ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา

(เปลี่ยนทางจาก ฟุลเคนเซียว บาติสตา)

ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา อี ซัลดิบาร์[a] (สเปน: Fulgencio Batista y Zaldívar, ชื่อเกิด รูเบน ซัลดิบาร์ (Rubén Zaldívar);[1] 16 มกราคม ค.ศ. 1901 – 6 สิงหาคม ค.ศ. 1973) เป็นประธานาธิบดีคิวบาอิงสหรัฐอเมริกา ผู้เผด็จการและผู้นำทางทหารผู้ดำรงตำแหน่งผู้นำคิวบาตั้งแต่ ค.ศ. 1940 ถึง 1944 และตั้งแต่ ค.ศ. 1952 ถึง 1959 ก่อนถูกโค่นล้มจากผลของการปฏิวัติคิวบา

ฟุลเฮนซิโอ บาติสตา
ภาพถ่ายทางการใน ค.ศ. 1940
ประธานาธิบดีคิวบา
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม ค.ศ. 1952 – 1 มกราคม ค.ศ. 1959
นายกรัฐมนตรี
รองประธานาธิบดีราฟาเอส กัวส์ อินกลัน
ก่อนหน้าการ์โลส ปริโอ โซการ์รัส
ถัดไปอันเซลโม อายิเอโกร
ดำรงตำแหน่ง
10 ตุลาคม ค.ศ. 1940 – 10 ตุลาคม ค.ศ. 1944
นายกรัฐมนตรี
รองประธานาธิบดีกุสตาโบ เกร์โบ รูบิโอ
ก่อนหน้าเฟเดริโก ลาเรโด บรู
ถัดไปราโมน เกรา
นายกรัฐมนตรีคิวบา
ดำรงตำแหน่ง
10 มีนาคม ค.ศ. 1952 – 4 เมษายน ค.ศ. 1952
ประธานาธิบดีตนเอง
ก่อนหน้าโอสการ์ กันส์
ถัดไป
สมาชิกวุฒิสภาคิวบา
ดำรงตำแหน่ง
2 มิถุนายน ค.ศ. 1948 – 10 มีนาคม ค.ศ. 1952
เขตเลือกตั้งลัสบียัส
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
รูเบน ซัลดิบาร์

16 มกราคม ค.ศ. 1901(1901-01-16)
บาเนส ประเทศคิวบา
เสียชีวิต6 สิงหาคม ค.ศ. 1973(1973-08-06) (72 ปี)
มาร์เบยา จังหวัดมาลากา ประเทศสเปน
ที่ไว้ศพสุสานนักบุญอิซิโดโร
พรรคการเมือง
คู่สมรส
บุตร9
ชื่ออื่นฟุลเฮนซิโอ บาติสตา อี ซัลดิบาร์ (ชื่อเต็มตั้งแต่ ค.ศ. 1939)
ชื่อเล่นEl Hombre, El Indio, Mulato Lindo, Cuqui
ยศที่ได้รับการแต่งตั้ง
รับใช้สาธารณรัฐคิวบา
สังกัดกองทัพคิวบา
ประจำการ1921–1959
ยศพลตรี
ผ่านศึกการปฏิวัติคิวบา

เดิมบาติสตาขึ้นสู่อำนาจหลัง "การลุกฮือของเหล่าจ่าทหาร" ใน ค.ศ. 1933 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาลเฉพาะกาลของการ์โลส มานูเอล เด เซสเปเดส อี เกซาดา จากนั้น บาติสตาแต่งตั้งตนเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วยยศพันเอก และควบคุมตำแหน่งประธานาธิบดีที่มีสมาชิกห้าคนได้อย่างเป็นผล เขารักษาการควบคุมนี้ผ่านประธานาธิบดีหุ่นเรื่อยมากระทั่ง ค.ศ. 1940 เมื่อตัวเขาเองได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคิวบาบนเวทีประชานิยม[2][3] จากนั้น ประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งคิวบา ค.ศ. 1940[4] ซึ่งดูก้าวหน้าในขณะนั้น และดำรงตำแหน่งกระทั่ง ค.ศ. 1944 หลังหมดวาระ เขาได้ไปอาศัยในสหรัฐฮเมริกา โดยกลับมาคิวบาเพื่อลงชิงตำแหน่งประธานาธิบดีใน ค.ศ. 1952 เมื่อแน่ใจว่าตนจะแพ้การเลือกตั้ง เขาจึงนำการรัฐประหารก่อนการเลือกตั้ง[5]

