ภาษาอูรักลาโวยจ
ภาษาอูรักลาโวยจ หรือ ภาษาอูรักลาโว้ย เป็นภาษามลายูพื้นเมืองดั้งเดิมภาษาหนึ่งที่ใช้กันในภาคใต้ของประเทศไทย มีผู้พูดราว 5,000 คน (พ.ศ. 2555) โดยเฉพาะในเกาะภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต และเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ นอกจากนี้ยังมีผู้พูดในท้องที่อื่นทางภาคใต้ฝั่งตะวันตกอย่างเกาะอาดัง จังหวัดสตูล เป็นต้น[2] ไม่พบในประเทศมาเลเซีย
ภาษาอูรักลาโวยจ | |
---|---|
ออกเสียง | [ʔuˈrʌk̚ laˈwojʔ] |
ประเทศที่มีการพูด | ไทย |
ภูมิภาค | จังหวัดภูเก็ต, จังหวัดกระบี่, จังหวัดสตูล |
ชาติพันธุ์ | อูรักลาโวยจ |
จำนวนผู้พูด | 5,000 คน (2555)[1] |
ตระกูลภาษา | ออสโตรนีเซียน
|
ระบบการเขียน | มาตรฐานกำหนดให้ใช้อักษรไทย |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาชนกลุ่มน้อยที่รับรองใน | ไทย |
ผู้วางระเบียบ | สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล |
รหัสภาษา | |
ISO 639-3 | urk |
ภาษาอูรักลาโวยจจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน กลุ่มภาษามาลาโย-โพลีเนเซีย สาขามาเลย์อิก ผู้พูดภาษานี้เป็นภาษาแม่คือชาวอูรักลาโวยจซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มหนึ่งในประเทศไทย พวกเขานับถือความเชื่อดั้งเดิม ศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และศาสนาอิสลาม
สัทวิทยา
แก้พยัญชนะ
แก้ลักษณะการออกเสียง | ตำแหน่งเกิดเสียง | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ริมฝีปาก | ปุ่มเหงือก | เพดานแข็ง | เพดานอ่อน | เส้นเสียง | ||||
เสียงนาสิก | m | n | ɲ | ŋ | ||||
เสียงหยุด | ก้อง | b | d | ɟ | ɡ | |||
ไม่ก้อง | ไม่พ่นลม | p | t | c | k | ʔ | ||
พ่นลม | (pʰ) | (tʰ) | (cʰ) | (kʰ) | ||||
เสียงเสียดแทรก | (f) | s | h | |||||
เสียงลิ้นกระทบ | r | |||||||
เสียงข้างลิ้น | l | |||||||
เสียงกึ่งสระ | w | j |
- หน่วยเสียงในวงเล็บเป็นหน่วยเสียงที่พบในคำยืมจากภาษาอื่นเป็นส่วนใหญ่
- หน่วยเสียงพยัญชนะต้นควบในภาษาอูรักลาโวยจถิ่นบ้านสังกาอู้มี 15 หน่วยเสียง ได้แก่ /mr/, /br/, /bl/, /pr/, /pl/, /pʰl/, /tr/, /tl/, /ɟr/, /cr/, /kr/, /kl/, /sr/, /hl/ และ /hj/
- แหล่งข้อมูลต่าง ๆ วิเคราะห์สถานะทางสัทวิทยาของ [jʔ] และ [jh] (ซึ่งปรากฏท้ายพยางค์) แตกต่างกันไป บางแหล่งจัดให้ [jʔ] เป็นหน่วยเสียงย่อยของหน่วยเสียง /c/ และจัดให้ [jh] เป็นหน่วยเสียงย่อยของหน่วยเสียง /s/ ในขณะที่บางแหล่งจัดให้ [jʔ] เป็นหน่วยเสียงย่อยของหน่วยเสียง /c/ เท่านั้น และบางแหล่งไม่เห็นด้วยกับการจัดเช่นนี้ทั้งหมด
- หน่วยเสียง /r/ ในภาษาอูรักลาโวยจถิ่นบ้านสังกาอู้มีเสียงแปร 2 เสียง ได้แก่ เสียงลิ้นกระทบ ปุ่มเหงือก ก้อง [ɾ] และเสียงที่มีลักษณะใกล้เคียงกับเสียงเสียดแทรก เพดานอ่อน ก้อง [ɣ]
- หน่วยเสียง /l/ ในภาษาอูรักลาโวยจถิ่นบ้านสังกาอู้ปรากฏในตำแหน่งต้นพยางค์เท่านั้น แต่ในภาษาอูรักลาโวยจถิ่นภูเก็ตปรากฏทั้งในตำแหน่งต้นพยางค์และท้ายพยางค์
สระ
แก้สระเดี่ยว
แก้ระดับลิ้น | ตำแหน่งลิ้น | ||
---|---|---|---|
หน้า | กลาง | หลัง | |
