสมาชิกสหประชาชาติและองค์กรระหว่างประเทศต่าง ๆ และได้รับสถานะองค์กรผู้สังเกตการณ์ถาวรประจำสหประชาชาติ
- กลุ่มชุมชนหรือชนเผ่าที่ไม่เป็นที่รู้จักและไม่สามารถกำหนดสถานะที่ชัดเจนได้
- เขตการปกครองในประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นอิสระโดยพฤตินัย โดยรัฐบาลกลางมีบทบาทไม่มากก็น้อยในพื้นที่นั้น และไม่ได้มีการประกาศอิสรภาพอย่างชัดเจน
- ประเทศจำลอง แม้ว่าจะมีการประกาศอิสรภาพที่ชัดเจนและอ้างว่ามีอธิปไตยสมบูรณ์ แต่แตกต่างจากขบวนการแบ่งแยกดินแดนเป็นอย่างมาก ไม่ได้รับการรับรองจากรัฐชาติหรือองค์การระหว่างประเทศใด ๆ และเป็นที่กังขาว่าสามารถรักษาอธิปไตยที่ตนอ้างไว้ได้หรือไม่
- ดินแดนที่อยู่ในภาวะสงครามกลางเมืองหรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการสืบทอดตำแหน่งรัฐบาล โดยที่ความขัดแย้งเพิ่งเกิดขึ้นไม่นานหรือไม่มีเสถียรภาพมากพอที่จะสามารถกำเนิดรัฐได้
- กลุ่มกบฏที่ประกาศเอกราชและควบคุมพื้นที่บางส่วน ซึ่งไม่สามารถอธิบายได้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ แม้ว่าจะได้รับการรับรองบางส่วนในระดับสากลก็ตาม
- รัฐบาลพลัดถิ่นและขบวนการเรียกร้องดินแดน ซึ่งไม่ถือว่ามีอำนาจอธิปไตยที่ครบถ้วน
- รัฐสมาชิกสหประชาชาติที่สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตช้าจึงไม่ได้รับการรับรองอย่างชัดเจน แต่มิได้มีข้อพิพาทหรือข้อขัดแย้งต่อกัน
อ้างอิง
แก้- ↑ Government of Israel (1948-05-14). "Declaration of Israel's Independence 1948". Yale University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-13. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-07-27. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
- ↑ US Library of Congress (2000-10-07). "World War II and Korea". Country Studies. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ Sterngold, James (1994-09-03). "China, Backing North Korea, Quits Armistice Commission". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
- ↑ 5.0 5.1 "Treaty on Basic Relations between Japan and the Republic of Korea". สืบค้นเมื่อ 2008-10-27.
- ↑ "Declaration of Independence". TIME. 1966-08-19. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-11-06. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
{{cite web}}
: ข้อความ "author" ถูกละเว้น (help) - ↑ Scofield, David (2005-01-04). "Seoul's double-talk on reunification". Asia Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-04-19. สืบค้นเมื่อ 2008-02-29.
- ↑ "Constitution of the People's Republic of China". International Human Rights Treaties and Documents Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-03-25. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ CIA World Factbook (2008-02-28). "Cyprus". Central Intelligence Agency. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-26. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ "Cyprus exists without Turkey's recognition: president". XINHUA. 2005-10-01. สืบค้นเมื่อ 2008-03-07.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-29. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
- ↑ Pakistan Worldview - Report 21 - Visit to Azerbaijan เก็บถาวร 2009-02-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Senate of Pakistan - Senate foreign relations committee, 2008
- ↑ Nilufer Bakhtiyar: "For Azerbaijan Pakistan does not recognize Armenia as a country" 13 September 2006 [14:03] - Today.Az
- ↑ "3.10 - How many countries recognize Palestine as a state?". Institute for Middle East Understanding. 2007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-13. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-04-04. สืบค้นเมื่อ 2006-04-04.
- ↑ Lewis, Joe (2002-08-04). "Taiwan Independence". Digital Freedom Network. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1998-12-02. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ Sahrawi Arab Democratic Republic (1976-02-27). "Sahrawi Arab Democratic Republic". Western Sahara Online. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-29. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ Hadar, Leon (2005-11-16). "In Praise of 'Virtual States'". AntiWar. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ 19.0 19.1 Russia recognises Georgian rebels - BBC, 2008-08-26[1]
- ↑ 20.0 20.1 "Venezuela's Chavez draws closer to Moscow". Washington Post. 2009-09-10. สืบค้นเมื่อ 2009-09-10.[ลิงก์เสีย]
- ↑ Stojanovic, Srdjan (2003-09-23). "OCHA Situation Report". Center for International Disaster Information. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ 22.0 22.1 "South Ossetia opens embassy in Abkhazia The Tiraspol Times". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-04-22. สืบค้นเมื่อ 2009-09-19.
- ↑ Clogg, Rachel (2001). "Abkhazia: Ten Years On". Conciliation Resources. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-05. สืบค้นเมื่อ 2008-02-26.
- ↑ "Kosovo MPs proclaim independence". BBC News. 2008-02-17. สืบค้นเมื่อ 2008-02-28.
- ↑ http://www.unmikonline.org/press/reports/N9917289.pdf
- ↑ "Abkhazia: Ten Years On". BBC 2. 2001. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-11-19. สืบค้นเมื่อ 2008-06-16.
- ↑ BBC Country Profiles: Regions and territories: Somaliland, accessed 14 September 2009