ภาษาไทยถิ่นใต้
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
ภาษาไทยถิ่นใต้ (โดยย่อว่า ภาษาใต้) หรือ ภาษาตามโพร (อังกฤษ: Dambro) หรือ ภาษาปักษ์ใต้ เป็นภาษาไทกลุ่มหนึ่ง จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทตะวันตกเฉียงใต้[3] มีผู้ใช้ภาษาหนาแน่นบริเวณสิบสี่จังหวัดภาคใต้ของประเทศไทย มีบางส่วนกระจายตัวไปในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เขตตะนาวศรีในประเทศพม่า และบริเวณรัฐเกอดะฮ์ รัฐปะลิส รัฐปีนัง และรัฐเปรัก ทางตอนเหนือของประเทศมาเลเซีย มีผู้พูดเป็นภาษาแม่ราวห้าล้านคน และอีกราว 1.5 ล้านคนใช้เป็นภาษาที่สอง ได้แก่กลุ่มชนเชื้อสายจีน เปอรานากัน มลายู อูรักลาโวยจ และมานิ[4]
ภาษาไทยถิ่นใต้ | |
---|---|
ภาษาตามโพร | |
ประเทศที่มีการพูด | ภาคใต้ของประเทศไทย, เขตตะนาวศรี (พม่า), รัฐเกอดะฮ์ (มาเลเซีย) |
ชาติพันธุ์ | ไทยใต้[1] เปอรานากัน ไทยเชื้อสายจีน มาเลเซียเชื้อสายสยาม ไทยเชื้อสายมลายู |
จำนวนผู้พูด | 4.5 ล้านคน (2549)[2] |
ตระกูลภาษา | ขร้า-ไท
|
ระบบการเขียน | อักษรไทย อักษรเบรลล์ไทย |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ไทย |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | sou |
นอกจากนี้ในภาคใต้ยังมีกลุ่มภาษาไทที่ไม่ได้จัดอยู่ในกลุ่มย่อยของภาษาไทยถิ่นใต้ ได้แก่ ภาษาตากใบ ภาษาสะกอม และภาษาพิเทน เพราะมีเอกลักษณ์เป็นของตนเองที่แตกต่างไปจากภาษาไทยถิ่นใต้หรือภาษามลายู[5]
สัทอักษร
แก้วรรณยุกต์
แก้ภาษาไทยถิ่นใต้ส่วนใหญ่ในพยางค์เดียวมี 5 ระดับเสียง ซึ่งเป็นจริงสำหรับสำเนียงที่อยู่ในระดับละติจูดประมาณ 10° เหนือถึง 7° เหนือกับภาษาถิ่นในเมืองทั่วภาคใต้ ในบางพื้นที่มีวรรณยุกต์หกถึงเจ็ดเสียง โดยสำเนียงจังหวัดนครศรีธรรมราช (ประมาณละติจูด 8° เหนือ) มีวรรณยุกต์ 7 เสียง[6]
ต้น
แก้ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เสียง Sj | เส้นเสียง | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | [m] ม |
[n] ณ, น |
[ɲ] ญ* |
||||
เสียงหยุด | ไม่พ่นลม | [p] ป |
[t] ฏ, ต |
[c] จ |
[k] ก |
[ʔ] อ** | |
พ่นลม | [pʰ] ผ, พ, ภ |
[tʰ] ฐ, ฑ, ฒ, ถ, ท, ธ |
[cʰ] ฉ, ช, ฌ |
[kʰ] ข, ฃ, ค, ฅ, ฆ |
|||
ก้อง | [b] บ |
[d] ฎ, ด |
|||||
เสียงเสียดแทรก | [v] ฝ, ฟ |
[s] ซ, ศ, ษ, ส |
[ɧ] ง |
[ɦ] ห, ฮ | |||
เสียงเปิด | [l] ล, ฬ |
[j] ย |
[w] ว |
||||
เสียงลิ้นรัว | [r] ร |
- * พบในบางสำเนียง
- ** ตั้งก่อนหน้าสระใด ๆ โดยไม่มีตัวหน้าและหลังสระสั้นโดยไม่มีตัวท้าย
- ***ปัจจุบันไม่ใช้พยัญชนะ ฃ และ ฅ ทำให้เหลือพยัญชนะ 42 ตัว
กลุ่มพยัญชนะ (พยัญชนะควบ)
แก้ในภาษาไทยมีกลุ่มพยัญชนะ 11 แบบ ดังนี้:
- /kr/ (กร), /kl/ (กล), /kw/ (กว)
- /kʰr/ (ขร, คร), /kʰl/ (ขล, คล), /kʰw/ (ขว, คว)
