ภาษาอุยกูร์
ภาษาอุยกูร์ (ئۇيغۇر تىلى, Уйғур тили, Uyghur tili, Uyƣur tili, สัทอักษรสากล: [ujɣur tili] หรือ ئۇيغۇرچە, Уйғурчә, Uyghurche, Uyƣurqə, สัทอักษรสากล: [ujɣurˈtʃɛ], CTA: Uyğurçä; อดีตรู้จักกันในชื่อ ตุรกีตะวันออก) เป็นภาษากลุ่มเตอร์กิกที่เขียนในอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ มีผู้พูด 25 ล้านคน[3] ส่วนใหญ่พูดโดยชาวอุยกูร์ในเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ของจีนตะวันตก และมีชุมชนสำคัญที่พูดภาษานี้ในประเทศคาซัคสถาน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถานกับหลายประเทศที่มีชาวอุยกูร์พลัดถิ่น ภาษอุยกูร์เป็นภาษาราชการของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ และมีการใช้งานทั้งในทางสังคมและทางการ เช่นเดียวกันกับสื่อสิ่งพิมพ์ โทรทัศน์ กับวิทยุ และใช้เป็นภาษากลางของชนกลุ่มน้อยในซินเจียง[4]
ภาษาอุยกูร์ | |
---|---|
ئۇيغۇر تىلى, Уйғур тили, Uyghur tili, Uyƣur tili, Uyğur tili | |
ศัพท์ "อุยกูร์" ในอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ | |
ออกเสียง | [ʊjʁʊrˈtʃɛ], [ʊjˈʁʊr tili] |
ประเทศที่มีการพูด | ประเทศจีน |
ชาติพันธุ์ | ชาวอุยกูร์ |
จำนวนผู้พูด | 25 ล้านคน [1] (2015) |
ตระกูลภาษา | เตอร์กิก
|
รูปแบบก่อนหน้า | |
ระบบการเขียน | ชุดตัวอักษรอุยกูร์ (อักษรเปอร์เซีย-อาหรับ (ทางการ), อักษรซีริลลิก, อักษรละติน, อักษรอุยกูร์ใหม่) |
สถานภาพทางการ | |
ภาษาทางการ | จีน[2] |
ผู้วางระเบียบ | คณะทำงานว่าด้วยภาษาและตัวเขียนกลุ่มชาติพันธุ์ ของเขตปกครองตนเองซินเจียงอุยกูร์ |
รหัสภาษา | |
ISO 639-1 | ug |
ISO 639-2 | uig |
ISO 639-3 | uig Uighur, Uyghur |
ขอบเขตทางภูมิศาสตร์ของภาษาอุยกูร์ในประเทศจีน (ซินเจียง) และบริเวณรอบนอก | |
ระบบการเขียนที่ดัดแปลงจากอักษรอหารับเป็นอักษรที่พบได้มากที่สุดและเป็นอักษรมาตรฐานอักษรเดียวในประเทศจีน[5] ถึงแม้ว่าจะมีการใช้ระบบการเขียนอื่นด้วยวัตถุประสงค์เสริมและประวัติศาสตร์ ชัดตัวอักษรอาหรับต้องเขียนสัญลักษณ์สระทั้งหมด เนื่องจากการปรับปรุงอักษรเปอร์เซีย-อาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และยังมีอักษรละตินสองแบบ กับอักษรซีริลลิกแบบเดียวให้ใช้งาน แม้ว่าจะมีผู้ใช้งานน้อยกว่าอักษรอาหรับก็ตาม
ไวยากรณ์
แก้การเรียงประโยคเป็นแบบ ประธาน-กรรม-กริยา ปรบท คำแสดงความเป็นเจ้าของ คำคุณศัพท์ คำบอกจำนวน มาก่อนคำนามที่ขยาย และคำแสดงคำถามอยู่ต้นประโยค มีคำอุปสรรคและปัจจัย การเรียงลำดับคำมีการแยกระหว่างประธานและกรรมรอง หัวข้อและความเห็น นามมี 8 การก แสดงด้วยปัจจัย ปัจจัยของคำกริยาแสดงประธาน บุคคล จำนวน รูปแบบของคำกริยามีรูปถูกกระทำ ผลสะท้อน ความสัมพันธ์ร่วมกัน และเป็นเหตุเป็นผล
คำศัพท์
แก้คำศัพท์พื้นฐานมาจากภาษากลุ่มเตอร์กิก มีคำยืมจากภาษาเปอร์เซียมากเช่นเดียวกับภาษาอุซเบก นอกจากนี้เป็นคำยืมจากภาษาจีนและภาษารัสเซีย
ระบบการเขียน
แก้ภาษาคาร์ลุกเริ่มเขียนด้วยอักษรเปอร์เซีย-อาหรับ (Kona Yëziq) ในคริสต์ศตวรรษที่ 10 เมื่อกลุ่มคาราข่านเข้ารับอิสลาม ต่อมา มีการปรับปรุงอักษรเปอร์เซีย-อาหรับในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ด้วยการใช้เครื่องหมายแสดงเสียงสระทุกเสียง และกำจัดอักษรอาหรับที่ไม่มีเสียงในภาษาอุยกูร์สมัยใหม่ ภาษานี้โดยหลักเขียนด้วยอักษรฐานเปอร์เซีย-อาหรับ ซึ่งต่างจากภาษากลุ่มเตอร์กิกสมัยใหม่หลายภาษา และยังมีอักษรซีริลลิกแบบเดียวและอักษรละตินสองแบบที่มีผู้ใช้งานน้อยกว่า
ชุดตัวอักษรสี่รูปแบบที่ใช้ในปัจจุบันสามารถสังเกตได้จากข้างล่างนี้.
