อำเภอเกาะลันตา
เกาะลันตา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกระบี่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในระดับโลก โดยเฉพาะในประเทศแถบยุโรปและสแกนดิเนเวีย เนื่องจากนักท่องเที่ยวชาวยุโรปนิยมมาท่องเที่ยวและพักผ่อนยังเกาะลันตา ทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของเกาะลันตามีอัตราการเจริญเติบโตสูงอันดับต้นของประเทศและของภูมิภาค
อำเภอเกาะลันตา | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ko Lanta |
คำขวัญ: น้ำใส ป่าไม้สวย รวยเกาะ เหมาะทิวทัศน์ สัตว์น้ำอุดม ชมปะการัง ฝั่งลันตา | |
แผนที่จังหวัดกระบี่ เน้นอำเภอเกาะลันตา | |
พิกัด: 7°39′20″N 99°2′31″E / 7.65556°N 99.04194°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กระบี่ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 339.9 ตร.กม. (131.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 35,253 คน |
• ความหนาแน่น | 106.18 คน/ตร.กม. (275.0 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 81120 (เฉพาะตำบลเกาะกลางและตำบลคลองยาง), 81150 (เฉพาะตำบลเกาะลันตาน้อย ตำบลเกาะลันตาใหญ่ และตำบลศาลาด่าน) |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8103 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอเกาะลันตา เลขที่ 147 หมู่ที่ 1 ตำบลเกาะลันตาน้อย อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ 81120 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
นอกจากโรงแรมและรีสอร์ตระดับ 5 ดาว ที่มีอยู่ยังไม่สามารถรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากนั้นยังได้มีการลงทุนในที่อยู่อาศัยระดับหรูมูลค่าสูง ประเภทวิลล่า และบ้านพักตากอากาศในพื้นที่เกาะลันตาเป็นจำนวนมาก และในอนาคตอันใกล้คาดว่าจะมีโครงการพัฒนาพื้นที่เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวระดับ High Class ซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวกลุ่มหลักที่จะเดินทางมาเที่ยวยังเกาะลันตา เนื่องจากมีโครงสร้างและสิ่งอำนวยความสะดวกที่พร้อมในทุกด้านเช่น สนามบินนานาชาติ ท่าเรือยอชต์ และโครงการยอชต์มาริน่าซึ่งจะเกิดขึ้น และเป็นที่น่ายินดีที่เกาะลันตาได้มีโอกาสต้อนรับบุคคลที่มีชื่อเสียงจากทั่วโลก ที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวและพักผ่อนยังเกาะลันตา เช่น แองเจลินา โจลี และแบรด พิตต์ ดาราฮอลลีวูดระดับโลกที่เคยมาท่องเที่ยวพักผ่อน ในปี พ.ศ. 2555 นิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับเกาะลันตาใหญ่ให้เป็น 1 ใน 6 เกาะที่น่าเดินทางมาพักผ่อนและท่องเที่ยวที่สุดในโลก[1]
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอเกาะลันตามีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอเหนือคลองและอำเภอคลองท่อม
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับช่องแคบมะละกา
- ทิศใต้ ติดต่อกับช่องแคบมะละกา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับช่องแคบมะละกา
ประวัติ
แก้เกาะลันตาเดิมเป็นแขวงขึ้นกับอำเภอคลองท่อม เมืองปกาสัย (กระบี่) ภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียก ลุนตั๊ดซู และภาษาอูรักลาโว้ยเรียกว่า ปูเลาส่าตั๊ก[2] ประมาณ 100 ปีที่ผ่านมา ชุมชนเมืองเก่าศรีรายากลายเป็นชุมชนที่รุ่งเรืองมาก ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมทางทะเลเลียบฝั่งอันดามัน มีการเดินเรือโดยสารและเรือสินค้าผ่านไปมาระหว่างเมืองระนอง เมืองตะกั่วป่า เมืองภูเก็ต เมืองพังงา เมืองกระบี่ เมืองตรัง และเมืองสตูล อีกทั้งยังเป็นเมืองท่าหน้าด่านเล็กๆ สำหรับเก็บภาษีทางน้ำ และค้าขายแลกเปลี่ยนสินค้าทางทะเลที่ติดต่อเชื่อมโยงกับต่างประเทศ เช่น ปีนัง สิงคโปร์และพม่า ฯลฯ เป็นจุดแวะพักหลบภัยทางการเมือง และหลบลมมรสุมของเรือสำเภาจีน สำเภาแขก และเรือประมง ฯลฯ นอกจากนั้น ทะเลหมู่เกาะลันตายังเป็นแหล่งประมงที่อุดมสมบูรณ์ ในยุคนั้นอาชีพทำโป๊ะจับปลา ทำสวนมะพร้าว เตาถ่าน เฟื่องฟูมาก ปลาเค็ม กะปิ น้ำมันยาง และถ่านไม้โกงกางกลายเป็นสินค้าส่งออกไปขายต่างถิ่น จากการที่เกาะลันตาเป็นชุมชนที่เริ่มมีความสำคัญทางการค้าดังกล่าว จึงได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอเกาะลันตา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2444 และได้ก่อตั้งอาคารที่ว่าการอำเภอบริเวณชุมชนเมืองเก่าศรีรายาตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