- /pr/ (ปร), /pl/ (ปล)
- /pʰr/ (ผร, พร), /pʰl/ (ผล, พล)
- /tr/ (ตร)
นอกจากนี้ยังมีคำควบกล้ำที่ไม่ได้อยู่ในหลักภาษาไทยมาตรฐานด้วย เช่น
- หฺมฺร เช่น หมฺรับ อ่านว่า "หฺมฺรับ" (ห เป็นอักษรนำ ตามด้วย ม ควบกล้ำด้วย ร) แปลว่า สำรับ ไม่ได้ อ่านว่า หม-รับ หรือ หมับ ให้ออกเสียง "หมฺ" ควบ "ร") เช่น การจัดหฺมฺรับประเพณีสารทเดือนสิบ
ท้าย
แก้เสียงหยุดทั้งหมดไม่มีการออกเสียง ดังนั้น เสียงท้ายของ /p/, /t/ และ /k/ ออกเสียงเป็น [p̚], [t̚] และ [k̚] ตามลำดับ
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | |
---|---|---|---|---|---|
เสียงนาสิก | [m] ม |
[n] ญ, ณ, น, ร, ล, ฬ |
[ŋ] ง |
||
เสียงหยุด | [p] บ, ป, พ, ฟ, ภ |
[t] จ, ช, ซ, ฌ, ฎ, ฏ, ฐ, ฑ, ฒ, ด, ต, ถ, ท, ธ, ศ, ษ, ส |
[k] ก, ข, ค, ฆ |
[ʔ]* | |
เสียงเปิด | [w] ว |
[j] ย |
- * ตรงท้ายออกเสียงเป็นเส้นเสียงหยุด (glottal stop) เมื่อไม่มีตัวท้ายหลังสระสั้น
สระ
แก้สระในภาษาไทยถิ่นใต้มีความคล้ายกับภาษาไทยถิ่นกลาง โดยเป็นไปตามตารางนี้
หน้า | หลัง | |||||
---|---|---|---|---|---|---|
ปากเหยียด | ปากห่อ | |||||
สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | สั้น | ยาว | |
สูง | /i/ -ิ |
/iː/ -ี |
/ɯ/ -ึ |
/ɯː/ -ือ, -ื- |
/u/ -ุ |
/uː/ -ู |
กลาง | /e/ เ-ะ |
/eː/ เ- |
/ɤ/ เ-อะ |
/ɤː/ เ-อ |
/o/ โ-ะ |
/oː/ โ- |
ต่ำ | /ɛ/ แ-ะ |
/ɛː/ แ- |
/a/ -ะ, -ั- |
/aː/ -า |
/ɔ/ เ-าะ |
/ɔː/ -อ |
สระมักมาเป็นคู่ยาว-สั้น โดยแบ่งไปตามนี้:
ยาว | สั้น | ||
---|---|---|---|
ไทย | IPA | ไทย | IPA |
–า | /aː/ | –ะ | /a/ |
–ี | /iː/ | –ิ | /i/ |
–ู | /uː/ | –ุ | /u/ |
เ– | /eː/ | เ–ะ | /e/ |
แ– | /ɛː/ | แ–ะ | /ɛ/ |
–ือ | /ɯː/ | –ึ | /ɯ/ |
เ–อ | /ɤː/ | เ–อะ | /ɤ/ |
โ– | /oː/ | โ–ะ | /o/ |
–อ | /ɔː/ | เ–าะ | /ɔ/ |
สระพื้นฐานสามารถรวมกันเป็นสระประสมสองเสียงที่ใช้ในการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ สระที่มีสัญลักษณ์ดอกจันในบางครั้งอาจถือเป็นสระยาว:
ยาว | สั้น | ||
---|---|---|---|
อักษรไทย | IPA | อักษรไทย | IPA |
–าย | /aːj/ | ไ–*, ใ–*, ไ–ย, -ัย | /aj/ |
–าว | /aːw/ | เ–า* | /aw/ |
เ–ีย | /iːə/ | เ–ียะ | /iə/ |
– | – | –ิว | /iw/ |
–ัว | /uːə/ | –ัวะ | /uə/ |
–ูย | /uːj/ | –ุย | /uj/ |
เ–ว | /eːw/ | เ–็ว | /ew/ |
แ–ว | /ɛːw/ | – | – |
เ–ือ | /ɯːə/ | เ–ือะ | /ɯə/ |
เ–ย | /ɤːj/ | – | – |
–อย | /ɔːj/ | – | – |
โ–ย | /oːj/ | – | – |
นอกจากนี้ ยังมีสระประสมสามเสียง 3 แบบที่ใช้ในการกำหนดเสียงวรรณยุกต์ สระที่มีสัญลักษณ์ดอกจันในบางครั้งอาจถือเป็นสระยาว:
อักษรไทย | IPA |
---|---|
เ–ียว* | /iəw/ |
–วย* | /uəj/ |
เ–ือย* | /ɯəj/ |
สำเนียง