- ชุดตัวอักษรอาหรับอุยกูร์ (Uyghur Arabic alphabet หรือ UEY)
- ชุดตัวอักษรซีริลลิกอุยกูร์ (Uyghur Cyrillic alphabet หรือ USY)
- อักษรใหม่อุยกูร์ (Uyghur New Script หรือ UYY)
- ชุดอักษรละตินอุยกูร์ (Uyghur Latin alphabet หรือ ULY)
ตารางอักษรข้างล่างแสดงชุดเปรียบเทียบอักษร พร้อมกับการถอดเสียงในสัทอักษรสากล
ลำดับ | สัทอักษรสากล | UEY | USY | UYY | ULY | ลำดับ | สัทอักษรสากล | UEY | USY | UYY | ULY | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1 | [ɑ] | ئا | А а | A a | 17 | [q] | ق | Қ қ | Ⱪ ⱪ | Q q | ||
2 | [ɛ] ~ [æ] | ئە | Ә ә | Ə ə | E e | 18 | [k] | ك | К к | K k | ||
3 | [b] | ب | Б б | B b | 19 | [ɡ] | گ | Г г | G g | |||
4 | [p] | پ | П п | P p | 20 | [ŋ] | ڭ | Ң ң | Ng ng | |||
5 | [t] | ت | Т т | T t | 21 | [l] | ل | Л л | L l | |||
6 | [dʒ] | ج | Җ җ | J j | 22 | [m] | م | М м | M m | |||
7 | [tʃ] | چ | Ч ч | Q q | Ch ch | 23 | [n] | ن | Н н | N n | ||
8 | [χ] | خ | Х х | H h | X x | 24 | [h] | ھ | Һ һ | Ⱨ ⱨ | H h | |
9 | [d] | د | Д д | D d | 25 | [o] | ئو | О о | O o | |||
10 | [r] | ر | Р р | R r | 26 | [u] | ئۇ | У у | U u | |||
11 | [z] | ز | З з | Z z | 27 | [ø] | ئۆ | Ө ө | Ɵ ɵ | Ö ö | ||
12 | [ʒ] | ژ | Ж ж | Ⱬ ⱬ | Zh zh | 28 | [y] | ئۈ | Ү ү | Ü ü | ||
13 | [s] | س | С с | S s | 29 | [v]~[w] | ۋ | В в | V v | W w | ||
14 | [ʃ] | ش | Ш ш | X x | Sh sh | 30 | [e] | ئې | Е е | E e | Ë ë (อดีต É é) | |
15 | [ʁ] | غ | Ғ ғ | Ƣ ƣ | Gh gh | 31 | [ɪ] ~ [i] | ئى | И и | I i | ||
16 | [f] | ف | Ф ф | F f | 32 | [j] | ي | Й й | Y y |
ตัวอย่างข้อความ
แก้ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างข้อความภาษาอุยกูร์[6]
K̡ona Yezik̡ | ھەممە ئادەم زاتىدىنلا ئەركىن، ئىززەت-ھۆرمەت ۋە ھوقۇقتا بابباراۋەر بولۇپ تۇغۇلغان. ئۇلار ئەقىلغە ۋە ۋىجدانغا ئىگە ھەمدە بىر-بىرىگە قېرىنداشلىق مۇناسىۋىتىگە خاس روھ بىلەن مۇئامىلە قىلىشى كېرەك |
---|---|
Yengi Yezik̡ | H̡əmmə adəm zatidinla ərkin, izzət-h̡ɵrmət wə hok̡uk̡ta babbarawər bolup tuƣulƣan. Ular ək̡ilƣə wə wijdanƣa igə h̡əmdə bir-birigə k̡erindaxlik̡ munasiwitigə hax roh bilən mu’amilə k̡ilixi kerək. |
อักษรซีริลลิก | Һәммә адәм затидинла әркин, иззәт-һөрмәт вә һоқуқта баббаравәр болуп туғулған. Улар әқилғә вә виджданға игә һәмдә бир-биригә қериндашлиқ мунасивитигә хаш рох билән му’амилә қилиши керәк. |
ULY | Hemme adem zatidinla erkin, izzet-hörmet we hoquqta babbarawer bolup tughulghan. Ular eqilghe we wijdan'gha ige hemde bir-birige qérindashliq munasiwitige xas roh bilen muamile qilishi kérek. |
อักษรละตินแบบตุรกี | Hemme adem zatidinla erkin, izzet-hörmet we xoquqta babbarawer bolup tuğulğan. Ular eqilğe we wicdanğa ige hemde bir-birige qérindaşliq munasiwitige xaş rox bilen mu’amile qilişi kérek. |
