สเปนภายใต้การนำของฟรังโก

สเปนภายใต้การนำของฟรังโก (สเปน: España franquista) หรือ ระบอบเผด็จการฟรังโก (สเปน: dictadura franquista) มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า รัฐสเปน (สเปน: Estado Español)[a] เป็นช่วงเวลาหนึ่งในประวัติศาสตร์สเปนที่เริ่มขึ้นตั้งแต่การขึ้นสู่อำนาจของนายพลฟรันซิสโก ฟรังโก หลังฝ่ายชาตินิยมมีชัยชนะเหนือฝ่ายนิยมสาธารณรัฐในสงครามกลางเมืองในเดือนเมษายน ค.ศ. 1939 จนกระทั่งฟรังโกถึงแก่อสัญกรรมใน ค.ศ. 1975 แม้ว่าการรื้อฟื้นระบอบเผด็จการจะลากยาวไปจนถึงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญผ่านการลงประชามติใน ค.ศ. 1978

รัฐสเปน
Estado Español (สเปน)

ค.ศ. 1936–1975
คำขวัญอูนา กรันเด อี ลิเบร
"หนึ่ง ยิ่งใหญ่ และเสรี"
ปลุสอุลตรา
"ไกลกว่านั้นอีก"
เพลงชาติมาร์ชากรานาเดรา
"เพลงมาร์ชแกรนาเดียร์"
ดินแดนและอาณานิคมของรัฐสเปน:
เมืองหลวง
และเมืองใหญ่สุด
มาดริด[a]
ภาษาราชการสเปน
ศาสนา
โรมันคาทอลิก (ทางการ)
เดมะนิมชาวสเปน
การปกครองรัฐเดี่ยว ระบบพรรคการเมืองเดียวภายใต้ลัทธิบุคคลนิคมเผด็จการของฟรังโก
เกาดิโย 
• ค.ศ. 1936–1975
ฟรันซิสโก ฟรังโก
นายกรัฐมนตรี 
• ค.ศ. 1938–1973
ฟรันซิสโก ฟรังโก
• ค.ศ. 1973
ลุยส์ การ์เรโร บลังโก
• ค.ศ. 1973–1975
การ์โลส อาเรียส นาบาร์โร
เจ้าชาย 
• ค.ศ. 1969–1975
เจ้าชายฆวน การ์โลส
สภานิติบัญญัติกอร์เตสเอสปัญโญลัส
ยุคประวัติศาสตร์สมัยระหว่างสงคราม • สงครามโลกครั้งที่สอง • สงครามเย็น
17 กรกฎาคม ค.ศ. 1936
1 เมษายน ค.ศ. 1939
6 กรกฎาคม ค.ศ. 1947
14 ธันวาคม ค.ศ. 1955
1 มกราคม ค.ศ. 1967
20 พฤศจิกายน ค.ศ. 1975
พื้นที่
ค.ศ. 1940[1]856,045 ตารางกิโลเมตร (330,521 ตารางไมล์)
ประชากร
• ค.ศ. 1940[1]
25,877,971
สกุลเงินเปเซตาสเปน
รหัสโทรศัพท์+34
ก่อนหน้า
ถัดไป
กลุ่มแห่งชาติ
สาธารณรัฐสเปนที่ 2
การเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตยของสเปน
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอิเควทอเรียลกินี
โมร็อกโก
สเปน
เวสเทิร์นสะฮารา
  1. ในช่วงสงครามกลางเมือง ซาลามังกากลายเป็นเมืองหลวงโดยพฤตินัยและศูนย์กลางอำนาจของกลุ่มแห่งชาติ ในขณะที่ฝ่ายบริหารย้ายไปที่บูร์โกส

หลังสงครามกลางเมืองสิ้นสุดลง นายพลฟรังโกได้จัดตั้งระบอบเผด็จการฟาสซิสต์[7] หรือระบอบกึ่งฟาสซิสต์[8] ที่เป็นการรวมเอาอิทธิพลที่เห็นได้ชัดของลัทธิเผด็จการเยอรมันและอิตาลีในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านแรงงานสัมพันธ์ นโยบายเศรษฐกิจพึ่งพาตนเอง ด้านสุนทรียศาสตร์ การใช้สัญลักษณ์[9] หรือระบบพรรคการเมืองเดียว[10] เป็นต้น ในช่วงท้ายของการปกครอง ระบอบได้เปลี่ยนแปลงกลายเป็นเผด็จการแบบพัฒนานิยมมากขึ้น[11] แม้ว่าจะยังรักษาความเป็นฟาสซิสต์ที่หลงเหลืออยู่เสมอ[8] ทั้งนี้ ระบอบฟรังโกไม่มีอุดมการณ์ที่กําหนดไว้อย่างชัดเจน นอกเหนือจากโรมันคาทอลิกแห่งชาติ (National Catholicism)