แก้ภาษาไทยถิ่นใต้มีภาษาย่อยแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่นต่าง ๆ บางแห่งมีการใช้คำศัพท์หรือมีการออกเสียงแตกต่างกันออกไป
รัชฎาภรณ์ ผลยะฤทธิ์ (2561)
แก้Phonyarit (2018)[7] แบ่งสำเนียงหลักของภาษาไทยถิ่นใต้ออกเป็น 9 สำเนียง โดยอิงจากการแยกเสียงวรรณยุกต์และการควบรวมประโยค ได้ดังนี้
- ตะวันออก
- สำเนียงนครศรีธรรมราช (มาตรฐาน) มีผู้พูดบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราชตอนบนและจังหวัดสุราษฎร์ธานีตะวันออก
- สำเนียงทุ่งสง มีผู้พูดในจังหวัดนครศรีธรรมราชตอนล่างและจังหวัดโดยรอบ เช่น จังหวัดพัทลุง
- สำเนียงสงขลา มีผู้พูดในจังหวัดสงขลาและจังหวัดโดยรอบ ยกเว้นในอำเภอหาดใหญ่ที่พูดสำเนียงกรุงเทพที่มีคำยืมภาษาไทยถิ่นใต้
- สำเนียงไทรบุรี มีผู้พูดในไทรบุรี (รัฐเกอดะฮ์) รัฐปะลิส และจังหวัดสตูล
- ตะวันตก
- สำเนียงไชยา มีผู้พูดในจังหวัดสุราษฎร์ธานีส่วนใหญ่และจังหวัดระนอง จัดให้เป็นภาษาย่อยของกลุ่มชนเปอรานากัน ยกเว้นในอำเภอบ้านดอนที่พูดสำเนียงกรุงเทพที่มีคำยืมภาษาไทยถิ่นใต้
- สำเนียงชุมพร มีผู้พูดในจังหวัดชุมพรและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ตอนใต้
- สำเนียงภูเก็ต พูดโดยกลุ่มชนเปอรานากันในจังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ จังหวัดตรัง และจังหวัดพังงา
- สำเนียงสมุย มีผู้พูดในอำเภอเกาะสมุยและอำเภอเกาะพงัน
- สำเนียงตากใบ พูดโดยชนกลุ่มน้อยสยามในจังหวัดปัตตานีและนราธิวาส
ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559)
แก้ส่วนตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559) แบ่งภาษาไทยถิ่นใต้ออกเป็นสามสำเนียงใหญ่ ได้แก่
- ภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มตะวันออก เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีผู้ใช้หนาแน่นในบริเวณทางตะวันออกของคาบสมุทร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, พัทลุง, สงขลา เรื่อยไปจนถึงรัฐเกอดะฮ์ และปะลิสของประเทศมาเลเซีย
- ภาษาไทยถิ่นใต้กลุ่มตะวันตก เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีผู้ใช้หนาแน่นในบริเวณทางตะวันตกของคาบสมุทร ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช, ชุมพร, พังงา, ภูเก็ต, กระบี่, ตรัง และเขตตะนาวศรีของประเทศพม่า
- ภาษาไทยถิ่นใต้ตอนล่าง เป็นภาษาไทยถิ่นใต้ที่มีผู้ใช้หนาแน่นในบริเวณสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดปัตตานี, ยะลา และนราธิวาส โดยสำเนียงปัตตานีและยะลามีความเชื่อมโยงกันมาก และใกล้ชิดกับสำเนียงนราธิวาสเป็นลำดับถัดมา[8] มีการยืมคำมลายูค่อนข้างหนาแน่น เพราะตั้งชุมชนอยู่ท่ามกลางชาวไทยเชื้อสายมลายูซึ่งเป็นชนกลุ่มใหญ่ โดยเฉพาะในอำเภอทุ่งยางแดง อำเภอสายบุรี อำเภอปะนาเระและอำเภอตากใบ[9]
คำยืม