สูง | i | u | |
กลาง | e | ə | o |
ต่ำ | ɛ | a | ɔ |
ความสั้นยาวของเสียงสระไม่ทำให้ความหมายของคำเปลี่ยนแปลง แต่เสียงสระในพยางค์เปิดมักยาวกว่าเสียงสระในพยางค์ปิด และในขณะเดียวกัน เสียงสระที่มีพยัญชนะนาสิกเป็นพยัญชนะท้ายมักยาวกว่าเสียงสระที่มีพยัญชนะหยุดเป็นพยัญชนะท้าย[5]
สระประสม
แก้หน่วยเสียงสระประสมภาษาอูรักลาโวยจถิ่นบ้านสังกาอู้มี 2 หน่วยเสียง ได้แก่ /ia/ และ /ua/[4]
ลักษณ์เหนือหน่วยแยกส่วน
แก้ภาษาอูรักลาโวยจไม่มีวรรณยุกต์ แต่มีการเน้นพยางค์ (stress) และการใช้ทำนองเสียง (intonation) ทำให้ฟังแล้วคล้ายกับมีวรรณยุกต์ ตัวอย่างเช่น คำที่มี 2–3 พยางค์ จะเน้นที่พยางค์สุดท้าย, คำสุดท้ายของประโยคคำถาม จะมีทำนองเสียงสูงขึ้น, คำสุดท้ายของประโยคปฏิเสธ จะมีทำนองเสียงลงต่ำกว่าปกติ เป็นต้น แม้ว่าการเปลี่ยนทำนองเสียงในประโยคสามารถทำให้ความหมายของประโยคนั้นเปลี่ยนแปลงไปได้[6] แต่การออกเสียงเน้นที่พยางค์ใดก็ตามของคำไม่ทำให้ความหมายของคำนั้นเปลี่ยนแปลง[5]
ระบบการเขียน
แก้เดิมทีภาษาอูรักลาโวยจไม่มีตัวเขียน นับวันจะยิ่งสูญหาย จึงเกิดโครงการ "แนวทางในการศึกษาศักยภาพของชุมชนเพื่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูภาษา วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีส่วนร่วมของชาวอูรักลาโวยจ บ้านสังกาอู้ ต.เกาะลันตาใหญ่ อ.เกาะลันตา จ.กระบี่" ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น และศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล และได้จัดทำมาตรฐานการเขียนภาษาอูรักลาโวยจด้วยอักษรไทยขึ้นตามระบบเสียงภาษาอูรักลาโวยจที่พูดกันอยู่ในหมู่ที่ 7 บ้านสังกาอู้ ตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นหลัก
ตัวเขียนภาษาอูรักลาโวยจอักษรไทยตามที่คณะกรรมการพัฒนาระบบเขียนและจัดทำคู่มือภาษาชาติพันธุ์ด้วยอักษรไทย ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต มหาวิทยาลัยมหิดล ได้กำหนดไว้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
|
|
อ้างอิง
แก้- ↑ ภาษาอูรักลาโวยจ ที่ Ethnologue (18th ed., 2015) (ต้องสมัครสมาชิก)
- ↑ http://school.obec.go.th/adang/urak%20lawoi.html
- ↑ ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาอูรักลาโวยจอักษรไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้า 12–13.
- ↑ 4.0 4.1 ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาอูรักลาโวยจอักษรไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้า 16–17.
- ↑ 5.0 5.1 ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาอูรักลาโวยจอักษรไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้า 16–17.
- ↑ ศูนย์ศึกษาและฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต. (2563). คู่มือระบบเขียนภาษาอูรักลาโวยจอักษรไทย ฉบับมหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้า 18.
- Gordon, Raymond G., Jr. (ed.), 2005. Ethnologue: Languages of the World, Fifteenth edition. Dallas, Tex.: SIL International. Online version: http://www.ethnologue.com/.