ในช่วงทศวรรษ 1940 เผด็จการทหารเริ่มแข็งแกร่งขึ้นจากการปราบปรามฝ่ายตรงข้ามทางการเมืองและเศรษฐกิจ หรือที่เรียกว่า "ความน่าสะพรึงสีขาว" (terror blanco) มีผู้คนราว 485,000 คน ได้หลบหนีออกนอกประเทศ[12] แหล่งข้อมูลบางส่วนกล่าวว่ามีผู้อพยพประมาณ 9,000-15,000 คน ที่ถูกจับกุมในค่ายกักกันนาซี ซึ่งมีจำนวนครึ่งหนึ่งที่รอดชีวิตมาได้[13][14] ส่วนบุคคลอื่น ๆ ถูกจับเข้าค่ายกักกันของฟรังโก โดยคาดว่ามีจำนวนไม่ต่ำกว่า 367,000 คน ที่ถูกกักกันในค่ายกักกันที่มีประมาณ 150-188 แห่ง[13] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1940 มีชายหญิงอีก 280,000 คน ที่ถูกคุมตัวอยู่ในเรือนจําของรัฐ[15][16] นักประวัติศาสตร์ส่วนหนึ่งประมาณการไว้ว่า ผู้คนตั้งแต่ 23,000-46,000 คนถูกประหารชีวิตในช่วงหลังสงคราม[17]

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง แม้ว่าประเทศจะดำเนินนโยบายไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด[18] แต่ก็มีส่วนสนับสนุนนาซีเยอรมนีต่อการบุกครองสหภาพโซเวียต ซึ่งมีการส่งกองพลน้ำเงิน ซึ่งเป็นหน่วยทหารอาสาเข้าร่วมกับกองทัพเยอรมันในแนวรบด้านตะวันออกเป็นเวลาสองปี ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะนี้ทำให้ประเทศถูกโดดเดี่ยวในระดับนานาชาติหลังจากความพ่ายแพ้ใน ค.ศ. 1945 ซึ่งได้รับการส่งเสริมโดยพันธมิตรภายในองค์การสหประชาชาติที่สร้างขึ้นใหม่

ในช่วงทศวรรษ 1950 ภายใต้กรอบของสงครามเย็น ตําแหน่งทางภูมิศาสตร์และการปกครองแบบเผด็จการทหารของสเปนกลายเป็นยุทธศาสตร์สําหรับสหรัฐและพันธมิตรในยุโรปเพื่อต่อต้านสหภาพโซเวียต พันธมิตรระหว่างสเปนกับสหรัฐได้ยุติการถูกโดดเดี่ยวของประเทศ และสนับสนุนการเปิดเศรษฐกิจอย่างค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งเป็นไปในระดับการพัฒนาที่ต่ำกว่าเศรษฐกิจของประเทศยุโรปตะวันตกอื่น ๆ ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1960 จนถึงต้นทศวรรษ 1970 ระดับการพัฒนาเศรษฐกิจดีขึ้นอย่างมีนัยสําคัญ แม้ว่าจะไม่เท่าเทียมกันก็ตาม มาตรฐานการครองชีพของประชากรส่วนใหญ่ที่เป็นชนชั้นกลางแทบจะไม่มีอยู่จริง ระดับเสรีภาพส่วนบุคคลและการเมืองไม่ได้เพิ่มขึ้นไปในทางเดียวกัน เริ่มเกิดการระดมกำลังต่อต้านระบอบเผด็จการของคนงานและนักศึกษา

เจ้าชายฆวน การ์โลส แห่งบูร์บง ได้รับการแต่งตั้งจากฟรังโกให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งประมุขแห่งรัฐ ในฐานะเจ้าชายแห่งสเปน และเมื่อฟรังโกถึงแก่อสัญกรรม เจ้าชายฆวน การ์โลส ทรงให้คำสัตย์ว่าจะปฏิบัติตามหลักการของขบวนการแห่งชาติที่มุ่งทําให้ระบอบฟรังโกคงอยู่ตลอดไป ทว่าในความเป็นจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น พระองค์ทรงอาศัยกรอบสถาบันของฟรังโกเพื่อส่งเสริมกฎหมายเพื่อการปฏิรูปการเมือง ซึ่งให้สัตยาบันในการลงประชามติ โดยผลลัพธ์ที่ได้คือ ร้อยละ 94 เห็นด้วยกับการปฏิรูป จึงมีการเริ่มเปลี่ยนผ่านไปสู่ระบอบประชาธิปไตยใน ค.ศ. 1976

เชิงอรรถ

แก้

หมายเหตุ

แก้
  1. ในสนธิสัญญา อนุสัญญา และข้อตกลงระหว่างประเทศ มีการกล่าวถึงชื่อของประเทศโดยทั่วไปว่า "รัฐสเปน"[2][3][4] หรือเพียงแค่ "สเปน" เท่านั้น[5][6]