แก้ภาษาไทยถิ่นใต้มีความสัมพันธ์กับชาวต่างชาติอย่างหลากหลาย จนเกิดการยืมคำมาใช้ ทั้งนี้พบว่าภาษาไทยถิ่นใต้มีการยืมคำจากภาษาเขมรมากที่สุดถึง 1,320 คำ บางส่วนเป็นคำยืมที่พบได้เพียงแต่ในภาษาไทยถิ่นใต้เท่านั้น ไม่พบในภาษาไทยกลาง เข้าใจว่าคงยืมผ่านภาษาเขมรโบราณโดยตรง[9] ศาสตราจารย์ ยอร์ช เซเดส์ พบว่าสำเนาพระราชกฤษฎีกาสมัยสมเด็จพระเพทราชาเรื่องกัลปนาวัดในแขวงเมืองพัทลุงล้วนใช้ภาษาและอักษรเขมรเก่า สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่า อาจมาจากการกวาดต้อนเชลยเขมรเข้าสู่หัวเมืองภาคใต้[10][11] นอกจากนี้ยังมีคำยืมภาษาจีนโดยเฉพาะภาษาฮกเกี้ยนหนาแน่นในสำเนียงภูเก็ต (1,239 คำ) และภาษาจีนอื่น ๆ ในสำเนียงสงขลา (396 คำ) และคำยืมภาษามลายูหนาแน่นในสำเนียงปัตตานี ยะลา นราธิวาส (400 คำ) และสตูล (375 คำ) แต่อย่างไรก็ตามคำยืมเหล่านี้มีผู้ใช้น้อยลง และแทนที่ด้วยภาษาไทยมาตรฐาน[9]
ระบบการเขียน
แก้ในอดีตภาษาไทยถิ่นใต้จะใช้อักษรขอมไทยในการจดจารตำรับตำราสำคัญทางศาสนา นับถือว่าหนังสือและอักษรเป็นของศักดิ์สิทธิ์ ถ้าใครเหยียบหรือข้ามหนังสือจะทำให้วิชาความรู้เสื่อมถอย[12] อักษรขอมนี้พัฒนามาจากอักษรหลังปัลลาวะเริ่มใช้เขียนหลัง พ.ศ. 1726 เป็นต้นมา พบหลักฐานที่ฐานพระพุทธรูปวัดหัวเวียง จังหวัดสุราษฎร์ธานี จนกระทั่ง พ.ศ. 1773 อักษรขอมนี้มีพัฒนาการในรูปแบบท้องถิ่นภาคใต้โดยเฉพาะ แต่ระยะหลังมีการรับอักษรขอมไทยอย่างภาคกลางมากขึ้นในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์[13]
ส่วนอักษรไทยอยุธยา ปรากฏครั้งแรกในศิลาจารึกวัดแวง จังหวัดสุราษฎร์ธานี แต่มีอักขรวิธีอย่างคนเมืองเหนือ ในช่วงหลังมีการบันทึกวรรณกรรมเป็นอักษรไทยลงสมุดไทยและใบลานตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ต่อมา พ.ศ. 2357 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการใช้อักษรไทยอยุธยาเขียนตามสำเนียงใต้โดยไม่คำนึงถึงรูปแบบที่ถูกต้อง หรือมีอักขรวิธีตามความพอใจของผู้เขียนเอง[13] ครั้นเมื่อมีการพัฒนาด้านการศึกษาในประเทศไทย ภาษาไทยถิ่นใต้จึงพัฒนามาเขียนด้วยอักษรไทยอย่างกรุงเทพมหานครจนถึงปัจจุบัน[13]
ภาษาทองแดง
แก้ภาษาทองแดง ใน พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช 2525 ให้ความหมายไว้ว่า "การพูดภาษากลางปนภาษาใต้หรือพูดเพี้ยน" ซึ่งเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ใช้ภาษาไทยผิดเพี้ยนไปจากมาตรฐานกำหนด ไม่ได้จำกัดว่าเป็นคนภาคใดหรือจังหวัดใด ๆ[14] อย่างเช่น เมื่อผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นใต้เป็นภาษาแม่ไปพูดภาษาไทยมาตรฐาน ก็ย่อมจะนำลักษณะบางประการของภาษาถิ่นของตนปะปนเข้ากับภาษาไทยมาตรฐานจนผิดเพี้ยน เรียกว่า "ทองแดง"[14] และชาวไทยเชื้อสายมลายูในสามจังหวัดชายแดนใต้ที่พูดภาษาไทยมาตรฐานไม่ชัด เพราะติดสำเนียงมลายู ก็จะถูกเรียกว่า "ทองแดง" เช่นกัน[15]