ต่อมาเรืออวนลดน้อยลงเพราะปลาในทะเลเริ่มหายาก เรืออวนย้ายไปขึ้นฝั่งที่กันตัง ประกอบกับมีการตัดถนนเพชรเกษมสายกระบี่-ตรัง ผู้คนเริ่มใช้เส้นทางคมนาคมทางบกในการเดินทาง ทำให้เส้นทางทางทะเลลดบทบาทลง ความสำคัญในฐานะเมืองท่าและด่านเก็บภาษีทางน้ำก็หมดไปด้วย หน่วยงานสำคัญทางราชการ เช่นด่านศุลกากรก็หมดบทบาทหน้าที่ ต้องถูกยกเลิกไปโดยปริยาย ความรุ่งเรืองของเกาะลันตา ค่อย ๆ ซบเซาลง ผู้คนในท้องถิ่นหมดอาชีพพากันอพยพย้ายถิ่นพาครอบครัวไปอยู่ที่อื่น แต่ระยะนั้นยังมีเรือเมล์วิ่งระหว่างบ่อม่วง-ตลาดศรีรายา ชาวบ้านที่จะเดินทางจากเกาะลันตาน้อยและลันตาใหญ่ไปยังแผ่นดินใหญ่หรือต้องการเดินทางมาติดต่อราชการยังที่ว่าการอำเภอเกาะลันตาจะต้องใช้เส้นทางนี้ จนกระทั่งมีการสร้างสะพานคลองยาง และท่าเทียบเรือแพขนานยนต์ สามารถเดินทางไปเกาะลันตา โดยขับรถยนต์ลงเรือแพขนานยนต์ข้ามฝั่งจากแผ่นดินใหญ่ไปเกาะลันตาน้อย และจากเกาะลันตาน้อยไปเกาะลันตาใหญ่ เส้นทางคมนาคมระหว่างแผ่นดินใหญ่กับเกาะลันตาจึงเปลี่ยนแปลงไป หมดยุคเรือเมล์ เป็นเหตุให้ตลาดศรีรายาซบเซาไปจากเดิม กลายเป็นเมืองเก่าที่ร้างผู้คนไปชั่วระยะหนึ่ง ผู้คนรุ่นใหม่ที่มีฐานะทางการเงินดี จะอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ที่อื่น คงเหลือแต่ผู้สูงอายุและสภาพบ้านเรือนที่ยังคงรูปแบบดั้งเดิมมายาวนาน ต่อมา ในเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ. 2541 ทางราชการได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเกาะลันตาจากชุมชนศรีรายาไปตั้งที่บ้านหลังสอด ตำบลเกาะลันตาน้อย ชุมชนศรีรายาจึงยิ่งซบเซาลงไปอีก ประชากรมีจำนวนน้อยลง ขณะที่ตลาดศรีรายายังคงเอกลักษณ์ของความเป็นชุมชนเก่า และบรรยากาศแบบดั้งเดิมอยู่มาก
หลังจากนั้นประมาณปี พ.ศ. 2531 เป็นต้นมา จังหวัดกระบี่เริ่มเปลี่ยนเป็นเมืองท่องเที่ยวและค่อยๆขยายพื้นที่เข้ามาบนเกาะลันตา การเติบโตของชุมชนท่องเที่ยวอยู่อีกซีกหนึ่งของเกาะ คือบริเวณบ้านศาลาด่าน ส่วนที่ตลาดศรีรายามีนักท่องเที่ยวผ่านเข้าไปชมบรรยากาศ และใช้บริการร้านอาหารอยู่บ้าง จนกระทั่งปัจจุบันเริ่มมีผู้คนต่างถิ่นจากภายนอกเข้ามาเช่าบ้านเพื่ออยู่อาศัยและทำธุรกิจร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก ร้านบาร์เบียร์ เพื่อรองรับธุรกิจท่องเที่ยวอย่างเต็มรูปแบบ เกาะลันตากลับมาคึกคักอีกครั้งหนึ่งในฐานะเมืองท่องเที่ยว[3]
- วันที่ 5 กันยายน 2481 โอนพื้นที่หมู่ 4 บ้านคลองหวายเล็ก, หมู่ 7 บ้านคลองแรด และหมู่ 6 บ้านแหลมกรวด (ในขณะนั้น) ของตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเกาะลันตา ไปขึ้นกับตำบลคลองขนาน อำเภอเมืองกระบี่[4]
- วันที่ 15 ตุลาคม 2499 จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะลันตาใหญ่ ในท้องที่บางส่วนของตำบลเกาะลันตาใหญ่[5]
- วันที่ 6 ธันวาคม 2503 โอนพื้นที่ตำบลเกาะศรีบอยา อำเภอเกาะลันตา ไปขึ้นกับอำเภอเมืองกระบี่[6]
- วันที่ 27 กันยายน 2526 ตั้งตำบลศาลาด่าน แยกออกจากตำบลเกาะลันตาใหญ่[7]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเกาะลันตาใหญ่ เป็นเทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่[8] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 13 พฤษภาคม 2563 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาด่าน ขึ้นเป็น เทศบาลตำบลศาลาด่าน[9]
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอเกาะลันตาแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 ตำบล 36 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[10] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | เกาะลันตาใหญ่ | Ko Lanta Yai | 8
|
6,942
|
|
2. | เกาะลันตาน้อย | Ko Lanta Noi | 6
|
6,305
| |
