มหาวิทยาลัยศรีปทุม

มหาวิทยาลัยศรีปทุม เดิมชื่อวิทยาลัยไทยสุริยะ ก่อนได้รับพระราชทานนามใหม่จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยเกริก วิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยพัฒนา[3] ปัจจุบันมหาวิทยาลัยศรีปทุมตั้งอยู่ที่เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร และมีวิทยาเขตที่จังหวัดชลบุรี และจังหวัดขอนแก่น[4]

มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Sripatum University
ชื่อเดิมวิทยาลัยไทยสุริยะ (วทส.)
Thaisuriya College (TSC)
ชื่อย่อมศป. / SPU
คติพจน์การศึกษาสร้างคน คนสร้างชาติ
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนาวิทยาลัยไทยสุริยะ
28 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 (54 ปี)[1]
วิทยาลัยศรีปทุม
31 มกราคม พ.ศ. 2515 (52 ปี)
มหาวิทยาลัยศรีปทุม
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 (37 ปี)
ผู้สถาปนาดร.สุข พุคยาภรณ์
นายกสภาฯรองศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์ ราชบัณฑิต
อธิการบดีมหาวิทยาลัยดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน
ผู้ศึกษา34,530 คน (2566)[2]
ที่อยู่,
ประเทศไทย
วิทยาเขตวิทยาเขต
เพลงบัวเบิกบาน
ต้นไม้ปาล์มขวด, ดอกบัวหลวงสีชมพู
สี  ฟ้า
  ชมพู
เครือข่ายASAIHL
เว็บไซต์www.spu.ac.th

ประวัติ

แก้

วิทยาลัยไทยสุริยะ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2513 เป็น 1 ใน 5 สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรก ๆ ที่จัดตั้งขึ้นในประเทศไทย โดย ดร.สุข พุคยาภรณ์

ต่อมาเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2515 วิทยาลัยไทยสุริยะ ได้รับพระราชทานนามใหม่จากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเป็น “วิทยาลัยศรีปทุม” (กระทรวงศึกษาธิการได้อนุญาตให้แก้ไขเปลี่ยนแปลงเป็นชื่อวิทยาลัยศรีปทุม เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2515) และพระราชทานความหมายว่า "เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบานเช่นดอกบัว" พร้อมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดป้ายนาม "ศรีปทุม" และพระราชทานปริญญาบัตร อนุปริญญา และประกาศนียบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษารุ่นที่1,2และ 3

ทบวงมหาวิทยาลัยได้อนุมัติให้เปลี่ยนประเภทเป็น “มหาวิทยาลัยศรีปทุม” เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2530

มหาวิทยาลัยฯ ได้ขยายวิทยาเขตออกไปในปีการศึกษา 2530 โดยได้จัดตั้งวิทยาเขตที่สมบูรณ์แบบเป็นครั้งแรกที่จังหวัดชลบุรี ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี กรมพระศรีสวางควัฒน วรขัตติยราชนารี เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2530

ในปี พ.ศ. 2537 มหาวิทยาลัยศรีปทุมขออนุมัติทบวงมหาวิทยาลัย (ในขณะนั้น) จัดตั้งมหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาคารพญาไท เปิดสอนในหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาเพื่อพัฒนานักบริหาร โดยเปิดสอนครั้งแรก ณ อาคารเอ็กซิม (อาคารบุญผ่องเดิม) ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท ต่อมาได้ย้ายสำนักงานมาเปิด ณ อาคารเอสเอ็มทาวเวอร์ ชั้น 17 และชั้น 20 ถนนพหลโยธิน เขตพญาไท เพื่อเปิดสอนหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาสำหรับนักบริหาร (ปัจจุบันไม่มีการสอนที่วิทยาคารพญาไทแล้ว)

ในปี พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยศรีปทุม ได้ขยายการเรียนการสอนไปยังจังหวัดขอนแก่น ภายใต้ชื่อ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย

แก้

ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงพระราชทานนาม “ศรีปทุม” แก่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ พร้อมความหมายว่า “เป็นบ่อเกิดแห่งวิชาที่เบิกบาน เช่นดอกบัว” ดังนั้น ดอกบัวหลวงสีชมพูจึงเป็นสัญลักษณ์แทนนามศรีปทุม มีลักษณะเป็นรูปหกเหลี่ยม มีรูปดอกบัวอยู่ภายใน มีความหมายดังนี้

  • ดอกบัว 3 กลีบ หมายถึง ความเป็นผู้มีปัญญาธรรม สามัคคีธรรม และ คารวะธรรม คือ มีความรู้หรือปัญญา มีความเชี่ยวชาญ ในการประกอบวิชาชีพ และรู้จักปรับตนให้เป็นคนที่มีความเบิกบาน มีน้ำใจไมตรีในการดำเนินชีวิต
  • รูปหกเหลี่ยม หมายถึง ทิศทั้งหกในพระพุทธศาสนา ที่หมายถึงผู้มีพระคุณและผู้ที่เข้ามามีความเกี่ยวข้องผู้พันในชีวิต ซึ่งก็คือ ความเป็นผู้มีคุณธรรม

