ภาษาซะราอีกี ( سرائیکی Sarā'īkī) หรือภาษาเสไรกิ ภาษามันตานี ภาษาปัญจาบใต้ ในอดีตเรียกเป็น ภาษามุนตานี (อักษรชาห์มูขี: ملتانی, อักษรคุรมุขี: ਮੁਲਤਾਨੀ, อักษรเทวนาครี: मुल्तानी) เป็นภาษาที่ใช้พูดในจังหวัดสินธ์ และปัญจาบ ประเทศปากีสถาน มีผู้พูดราว 14 ล้านคน นอกจากนี้มีผู้พูดอีก 20,000 คนในอินเดียและอังกฤษ ที่มาของคำว่า “ซะราอีกี” ยังไม่แน่นอน อาจมาจากภาษาสินธี แปลว่า “เหนือ” หรือภาษาสันสกฤต แปลว่า “พระอาทิตย์”

ภาษาซะราอีกี
سرائیکی
ประเทศที่มีการพูดปากีสถาน
ภูมิภาคแคว้นปัญจาบและแคว้นสินธ์
ชาติพันธุ์ชาวซะราอีกี
จำนวนผู้พูด26 ล้านคน  (2017)[1]
ตระกูลภาษา
ระบบการเขียนเปอร์เซีย-อาหรับ (อักษรซะราอีกี)
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบไม่มีหน่วยงาน
รหัสภาษา
ISO 639-3skr
บริเวณที่มีผู้พูดภาษาซะราอีกีเป็นภาษาแม่ในแต่ละอำเภอของประเทศปากีสถานตามสำมะโน ค.ศ. 2017
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

การแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์และจำนวนผู้พูด

แก้

ปัจจุบันผู้พูดภาษาซะราอีกีส่วนใหญ่อยู่ในปากีสถาน ภาษานี้เป็นภาษากลางของผู้คนในบริเวณนั้นคือชาวบาโลช ชาวพาซตุน ชาวสินธ์และชาวปัญจาบ นอกจากนั้น ยังเป็นภาษาทางการค้าจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันมีประชาชนในบริเวณต่างๆของปัญจาบและเดรา อิสมาอิล ข่าน ใช้พูดเป็นภาษาแม่ เป็นภาษาที่ใช้พูดและเข้าใจอย่างกว้างขวางในฐานะภาษาที่สองทางเหนือและทางตะวันตกของสินธ์ไปจนถึงการาจี ที่ราบกัจฉิในบาลูชิสถาน ในอินเดีย รายงานใน พ.ศ. 2544 มีผู้พูดภาษาซะราอีกีในอินเดียราว 70,000 คน ซึ่งเป็นลูกหลานของผู้อพยพมาจากปัญจาบตะวันตกหลังจากการแบ่งแยกอินเดียใน พ.ศ. 2490 ในอัฟกานิสถานมีผู้พูดภาษาซะราอีกี สำเนียงกันดาฮารีในหมู่ชาวอัฟกานิสถานที่นับถือศาสนาฮินดู

ในปากีสถานรายงานไว้เมื่อ พ.ศ. 2524 ซึ่งมีผู้พูดภาษาซะราอีกีเป็นภาษาแม่ 9.38% ต่อมาใน พ.ศ. 2541 เพิ่มเป็น 10.53% ในอินเดียมีผู้พูดสำเนียงมูลตานี 56,096 คน พูดสำเนียงพหาวัลปุรีอีกราว 11,873 คน ที่เหลือพูดสำเนียงอื่นๆ

ชื่อของภาษา

แก้

คำว่าซะราอีกีเริ่มใช้ครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2503 โดยผู้นำทางการเมืองและสังคมที่พยายามจะสร้างกลุ่มชาติพันธุ์ซะราอีกีและสร้างมาตรฐานของภาษาเขียนขึ้นมา คำว่าซะราอีกีมาจากคำว่าเสาวีรา (سوویرا) ซึ่งเป็นชื่อรัฐเก่าในอินเดีย และเมื่อเติมปัจจัย –ki ให้คำว่าเสาวีรา ทำให้กลายเป็นเสาวีรากี และเกิดการลดเสียงเหลือเพียงซะราอีกี ส่วน George Abraham Grierson รายงานว่าซะราอีกีมาจากภาษาสินธี สิโรหมายถึงทางเหนือ ส่วนในมหาวิทยาลัยในปากีสถานที่เปิดสอนภาษานี้ จะใช้ชื่อภาษาว่าซะราอีกี

การจัดจำแนก

แก้

ภาษาซะราอีกี ภาษาสินธี และภาษาปัญจาบเป็นภาษาในกลุ่มภาษาอินโด-อารยันเช่นเดียวกัน ภาษาปัญจาบและภาษาซะราอีกีสามารถเข้าใจกันได้ดี มีความแตกต่างกันเฉพาะเสียงพยัญชนะ และโครงสร้างของกริยา

ระบบการเขียน

แก้

ภาษาซะราอีกีมีระบบการเขียน 3 แบบคือ อักษรเปอร์เซีย โดยมีอักษร 42 ตัว ยืมมาจากอักษรอูรดู 37 ตัว และพิเศษเฉพาะภาษาซะราอีกี 5 ตัว ผู้นับถือศาสนาฮินดูจะใช้อักษรคุรมุขีหรืออักษรเทวนาครี และมีการปริวรรตระหว่างภาษาซะราอีกีที่เขียนด้วยอักษรเปอร์เซียและเทวนาครี

อ้างอิง

แก้
  1. "Saraiki". Ethnologue.

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้