อ้างอิง

แก้
  1. (ในภาษาสเปน) "Resumen general de la población de España en 31 de Diciembre de 1940". INE. Retrieved 11 October 2014.
  2. Instrumento de ratificación de España del acuerdo entre el gobierno del Estado Español y el gobierno de la República Popular de Polonia sobre el desarrollo de los intercambios comerciales, la navegación y la cooperación económica, industrial y tecnológica (1974).
  3. Acuerdo entre el gobierno del Estado Español y el gobierno del Reino de Suecia sobre transportes internacionales por carretera (1974).
  4. Instrumentos de Ratificación del Convenio sobre intercambio comercial entre el Estado Español y la República Oriental del Uruguay (1957).
  5. Convenio entre España y el Reino de Marruecos sobre Transporte Aéreo, hecho en Madrid el 7 de julio de 1970
  6. Instrumento de Ratificación del Convenio relativo a Servicios Aéreos entre España y el Reino Unido de la Gran Bretaña e Irlanda del Norte
  7. Saz Campos 2004, p. 90.
  8. 8.0 8.1 จากวิทยานิพนธ์ที่ได้รับการปกป้องของ Payne ในเอกสารดังกล่าวสามารถสรุปได้ดังนี้:

    ในระหว่าง ค.ศ. 1937 ถึง ค.ศ. 1943 ระบอบฟรังโกประกอบขึ่นเป็นระบอบ "กึ่งฟาสซิสต์" แต่ไม่เคยเป็นระบอบฟาสซิสต์ร้อยเปอร์เซ็นต์ จากนั้นก็ใช้เวลา 32 ปีในการพัฒนาเป็นระบบเผด็จการ "หลังฟาสซิสต์" แม้ว่าจะไม่สามารถกําจัดร่องรอยที่เหลือทั้งหมดของลัทธิฟาสซิสต์ได้อย่างสมบูรณ์ก็ตาม

    » Glicerio Sanchez Recio. En torno a la Dictadura franquista Hispania Nova
  9. Cabrera & Rey 2017.
  10. Moradiellos 2000, p. 20.
  11. Tusell 1999.
  12. González Madrid 2012, p. 11.
  13. 13.0 13.1 González Madrid 2012, p. 12.
  14. Domínguez, Hugo (20 มกราคม 2015). "Un libro revela que Franco colaboró con Hitler en las deportaciones de españoles y judíos a campos de concentración". El Diario. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2016.
  15. Ruiz 2005, p. 7.
  16. González Madrid 2012, p. 14.
  17. Carrascal 2015, p. 293.
  18. Russell, Roberto; Tokatlian, Juan Gabriel (2001). "Relaciones internacionales y política interna: los neutrales en la Segunda Guerra Mundial, un estudio de caso". Foro Internacional. 41 (1): 63. Por último, la tercera parte estudia comparativamente los factores de orden internacional e interno que llevaron a los gobiernos de Argentina, Chile, España, Irlanda, Portugal, Suecia, Suiza y Turquía a asumir una posición de neutralidad durante la Segunda Guerra Mundial

