มหาวิทยาลัยเกริก

13°52′24″N 100°36′00″E / 13.8734°N 100.600°E / 13.8734; 100.600

มหาวิทยาลัยเกริก
Krirk University

ตรารูปต้นโพธิ์ คบเพลิง และธรรมจักร
สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย
ชื่อเดิมสถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก)
Institute of Social Technology (Krirk)
ชื่อย่อม.กร. / KRU
คติพจน์วิชฺชา จรณ สมฺปนฺโน
(ความรู้ทำให้องอาจ)
ประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
สถาปนา28 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 (54 ปี)[1]
นายกสภาฯศาตราจารย์ ดร. ธีระ สูตะบุตร
อธิการบดีศาสตราจารย์ นายแพทย์ กระแส ชนะวงศ์
ผู้ศึกษา7,843 คน (2566)[2]
ที่ตั้ง
สี██ สีเขียว
เว็บไซต์www.krirk.ac.th

มหาวิทยาลัยเกริก เดิมชื่อสถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก) เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 1 ใน 5 แห่งแรกในประเทศไทยถูกสถาปนาขึ้นพร้อมกับ วิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาลัยไทยสุริยะ วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และวิทยาลัยพัฒนา ตั้งอยู่ที่ หลักสี่ ถนนรามอินทรา กม.1 แขวงอนุสาวรีย์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร เปิดทำการเรียนการสอนเมื่อปี พ.ศ. 2495 จัดตั้งเป็นสถาบันอุดมศึกษาเมื่อปี พ.ศ. 2513 และได้รับการยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ในปี พ.ศ. 2538[3]

ประวัติ

แก้

สถานศึกษาที่ต่อมาจะพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยเกริก เปิดดำเนินการเป็นครั้งแรกที่อาคาร ก ราชดำเนิน เมื่อปี พ.ศ. 2495 ในชื่อ โรงเรียนภาษาและวิชาชีพ โดย ดร.เกริก มังคละพฤกษ์ (พ.ศ. 2458-2521) ซึ่งเป็นนักการศึกษาผู้มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ จุดมุ่งหมายในการตั้งมหาวิทยาลัยในระยะแรกนั้น เพื่อดำเนินการเรียนการสอนด้านภาษาอังกฤษแต่เพียงอย่างเดียว เนื่องจากท่านมีความสามารถด้านภาษาอังกฤษเป็นพิเศษ ทั้งในด้านการเรียนการสอนและประสบการณ์จากการทำงาน นับได้ว่าท่านเป็นคนไทยคนแรกที่ทำการสอนภาษาอังกฤษใหม่ ซึ่งมุ่งให้นักศึกษาได้มีความรู้ในหลักภาษาและสามารถใช้ภาษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ต่อมาได้เปิดแผนกบริหารธุรกิจและการเลขานุการเพิ่ม และพัฒนาเป็น โรงเรียนเกริกวิทยาลัย และยกฐานะเป็น เกริกวิทยาลัย เปิดสอนปริญญาตรี คณะบริหารธุรกิจและคณะเศรษฐศาสตร์ และพัฒนาเป็น สถาบันเทคโนโลยีสังคม (เกริก) และ มหาวิทยาลัยเกริก ดังเช่นปัจจุบัน

สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย

แก้

ตราประจำมหาวิทยาลัย เป็นรูปธรรมจักรทับอยู่ด้านหน้าคบเพลิง ภายในธรรมจักรมีรูปต้นไม้ กงล้อธรรมจักรด้านบนมีอักษรภาษาบาลี วิชฺชา จรณ สมฺปนฺโน [ความจริงต้องเขียนติดกันว่า วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน เพราะเป็นคำสมาส หากเขียนแยกกัน แปลไม่ได้] ด้านล่างมีอักษรภาษาไทยว่า ความรู้ทำให้องอาจ [ไม่ทราบว่าแปล หรือตีความตามใจตนเอง เพราะคำนี้แปลได้แนวเดียวว่า สมบูรณ์ด้วยความรู้ (วิชชา) และความประพฤติ (จรณะ)] และด้านล่างของธรรมจักร มีอักษรภาษาไทยว่า มหาวิทยาลัยเกริก และภาษาอังกฤษว่า KRIRK UNIVERSITY

  • ความหมายของตราประจำมหาวิทยาลัย
    • ธรรมจักร หมายถึง กงล้อแห่งความรู้
    • คบเพลิง หมายถึง แสงสว่างแห่งปัญญาและความรุ่งโรจน์
    • ต้นไม้ หมายถึง ความเติบใหญ่และความมั่นคงแข็งแรง

สถานที่ภายในมหาวิทยาลัย

แก้
  • อาคาร 1 (อาคารมังคละพฤกษ์) เป็นอาคารสูง 5 ชั้น
  • อาคาร 2 (อาคาร ดร.เกริก) เป็นอาคารสูง 7 ชั้น
  • อาคาร 3 (อาคารเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ) เป็นอาคารที่ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคาร ในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2543 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น(ไม่รวมลานจอดรถชั้นใต้ดิน)
  • อาคาร 4 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น
  • อาคาร 5(อาคาร ดร.สุวรรณี) เป็นอาคารสูง 5 ชั้น
  • อาคาร 6 เป็นอาคารสูง 4 ชั้น
  • ลานพ่อเกริก

เพลงประจำสถาบัน

แก้
  • เพลงมาร์ชเกริก ทำนอง ครูเอื้อ-ศรีสวัสดิ์-อโศก ร้องหมู่ วงดนตรี สังคีตสัมพันธ์

เพลงอื่นๆ

แก้
  • เพลงพระคุณพ่อเกริก
  • เพลงเกริกกราว

คณะที่เปิดสอน

แก้

มหาวิทยาลัยเกริก เปิดทำการเรียนการสอนในคณะต่าง ๆ ได้แก่[4]

  • คณะบริหารธุรกิจ
  • คณะศิลปศาสตร์
  • คณะนิติศาสตร์
  • วิทยาลัยสื่อสารการเมือง
  • วิทยาลัยนานาชาติภาษาและวัฒนธรรมจีน
  • วิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ
  • บัณฑิตวิทยาลัย

สถาบัน/ศูนย์และหน่วยงานในมหาวิทยาลัย

แก้
  • สโมสรนักศึกษา

ชมรมต่างๆภายในมหาวิทยาลัย

แก้
  • ชมรมร้องประสานเสียง
  • ชมรมรัฐศาสตร์
  • ชมรมอนุรักษ์ธรรมชาติ
  • ชมรมจาวเหนือ
  • ชมรมอีสาน
  • ชมรมดนตรี
  • ชมรมค่ายอาสาพัฒนาชนบท
  • ชมรมกีฬา

ศิษย์เก่าจากมหาวิทยาลัยเกริก

แก้

นักการเมือง

แก้

นักแสดง

แก้

อื่นๆ

แก้
  • เยาวเรศ ชินวัตร เจ้าของร้านอาหารครัวคุณเรศ และอดีตประธานสภาสตรีแห่งชาติในพระบรมราชินูปถัมภ์ คนที่ 20

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษาก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนวิทยาลัยเกริกเว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา
  2. สถิติอุดมศึกษา กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  3. รายชื่อสถาบันอุดมศึกษา เก็บถาวร 2011-04-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนจากเว็บไซต์ สกอ.
  4. คณะและหน่วยงาน

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้