3. | เกาะกลาง | Ko Klang | 10
|
8,610
| |
4. | คลองยาง | Khlong Yang | 7
|
6,314
| |
5. | ศาลาด่าน | Sala Dan | 5
|
7,082
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอเกาะลันตาประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเกาะลันตาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะลันตาใหญ่ เฉพาะบางส่วนของหมู่ที่ 1–2
- เทศบาลตำบลศาลาด่าน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศาลาด่านทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะลันตาใหญ่ เฉพาะหมู่ที่ 3–8 และบางส่วนของหมู่ที่ 1–2
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาน้อย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะลันตาน้อยทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเกาะกลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคลองยางทั้งตำบล
รายชื่อเกาะในอำเภอเกาะลันตา
แก้อำเภอเกาะลันตามีเกาะหลักคือเกาะลันตาใหญ่และเกาะลันตาน้อย ซึ่งเป็นเกาะขนาดใหญ่ที่สุดในจังหวัดกระบี่ มีเนื้อที่ประมาณ 78.27 ตารางกิโลเมตร และ 72.87 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ และเกาะเล็ก ๆ อีก 39 เกาะ ซึ่งอยู่ในความดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบต.เกาะกลาง, อบต.คลองยาง, อบต.เกาะลันตาน้อย, อบต.เกาะลันตาใหญ่ และทต.ศาลาด่าน) อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา และอุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี ทุกเกาะมีพื้นที่รวม 170.662 ตารางกิโลเมตร[11]
ที่ | ชื่อเกาะ | ตำบล | พื้นที่
(ตร.กม.)[12] |
หน่วยงานรับผิดชอบ[12] |
---|---|---|---|---|
1 | บาตู | เกาะกลาง | 0.028 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
2 | ปริง | เกาะกลาง | 0.031 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกลาง |
3 | งู | เกาะกลาง | 0.037 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
4 | ร่าปูพัง | เกาะกลาง | 0.079 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
5 | ไม้งาม | เกาะกลาง | 0.267 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
6 | ย่านัด | เกาะกลาง | 0.601 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะกลาง |
7 | ไม้งามใต้ | เกาะกลาง | 0.696 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
8 | ลาปูเล | เกาะกลาง | 1.193 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
9 | นกงั่ว | เกาะลันตาน้อย | 0.002 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
10 | หนุ่ย | เกาะลันตาน้อย | 0.003 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
11 | ผี | เกาะลันตาน้อย | 0.024 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
12 | แดง | เกาะลันตาน้อย | 0.027 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
13 | สน | เกาะลันตาน้อย | 0.079 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาน้อย |
14 | เปลว | เกาะลันตาน้อย | 0.130 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาน้อย |
15 | หนุ่ยนอก | เกาะลันตาน้อย | 0.134 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาน้อย |
16 | กำนุ้ย | เกาะลันตาน้อย | 0.203 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาน้อย |
17 | กำใหญ่ | เกาะลันตาน้อย | 0.769 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาน้อย |
18 | กลาง | เกาะลันตาน้อย | 0.820 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาน้อย |
19 | ตะละเบ็ง | เกาะลันตาน้อย | 2.260 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
20 | ลันตาน้อย | เกาะลันตาน้อย | 72.873 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
21 | หม้อ | เกาะลันตาใหญ่ | 0.004 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
22 | เหล็ก | เกาะลันตาใหญ่ | 0.013 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาน้อย |
23 | หนุ่ย | เกาะลันตาใหญ่ | 0.013 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