บรรณานุกรม

แก้
  • Barciela, Carlos (2002). "Guerra civil y primer franquismo (1936-1959)". ใน Francisco Comín; Mauro Hernández; Llopis, Enrique (บ.ก.). Historia económica de España. Siglos X-XX. Barcelona: Crítica. ISBN 84-8432-366-8.
  • Cabrera, Mercedes; Rey, Fernando del (2017). Harold James; Jakob Tanner (บ.ก.). "Spanish Entepreneurs in the Era of Fascism: From the Primo de Rivera Dictatorship to the Franco Dictatorship, 1923-1945". Enterprise in the Period of Fascism in Europe. Routledge. ISBN 978-0-7546-0077-0.
  • Carrascal, José María (2015). "El franquismo, la revolución pendiente". La historia de España que no nos contaron. Mitos y realidades (3.ª ed.). Barcelona: Espasa. ISBN 978-84-670-4482-9.
  • De Riquer, Borja (2010). La dictadura de Franco. Vol. 9 de la Historia de España, dirigida por Josep Fontana y Ramón Villares. Barcelona-Madrid: Crítica/Marcial Pons. ISBN 978-84-9892-063-5.
  • Equipo de Estudios (1975). "Panorámica de la educación desde la Guerra Civil". Cuadernos de Pedagogía (9): 24-40.
  • Fusi, Juan Pablo (2000). "La cultura". ใน José Luis García Delgado (บ.ก.). Franquismo. El juicio de la historia. Madrid: Temas de Hoy. ISBN 84-8460-070-X.
  • Gallardo Romero, Juan José (2006). Contra Franco: testimonios y reflexiones. Editorial Vosa, S.L. p. 380. ISBN 84-8218-055-X.
  • Gallo, Max (1971). Historia de la España franquista [Histoire de l'Espagne franquiste]. Dépôt légal: 52.657 (Premier trimestre 1972). Paris: Ruedo ibérico.
  • García Delgado, José Luis (2000). "La economía". ใน José Luis García Delgado (บ.ก.). Franquismo. El juicio de la historia. Madrid: Temas de Hoy. ISBN 84-8460-070-X.
  • Gil Pecharromán, Julio (2008). Con permiso de la autoridad. La España de Franco (1939-1975). Madrid: Temas de Hoy. ISBN 978-84-8460-693-2.
  • González Madrid, Damián (2012). Violencia política y dictadura franquista. Dissidences. Hispanic Journal of Theory and Criticism. Vol. 2. Iss. 3, artículo 3.
  • Heine, Hartmut (1983). La oposición política al franquismo. De 1939 a 1952. Barcelona: Crítica. ISBN 84-7423-198-1.
  • Juliá, Santos (1999). Un siglo de España. Política y sociedad. Madrid: Marcial Pons. ISBN 84-9537903-1.
  • Juliá, Santos (2000). "La sociedad". ใน José Luis García Delgado (บ.ก.). Franquismo. El juicio de la historia. Madrid: Temas de Hoy. ISBN 84-8460-070-X.
  • Mateos, Abdón; Soto, Álvaro (1997). El final del franquismo, 1959-1975. La transformación de la sociedad española. Madrid: Historia 16-Temas de Hoy. ISBN 84-7679-326-X.
  • Molinero i Ruiz, Carme; Ysàs i Solanes, Pere (1998). Productores disciplinados y minorías subversivas: clase obrera y conflictividad laboral en la España franquista. Siglo XXI de España Editores, S.A. p. 296. ISBN 84-323-0970-2.
  • Monés, Jordi (1976). "Cuatro décadas de educación franquista. Aspectos ideológicos". Cuadernos de Pedagogía (Suplemento nº 3): 11-16.
  • Moradiellos, Enrique (2000). La España de Franco (1939-1975). Política y sociedad. Madrid: Síntesis. ISBN 84-7738-740-0.
  • Payne, Stanley G. (1997). El primer franquismo. Los años de la autarquía. Madrid: Historia 16-Temas de Hoy. ISBN 84-7679-325-1.
  • Payne, Stanley G. (2007). "Gobierno y oposición (1939-1969)". ใน Raymond Carr และคณะ (บ.ก.). 1939/1975 La época de Franco. Madrid: Espasa Calpe. ISBN 978-84-670-2627-6.
  • Preston, Paul (1998). Franco «Caudillo de España» [Franco. A Biography]. Primera edición en Mitos Bolsillo. Barcelona: Grijalbo Mondadori. ISBN 84-397-0241-8.
  • Rodríguez Jiménez, José Luis (1997). La extrema derecha española en el siglo XX. Madrid: Alianza Editorial. ISBN 84-206-2887-5.
  • Ruiz, Julius (2005). Franco's Justice: Repression in Madrid After the Spanish Civil War. Oxford: Oxford University Press. ISBN 0-19-928183-1.
  • Sánchez Soler, Mariano (2003). Los Franco, S. A. Oberon. p. 294. ISBN 84-96052-24-9.
  • Sartorius Álvarez de las Asturias Bohorques, Nicolás; แม่แบบ:Versalita, Javier (2002). La memoria insumisa: sobre la dictadura de Franco. Editorial Crítica. p. 504. ISBN 84-8432-318-8.
  • Saz Campos, Ismael (2004). Fascismo y franquismo. Valencia: Publicacions de la Universitat de València. ISBN 84-370-5910-0.
  • Suárez Fernández, Luis (2007). Franco. Crónica de un tiempo. VI. Los caminos de la instauración. Desde 1967 a 1975. Madrid: Actas. ISBN 978-84-9739-063-7.
  • Subirats, Marina (1976). "La mujer domada". Cuadernos de Pedagogía (Suplemento nº 3): 43-44.
  • Thomàs i Andreu, Joan María (2001). La Falange de Franco: fascismo y fascistización en el régimen franquista (1937-1945). Plaza & Janés Editores, S.A. p. 400. ISBN 84-01-53052-0.
  • Tuñón de Lara, Manuel (1976). "La interpretación 'policial' de la historia". Cuadernos de Pedagogía (Suplemento nº 3): 35-37.
  • Tusell, Javier (1997). Historia de España. Vol. XIII. La época de Franco. Desde el fin de la Guerra Civil a la muerte de Franco (1939-1975). Madrid: Espasa Calpe. ISBN 84-239-8946-1.
  • Tusell, Javier (1999). (III) La Dictadura de Franco. Historia de España del siglo XX. Madrid: Editorial Taurus.