การศึกษา

แก้

ที่ตั้งมหาวิทยาลัย

แก้

มหาวิทยาลัยศรีปทุมเปิดดำเนินการสอนใน 3 แห่ง ได้แก่

  1. วิทยาเขตบางเขน เลขที่ 2410/2 ถนนพหลโยธิน แขวงเสนานิคม เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900
  2. วิทยาเขตชลบุรี เลขที่ 79 ถนนเทพรัตน ตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20000
  3. วิทยาเขตขอนแก่น เลขที่ 182/12 ถนนศรีจันทร์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น 40000

คณะ

แก้

วิทยาลัย

แก้

คณะ/วิทยาลัยที่ไม่มีการเปิดสอนในปัจุบัน

แก้

พิธีสำเร็จการศึกษา

แก้

มหาวิทยาลัยศรีปทุมเป็นมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่แยกพิธีสำเร็จการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน แบ่งเป็น

  1. พิธีประสาทปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาเขตบางเขน
  2. พิธีประสาทปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาเขตชลบุรี
  3. พิธีประสาทปริญญาบัตรสำหรับผู้สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาเขตขอนแก่น
สำเร็จการศึกษาจาก สถานที่ ประธานในพิธี
วิทยาเขตบางเขน ห้องบัวหลวงแกรนด์รูม อาคาร ดร.สุข พุคยาภรณ์
มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตบางเขน เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร
รองศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์
ราชบัณฑิต และนายกสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม
วิทยาเขตชลบุรี อาคารยิมเนเซียม มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตชลบุรี
อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
รองศาสตราจารย์ ดร.ครรชิต มาลัยวงศ์
ราชบัณฑิต และนายกสภามหาวิทยาลัยศรีปทุม
วิทยาเขตขอนแก่น ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติขอนแก่น (ไคซ์)
อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
ดร.รัชนีพร พุคยาภรณ์ พุกกะมาน
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • หมายเหตุ สถานที่และประธานในพิธี อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสมในแต่ละปี

สีของแถบพาดบ่าของชุดครุยวิทยฐานะ

แก้
สีแถบครุยวิทยฐานะ มหาวิทยาลัยศรีปทุม แบ่งตามหลักสูตร
████ สีเหลือง นิเทศศาสตร์ ████ สีฟ้าคราม วิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการความปลอดภัยการบิน
████ สีเหลืองทอง รัฐประศาสนศาสตร์ ████ สีฟ้า บริหารธุรกิจ
████ สีส้ม ศิลปศาสตร์ ████ สีน้ำเงิน เศรษฐศาสตร์ ปัจจุบันไม่มีเปิดสอน
████ สีชมพูอมม่วง ศิลปกรรมศาสตร์ ████ สีแดงเลือดหมู วิศวกรรมศาสตร์
████ สีม่วง วิทยาศาสตร์ ████ สีน้ำตาล สถาปัตยกรรมศาสตร์
████ สีเทา ศึกษาศาสตร์ ██ สีส้มริมสีเทา ศิลปศาสตร์ หลักสูตรนานาชาติ
████ สีเขียว บัญชี ██ สีฟ้าริมสีเทา บริหารธุรกิจ หลักสูตรนานาชาติ
████ สีขาว นิติศาสตร์ TBA เทคโนโลยี

โครงสร้างการบริหาร

แก้

หน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย

แก้

อันดับมหาวิทยาลัย

แก้
  • ปี 2018 คว้าอันดับ 1 สถาบันการศึกษาเอกชน และอันดับ9 มหาวิทยาลัยในไทยเว็บไซต์การจัดอันดับสถาบันการศึกษา 4Icu หรือ "Unirank" ประกาศการจัดอันดับสถาบันการศึกษาในประเทศไทย เดือนมกราคม 2018 "Unirank" Top Universities in Thailand 2018 Thai University Ranking [5]
  • ปี 2016 การจัดอันดับโดย เว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ซึ่งจัดทำขึ้นเพื่อแสดงความตั้งใจของสถาบันต่างๆ ในการเผยแพร่ความรู้สู่เว็บไซต์ และเป็นความริเริ่มเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงความรู้อย่างเปิดกว้าง (Open Access) ทั่วโลก โดยบ่งบอกถึงปริมาณและคุณภาพของสิ่งตีพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ของสถาบัน เพื่อใช้ร่วมกับตัวชี้วัดอื่นๆ ในการประเมินผลงานวิจัยของสถาบัน ซึ่งทางเว็บโอเมตริกซ์ได้จัดอันดับปีละ 2 ครั้งในเดือนมกราคม และกรกฎาคม ล่าสุดเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 มหาวิทยาลัยศรีปทุม อยู่ในอันดับที่ 4,265 ของโลก อันดับที่ 60 ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย[7]

สถาบันในเครือ (ไทย-เทค)

แก้

อ้างอิง

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้