แปลเป็นไทย | มนุษย์ทุกคนเกิดมาอย่างมีอิสระและมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน เราทุกคนมีความคิดความเข้าใจเป็นของเราเอง เราทุกคนควรได้รับการปฏิบัติไปในทางเดียวกัน |
อ้างอิง
แก้- ↑ "Uyghur language, alphabets and pronunciation".
- ↑ "China". Ethnologue. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 December 2018. สืบค้นเมื่อ 3 June 2015.
- ↑ "Uyghur language, alphabets and pronunciation".
- ↑ Engesæth 2009, p. 7
- ↑ Hamut & Joniak-Lüthi 2015
- ↑ http://www.omniglot.com/writing/uyghur.htm
ทั่วไป
แก้- Abdurehim, Esmael (2014). The Lopnor Dialect of Uyghur: A Descriptive Analysis (วิทยานิพนธ์ Doctoral) (ภาษาอังกฤษ). University of Helsinki. hdl:10138/136392. ISBN 978-951-51-0384-0.
- Duval, Jean Rahman; Janbaz, Waris Abdukerim (2006). An Introduction to Latin-Script Uyghur (PDF). 2006 Middle East & Central Asia Politics, Economics, and Society Conference. Sept 7 – 9, University of Utah, Salt Lake City, USA (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2006-10-22.
- Dwyer, Arienne (2001). "Uyghur". ใน Garry, Jane; Rubino, Carl (บ.ก.). Facts About the World's Languages. H. W. Wilson. pp. 786–790. ISBN 978-0-8242-0970-4.
- Engesæth, Tarjei; Yakup, Mahire; Dwyer, Arienne (2009). Greetings from the Teklimakan: A Handbook of Modern Uyghur, Volume 1 (PDF). Lawrence: University of Kansas Scholarworks. ISBN 978-1-936153-03-9. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 April 2010.
- Hahn, Reinhard F. (1991). Spoken Uyghur. London: University of Washington Press. ISBN 978-0-295-98651-7.
- Hahn, Reinhard F. (1998). "Uyghur". ใน Johanson, Lars; Csató, Éva Ágnes (บ.ก.). The Turkic Languages. Routledge. pp. 379–396. ISBN 978-0-415-08200-6.
- Johanson, Lars (1998). "History of Turkic". ใน Johanson, Lars; Csató, Éva Ágnes (บ.ก.). The Turkic Languages. Routledge. pp. 81–125. ISBN 978-0-415-08200-6.
- Vaux, Bert (2001). "Disharmony and Derived Transparency in Uyghur Vowel Harmony" (PDF). Cambridge: Harvard University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 February 2006 – โดยทาง uwm.edu.
- Tömür, Hamüt (2003). Modern Uyghur Grammar (Morphology). แปลโดย Lee, Anne. İstanbul: Yıldız. ISBN 975-7981-20-6.
- Yakup, Abdurishid (2005). The Turfan Dialect of Uyghur. Wiesbaden: Harrassowitz Verlag. ISBN 3-447-05233-3.
อ่านเพิ่ม
แก้- Hamut, Bahargül; Joniak-Lüthi, Agnieszka (2015). "The Language Choices and Script Debates among the Uyghur in Xinjiang Uyghur Autonomous Region, China". Linguistik Online. 70: 111–124. CiteSeerX 10.1.1.692.7380.