แต่เดิมชาวไทยในแถบภาคใต้จะไม่นิยมใช้ภาษาไทยมาตรฐาน เพราะเป็นภาษาของเจ้านายหรือราชสำนัก เมื่อมีชนชั้นนำหรือเจ้านายพูดภาษาไทยมาตรฐาน ชาวบ้านจึงต้องออกเสียงให้ตรงกับภาษาของนาย เรียกว่า "แหลงข้าหลวง" ซึ่งเป็นความพยายามอย่างหนึ่งของคนใต้ ที่ต้องการให้ส่วนกลางเข้าใจเนื้อหาคำพูดของตน แม้จะออกเสียงผิดเพี้ยนไปบ้าง[16] และหากชาวใต้คนใดพูดภาษาไทยกลางหรือ "แหลงบางกอก" ก็จะถูกคนใต้ด้วยกันมองด้วยเชิงตำหนิว่า "ลืมถิ่น" หรือ "ดัดจริต" เพราะแม้จะพูดภาษาไทยมาตรฐานแต่ยังคงติดสำเนียงใต้อยู่ จึงถูกล้อเลียนว่า "พูดทองแดง"[12][14] เพราะมีการออกเสียงพยัญชนะและสระต่างกัน มีการตัดคำหน้าของสระเสียงสั้นออกไป เพื่อความสะดวกในการออกเสียง เช่น "เงาะ" เป็น "เฮาะ", "ลอยกระทง" เป็น "ลอยกระตง", "สังขยา" เป็น "สังหยา" นอกจากนี้ยังมีการใช้คำต่างจากภาษาไทยมาตรฐาน แต่มีความหมายเดียวกัน เช่น "ปวดท้อง" ว่า "เจ็บพุง", "ปวดหัว" ว่า "เจ็บเบ็ดหัว", "ชักช้า" ว่า "ลำลาบ"[16]
ปัจจุบันภาษาไทยมาตรฐานมีอิทธิพลเหนือภาษาไทยถิ่นใต้มาขึ้นตามลำดับ โดยเฉพาะจากการศึกษาในระบบ และผ่านการสื่อสารมวลชน ทำให้ภาษาไทยถิ่นใต้เกิดความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นทุกขณะ[17]
อ้างอิง
แก้- ↑ ดาริกา ธนะศักดิ์ศิริ (2555). รักษ์วัฒนธรรมกลุ่มชาติพันธุ์ (PDF). ปทุมธานี: พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กาญจนาภิเษก. p. 12.
- ↑ ภาษาไทยถิ่นใต้ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ International Convention on the Elimination of All Forms of Racial Discrimination; landforms a growing larger by the second Reports submitted by States parties under article 9 of the Convention: Thailand (PDF) (ภาษาอังกฤษ และ ไทย). United Nations Committee on the Elimination of Racial Discrimination. 28 กรกฎาคม 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 9 ตุลาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 8 ตุลาคม 2016.
- ↑ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (2016). ภาษา : มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ (PDF). กรุงเทพฯ: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์. p. 62. ISBN 978-616-543-381-5. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 16 เมษายน 2022. สืบค้นเมื่อ 25 กันยายน 2021.
- ↑ ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559). "ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้". วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 13 (1), หน้า 9. ISSN 2697-5971.
