ฝุ่นควัน

(เปลี่ยนทางจาก ฟ้าหลัว)

ฝุ่นควัน หรือ ฟ้าหลัว หรือ เมฆหมอก หรือ หมอกแดด (อังกฤษ: haze) หมายถึง ลักษณะของอากาศที่ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า (เช่น ฝุ่นละออง ควันจากไฟป่า ฝุ่นละอองจากยวดยานพาหนะในเมืองใหญ่ หรือไอเกลือจากทะเล) จำนวนมากล่องลอยอยู่ทั่วไป ทำให้มองเห็นอากาศเป็นฝ้าขาว ในบรรยากาศที่มีฝุ่นควันเกิดขึ้นจะทำให้ทัศนวิสัยลดลง

ฟ้าหลัวใน กัวลาลัมเปอร์

ดับเบิลยูเอ็มโอ ได้กำหนดลักษณะของสภาพอากาศที่ทำให้ทัศนวิสัยลดลงไว้เป็นหมวดหมู่ดังนี้คือ หมอก หมอกน้ำแข็ง หมอกไอน้ำ ไอน้ำ ฝุ่นควัน ควัน เถ้าภูเขาไฟ ฝุ่น ทราย และ หิมะ[1]

สำหรับฝุ่นควันที่มีความหนาแน่นสูง ที่เกิดขึ้นจากมลภาวะที่ประกอบด้วยสารเคมีหรือโอโซนมักจะถูกเรียกว่าหมอกควัน และฝุ่นควันจะมีความแตกต่างจากหมอกทั่วไป คือหมอกนั้นเกิดจากการที่มีความชื้นสูงในอากาศ เช่น ตอนเช้า หรือหลังฝนตก แต่ฟ้าหลัวจะเกิดจากอนุภาคขนาดเล็ก และเกิดในขณะที่อากาศแห้ง

มลพิษทางอากาศ

แก้
 
หมอกควันในระดับถนนในกรุงเปียงยางประเทศเกาหลีเหนือ

ฝุ่นควันมักเกิดขึ้นเมื่อฝุ่นละอองและควันสะสมตัวในอากาศที่ค่อนข้างแห้ง เมื่อสภาพอากาศสงบซึ่งจะขัดขวางการกระจายตัวของควันและมลพิษอื่น ๆ ทำให้ฝุ่นจะรวมตัวและก่อตัวเป็นชั้นหุ้มที่ลอยต่ำซึ่งมักจะทำให้ทัศนวิสัยลดลงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพและการหายใจ มลพิษทางอุตสาหกรรมอาจส่งผลให้เกิดฝุ่นควันหนาแน่นซึ่งเรียกว่า หมอกปนควัน

ตั้งแต่ ค.ศ. 1991 ฝุ่นควันเป็นปัญหาที่รุนแรงมากโดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แหล่งที่มาหลักของฝุ่นควันคือไฟป่าที่เกิดขึ้นในเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว เพื่อเป็นการตอบสนองต่อเหตุการณ์ ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ. 1997 สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้มีข้อตกลงในแผนปฏิบัติการฝุ่นควันระดับภูมิภาค (1997) ใน ค.ศ. 2002 ทุกประเทศในอาเซียนได้ลงนามใน ความตกลงอาเซียนว่าด้วยมลพิษจากหมอกควันข้ามแดน แต่มลพิษก็ยังคงเป็นปัญหาในปัจจุบัน ภายใต้ข้อตกลงดังกล่าว สำนักเลขาธิการอาเซียนจะเป็นเจ้าภาพจัดหน่วยประสานงานและสนับสนุน[2] ในช่วงเหตุการณ์ ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ. 2013 สิงคโปร์เป็นประเทศที่ประสบกับระดับมลพิษที่สูงเป็นประวัติการณ์ โดยดัชนีมาตรฐานมลพิษ 3 ชั่วโมงแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 401[3]

