โดโลไมต์
โดโลไมต์ (อังกฤษ: dolomite) เป็นชื่อแร่ ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่นักเคมีชาวฝรั่งเศส Déodat Gratet de Dolomieu (พ.ศ. 2293-2344)
โดโลไมต์และแมกนีไซต์พบในประเทศสเปน | |
การจำแนก | |
---|---|
ประเภท | Carbonate mineral |
สูตรเคมี | CaMg (CO3) 2 |
คุณสมบัติ | |
สี | ขาว เทา ถึงชมพู |
รูปแบบผลึก | tabular crystals, often with curved faces, also columnar, stalactitic, granular, massive. |
โครงสร้างผลึก | trigonal - rhombohedral, bar3 |
การเกิดผลึกแฝด | พบได้บ่อย เช่นเดียวกับ simple contact twins |
แนวแตกเรียบ | rhombohedral cleavage (3 planes) |
รอยแตก | เปราะ - conchoidal |
ค่าความแข็ง | 3.5-4 |
ความวาว | ใสถึงขุ่นเหมือนมุก |
ดรรชนีหักเห | nω = 1.679–1.681 nε = 1.500 |
คุณสมบัติทางแสง | Uniaxial (-) |
ค่าแสงหักเหสองแนว | δ = 0.179–0.181 |
สีผงละเอียด | ขาว |
ความถ่วงจำเพาะ | 2.84–2.86 |
สภาพละลายได้ | ละลายได้น้ยใน HCl เว้นแต่จะบดเป็นผง |
คุณสมบัติอื่น | อาจเรืองแสงเป็นสีขาวถึงชมพูภายใต้รังสี UV; triboluminescent. |
อ้างอิง: [1][2][3][4] |
รูปผลึกแบบหกเหลี่ยม[ต้องการอ้างอิง] ผลึกของแร่มักจะพบในรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน ผิวหน้าผลึกมักจะโค้ง บางครั้งจะโค้งเป็นรูปคล้ายอานม้า ผลึกในแบบอื่นมีพบได้บ้างแต่น้อย ซึ่งอาจพบเป็นเม็ดหยาบๆ ไปจนกระทั่งเม็ดเล็กเกาะกันแน่น แข็ง 3.5-4 ถ.พ. 2.85 วาวคล้ายแก้ว บางชนิดวาวคล้ายมุก (Pearl Spar) สีปกติมักจะมีสีออกชมพู สีเนื้อ อาจไม่มีสีหรือพบสีขาว เทา เขียว น้ำตาล หรือสีดำ เนื้อแร่มีทั้งโปร่งใสและโปร่งแสง
มีสูตรเคมี CaMg (CO3) 2 มี CaO 30.4 % MgO 21.7% และ CO2 47.9% โดยปกติโดโลไมต์มีสัดส่วนของ CaCO3 ต่อ MgCO3 ประมาณ 1:1 ถ้ามี Ferrous iron เข้ามาแทนที่แมกนีเซียมและปริมาณมากกว่าแมกนีเซียมแล้วจะเรียก แองเคอไรต์ (Ankerite)
ลักษณะเด่นและวิธีตรวจ ทำปฏิกิริยากับกรดเกลือ (HCl) แต่ช้ามาในอุณหภูมิธรรมดา นอกจากจะบดเนื่อแร่ให้เป็นก้อนเล็กๆ ละเอียด จึงละลายในกรดเป็นฟองฟู่ หากไม่บดต้องใช้กรดไฮโดรคลอริกร้อนๆจึงจะทำปฏิกิริยาเป็นฟองฟู่ รูปผลึกเหลี่ยมขนมเปียกปูนมักจะโค้งและมีสีออกสีเนื้อๆเนื้อปกติมักจะด้าน
มีกำเนิดเช่นเดียวกับแคลไซต์ พบในหินปูนโดโลมิติก (Dolomitic limestone) หรือในหินอ่อนโดโลมิติก (Dolomitic marble) โดโลไมต์ที่พบมีมวลขนาดใหญ่ๆนั้น เข้าใจกันว่าเป็นการกำเนิดแบบทุติยภูมิ ซึ่งเกิดจากหินปูนที่มีอยู่เดิมถูกแทนที่ด้วยธาตุแมกนีเซียม หรือมักเกิดเป็นเพื่อนแร่ในสายตะกั่วหรือสังกะสีซึ่งตัดผ่านหินปูน
แหล่งที่พบ
แก้ในประเทศไทย
แก้พบที่ อ.ท่าม่วง เขาถ้ำ อ.เมือง วังกะโด้ง อ.เมือง จ.กาญจนบุรี เกาะสีชัง จ.ชลบุรี, อ.ดอนสัก อ.คีรีรัฐนิคม จ.สุราษฎร์ธานี อ.เมือง จ.กระบี่ และที่เขารักเกียด อ.รัตภูมิ จ.สงขลา,อำเภอบางเตย จังหวัดพังงา
ต่างประเทศ
แก้แบบผลึกพบที่บินเนนธาล (Binnenthal) ในสวิตเซอร์แลนด์ ในสหรัฐอเมริกา พบที่โจพลิน และมิสซูรี
ประโยชน์
แก้ใช้เป็นหินก่อสร้างหรือหินประดับ ทำปูนซีเมนต์บางชนิด ใช้ทำแมกนีเซียมซึ่งเป็นวัสดุทนไฟใช้สำหรับการบุเตาถลุงเหล็ก โดยเป็นเตาคอนเวอร์ในการผลิตเหล็กกล้าขั้นต้น โดโลไมต์เป็นสินแร่หลักของโลหะแมกนีเซียม ใช้ในอุตสาหกรรมทำแก้วบางชนิด เช่น พวกแก้วแผ่น และใช้เป็นปุ๋ยในการเกษตร เป็นต้น
อ้างอิง
แก้- ↑ Deer, W. A., R. A. Howie and J. Zussman (1966) An Introduction to the Rock Forming Minerals, Longman, pp. 489–493. ISBN 0-582-44210-9.
- ↑ http://rruff.geo.arizona.edu/doclib/hom/dolomite.pdf Handbook of Mineralogy
- ↑ http://webmineral.com/data/Dolomite.shtml Webmineral
- ↑ http://www.mindat.org/min-1304.html Mindat data
- หนังสือแร่ กรมทรัพยากรธรณี พิมพ์ครั้งที่4 พ.ศ. 2543 หน้า 123