- ↑ Diller, Anthony (1979). Nguyen, Dang Liem (บ.ก.). "How Many Tones For Southern Thai?" (PDF). South-east Asian Linguistic Studies. Pacific Linguistics, the Australian National University. 4: 122. ISBN 0-85883-201-1.
- ↑ Phonyarit, Ratchadaporn (2018). Tonal Geography of the Southern Thai Dialects. Paper presented at the 28th Annual Meeting of the Southeast Asian Linguistics Society, held May 17–19, 2018 in Kaohsiung, Taiwan.
- ↑ ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559). "ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้". วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 13 (1), หน้า 18. ISSN 2697-5971.
- ↑ 9.0 9.1 9.2 ตามใจ อวิรุทธิโยธิน (2559). "ภาพรวมการศึกษาภาษาไทยถิ่นใต้". วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี. 13 (1), หน้า 21. ISSN 2697-5971.
- ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "สาส์นสมเด็จ (15 มิถุนายน พ.ศ. 2478 ดร)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยา. "สาส์นสมเด็จ (18 มิถุนายน พ.ศ. 2478 น)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 18 เมษายน 2565.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ 12.0 12.1 เฉลิมชัย ส่งศรี (ตุลาคม 2541–มีนาคม 2542). "ภาษาไทยถิ่นใต้ในบริบททางวัฒนธรรม[ลิงก์เสีย]". วารสารปาริชาด. มหาวิทยาลัยทักษิณ. 11 (2). หน้า 48. ISSN 0857-0884.
- ↑ 13.0 13.1 13.2 ชะเอม แก้วคล้าย (17 ตุลาคม 2018). "พัฒนาการอักษรที่ใช้บันทึกวรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้". สถาบันไทยศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2021.
- ↑ 14.0 14.1 14.2 ปรีชา ทิชินพงศ์ (เมษายน–กันยายน 2006). "ลักษณะทางภาษาทองแดงของชาวไทยภาคใต้" (PDF). วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยทักษิณ. 1 (1). ISSN 1905-3959. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2021.[ลิงก์เสีย]
- ↑ นิยามาล อาแย (2009). ตัวตนคนมลายูมุสลิมในเขตเมืองยะลา (PDF) (M.A.). สาขาวิชาพัฒนามนุษย์และสังคม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. p. 124.
- ↑ 16.0 16.1 ประพนธ์ เรืองณรงค์ (2007). เล่าเรื่องเมืองใต้: ภาษา วรรณกรรม ความเชื่อ. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์. p. 8. ISBN 978-974-9967-82-9.
- ↑ ประพนธ์ เรืองณรงค์ (2007). เล่าเรื่องเมืองใต้: ภาษา วรรณกรรม ความเชื่อ. p. 9.
บรรณานุกรม
แก้- Bradley, David. (1992). "Southwestern Dai as a lingua franca." Atlas of Languages of Intercultural Communication in the Pacific, Asia, and the Americas. Vol. II.I:13, pp. 780–781. ISBN 978-3-11-013417-9
- Levinson, David. Ethnic Groups Worldwide: A Ready Reference Handbook. Greenwood Publishing Group. ISBN 1-573-56019-7.
- Miyaoka, Osahito. (2007). The Vanishing Languages of the Pacific Rim. Oxford University Press. ISBN 0-19-926662-X.
- Taher, Mohamed. (1998). Encylopaedic Survey of Islamic Culture. Anmol Publications Pvt. Ltd. ISBN 81-261-0403-1.
- Yegar, Moshe. Between Integration and Secession: The Muslim Communities of the Southern Philippines, Southern Thailand, and Western Burma/Myanmar. Lexington Books. ISBN 0-7391-0356-3.
- Diller, A. Van Nostrand. (1976). Toward a Model of Southern Thai Diglossic Speech Variation. Cornell University Publishers. OCLC 3956175.
- Li, Fang Kuei. (1977). A Handbook of Comparative Tai. University of Hawaii Press. ISBN 0-8248-0540-2.
- พจนานุกรมภาษาถิ่นใต้ พุทธศักราช 2550 พิมพ์ครั้งที่ 5. สงขลา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, มูลนิธิร่วมพัฒนาภาคใต้ และสถาบันทักษิณคดีศึกษา, 2551. OCLC 538022818.