24 | ม้า | เกาะลันตาใหญ่ | 0.018 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
25 | หนุ่ยกลาง | เกาะลันตาใหญ่ | 0.021 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
26 | หินแดง | เกาะลันตาใหญ่ | 0.026 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
27 | ตุกนลิมา | เกาะลันตาใหญ่ | 0.082 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
28 | กลาง | เกาะลันตาใหญ่ | 0.236 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาใหญ่ |
29 | รอกใน | เกาะลันตาใหญ่ | 1.541 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
30 | ปอ | เกาะลันตาใหญ่ | 1.542 | องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะลันตาใหญ่ |
31 | รอกนอก | เกาะลันตาใหญ่ | 1.874 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
32 | ไหง | เกาะลันตาใหญ่ | 3.635 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
33 | ลันตาใหญ่ | เกาะลันตาใหญ่,ศาลาด่าน | 78.270 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
34 | เขาขวาก | คลองยาง | 0.005 | องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง |
35 | กา | คลองยาง | 0.212 | องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง |
36 | ลังสุด | คลองยาง | 0.354 | องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง |
37 | เขาขวาก | คลองยาง | 0.672 | องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง |
38 | ไม้งาม | คลองยาง | 0.761 | อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะลันตา |
39 | วันตีวะ | คลองยาง | 0.984 | องค์การบริหารส่วนตำบลคลองยาง |
40 | แร้ง | ศาลาด่าน | 0.012 | เทศบาลตำบลศาลาด่าน |
41 | หมา | ศาลาด่าน | 0.131 | อุทยานแห่งชาติหาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี |
อ้างอิง
แก้- ↑ World's Sexiest Islands จากนิตยสารฟอบส์
- ↑ ศิริวรรณ ศิลาพัชรนันท์, รองศาสตราจารย์ ดร. ศรีรายา : อัตลักษณ์ของชุมชนและมรดกทางวัฒนธรรม (PDF). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. p. 167. (2556)
- ↑ แหล่งศิลปกรรมอันควรอนุรักษ์ - ชุมชนเก่าศรีรายา ตำบลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ (ประเภทแหล่งศิลปกรรมฯ พิพิธภัณฑ์ สถาปัตยกรรม พระราชวัง)
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตอำเภอในจังหวัดกระบี่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 55 (0 ง): 1939–1940. September 5, 1938.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเกาะลันตาใหญ่ อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 73 (83 ง): (ฉบับพิเศษ) 1-2. October 15, 1956.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตอำเภอเกาะลันตา และอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ พ.ศ. ๒๕๐๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 77 (100 ก): 1025–1027. December 6, 1960.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอปลายพระยา อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (154 ง): 3500–3507. September 2, 1983.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-09-15.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลศาลาด่าน อำเภอเกาะลันตา จังหวัดกระบี่ เป็นเทศบาลตำบลศาลาด่าน" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 137 (ตอนพิเศษ 112 ง): 6–7. May 13, 2020.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.
- ↑ "ข้อมูลเกาะรายจังหวัด - เกาะในจังหวัดกระบี่ (ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง) กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง: 1. สืบค้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2566
- ↑ 12.0 12.1 "เกาะในประเทศไทย - ระบบฐานข้อมูลทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง". km.dmcr.go.th (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์)