ในสหรัฐอเมริกาได้มีโครงการ Interagency Monitoring of Protected Visual Environments (IMPROVE) ได้รับการพัฒนาโดยความร่วมมือระหว่างสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐและกรมอุทยานฯ เพื่อสร้างองค์ประกอบทางเคมีของฝุ่นควันในอุทยานแห่งชาติและกำหนดมาตรการควบคุมมลพิษทางอากาศ เพื่อฟื้นคืนทัศนวิสัยสู่ระดับปกติ [4] นอกจากนี้พระราชบัญญัติอากาศบริสุทธิ์กำหนดให้แก้ไขปัญหามลพิษทางสายตาในปัจจุบัน และป้องกันปัญหามลพิษทางสายตาในอนาคต ใน 156 พื้นที่ภาคบังคับชั้น I ของรัฐบาลกลางที่ตั้งอยู่ทั่วสหรัฐอเมริกา รายการทั้งหมดของพื้นที่เหล่านี้มีอยู่ในเว็บไซต์ของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ [5]

ข้อพิพาทระหว่างประเทศ

แก้

ฝุ่นควันข้ามพรมแดน

แก้

ฝุ่นควันไม่เพียงเป็นปัญหาภายในประเทศ มันได้กลายเป็นสาเหตุหนึ่งของข้อพิพาทระหว่างประเทศ ฝุ่นควันจะลอยเคลื่อนไปยังประเทศเพื่อนบ้านที่อยู่ข้างเคียงและทำให้เกิดมลพิษในประเทศอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน ปัญหาล่าสุดเกิดขึ้นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ใน ค.ศ. 2013 เนื่องจากไฟป่าในประเทศอินโดนีเซีย กรุงกัวลาลัมเปอร์ และพื้นที่โดยรอบถูกปกคลุมไปด้วยควันพิษ กลิ่นของเถ้าถ่านและควันไฟปกคลุมเป็นเวลานานกว่าหนึ่งสัปดาห์ใน ถือเป็นวิกฤตสิ่งแวดล้อมที่เลวร้ายที่สุดของประเทศนับตั้งแต่ ค.ศ. 1997

ที่มาหลักของฝุ่นควันคือเกาะสุมาตราของอินโดนีเซีย และพื้นที่บางส่วนของอินโดนีเซียในเกาะบอร์เนียว พื้นที่เหล่านี้เป็นที่ซึ่งเกษตรกร เจ้าของสวน และคนงานเหมืองได้จุดไฟเผาป่าหลายร้อยแห่งเพื่อล้างที่ดินในช่วงที่อากาศแห้ง ลมพัดได้ควันส่วนใหญ่เคลื่อนผ่าน ช่องแคบมะละกา จนถึงมาเลเซีย และมีพื้นที่บางส่วนของอินโดนีเซียได้รับผลกระทบเช่นกัน[6] ต่อมามีเหตุการณ์ ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ. 2015 ได้กลายเป็นวิกฤตใหญ่อีกวิกฤตหนึ่ง แม้ว่าจะมีหลายครั้งเช่น ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ. 2006 และ ฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ค.ศ. 2019 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ส่งผลกระทบน้อยกว่า วิกฤตฝุ่นควันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่สำคัญคือ ค.ศ. 1997 2013 และ 2015

PM2.5 คือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เทียบได้ว่ามีขนาดประมาณ 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผมมนุษย์ เล็กจนขนจมูกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้นไม่สามารถกรองได้ จึงแพร่กระจายเข้าสู่ทางเดินหายใจ กระแสเลือด และเข้าสู่อวัยวะอื่น ๆ ในร่างกายได้ ตัวฝุ่นเป็นพาหะนำสารอื่นเข้ามาด้วย เช่น แคดเมียม ปรอท โลหะหนัก และสารก่อมะเร็งอื่น ๆ[7]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "WMO Manual on Codes" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-10-31. สืบค้นเมื่อ 2010-03-16.
  2. ASEAN action hazeonline เก็บถาวร 2005-02-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "Singapore haze hits record high from Indonesia fires". BBC News. 21 June 2013. สืบค้นเมื่อ 19 January 2014.
  4. "Improve – Interagency Monitoring of Protected Visual Environments". vista.cira.colostate.edu.
  5. "Federal Class 1 Areas".
  6. "Hazardous haze shrouds Kuala Lumpur". NBC News.
  7. "PM2.5 คืออะไร? อันตรายและการป้องกันฝุ่นละอองขนาดเล็ก - Daikin". www.daikin.co.th.