หลังครองอำนาจอีกครั้ง ในตอนนี้บาติสตาระงับรัฐธรรมนูญ ค.ศ. 1940 และเพิกถอนเสรีภาพทางการเมืองส่วนใหญ่ รวมทั้งสิทธิในนัดหยุดงานประท้วง และได้รับการสนับสนุนทางการเงิน การทหาร และด้านโลจิสติกส์จากรัฐบาลสหรัฐ[6][7] เขาเข้าไปคบค้าสมาคมกับเจ้าของที่ดินที่มั่งคั่งที่สุดผู้เป็นเจ้าของไร่น้ำตาลขนาดใหญ่ที่สุด และเฝ้ามองเศรษฐกิจที่ซบเซาและเห็นช่องว่างระหว่างชาวคิวบารวยกับจนที่ขยายกว้างขึ้น[8] ท้ายที่สุดก็รุนแรงจนถึงขั้นอุตสาหกรรมน้ำตาลส่วนใหญ่อยู่ในมือของสหรัฐ และชายต่างชาติถือครองที่ดินทำกินถึงร้อยละ 70[9] รัฐบาลที่ฉ้อราษฎร์บังหลวงและกดขี่เพิ่มขึ้นของบาติสตานั้นเริ่มหาแสวงหาประโยชน์จากผลประโยชน์เชิงพาณิชย์ของคิวบา โดยการเจรจาความสัมพันธ์ผลประโยชน์สูงกับมาเฟียอเมริกา ผู้ควบคุมธุรกิจยาเสพติด การพนันและโสเภณีในกรุงฮาวานา และบรรษัทข้ามชาติอเมริกาขนาดใหญ่ที่ได้ลงทุนด้วยปริมาณเงินมหาศาลในคิวบา[8][10] ในการปราบปรามความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นในหมู่ประชาชน ซึ่งแสดงออกผ่านการจลาจลนักศึกษาและการเดินขบวนต่อต้านบาติสตาตามลำดับ บาติสตาจัดการเซ็นเซอร์สื่อ ขณะที่ใช้ประโยชน์จากตำรวจลับต่อต้านคอมมิวนิสต์และอาวุธที่สหรัฐอเมริกาจัดหาให้เพื่อดำเนินความรุนแรง การทรมานและการประหารชีวิตสาธารณะเป็นวงกว้าง ซึ่งเป็นผลให้ชาวคิวบาเสียชีวิตมากถึง 20,000 คน

เมื่อกระตุ้นให้เกิดการต่อต้านด้วยยุทธวิธีเหล่านี้ (ธันวาคม ค.ศ. 1956 – ธันวาคม ค.ศ. 1958) ขบวนการ 26 กรกฎาคมของฟิเดล กัสโตร และส่วนกบฏชาตินิยมอื่นนำการลุกฮือแบบกองโจรทั้งในเมืองและชนบทต่อรัฐบาลบาติสตาเป็นเวลาสองปี ซึ่งจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของเขาโดยกบฏภายใต้การบัญชาการของเช เกบารายุทธการที่เมืองซานตากลาราในวันขึ้นปีใหม่ของ ค.ศ. 1959 บาติสตาบินหลบหนีออกจากเกาะทันทีพร้อมกับทรัพย์สินส่วนตัวที่เขาสะสมไว้ไปยังสาธารณรัฐโดมินิกัน ที่ซึ่งผู้มีอิทธิพลและอดีตพันธมิตรทางทหาร ราฟาเอล ตรูฮิโย ถือครองอำนาจอยู่ ท้ายที่สุด บาติสตาลี้ภัยทางการเมืองไปยังโปรตุเกส ที่ซึ่งเขาอยู่อาศัยกระทั่งเสียชีวิตใน ค.ศ. 1973

จำนวนผู้เสียชีวิตที่พิพาท

แก้

ชีวิตช่วงต้น

แก้

เสียชีวิต

แก้

หลังจากที่เขาหลบหนีไปประเทศโปรตุเกส บาติสตาจึงอาศัยอยู่ที่มาเดรา จากนั้นจึงไปที่ Estoril เขาเสียชีวิตจากโรคหัวใจวายในวันที่ 6 สิงหาคม ค.ศ. 1973 ที่มาร์เบยา ประเทศสเปน[11]

มาร์ตา เฟร์นันเดซ มิรันดา เด บาติสตา ภรรยาหม้ายของบาติสตา เสียชีวิตในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 2006[12] โรเบร์โต บาติสตา ลูกชายของเธอกล่าวว่า เธอเสียชีวิตในบ้านของเธอที่เวสต์พาล์มบีช รัฐฟลอริดา ประเทศสหรัฐ[13] เธอป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์[13]

หนังสือที่บาติสตาเขียนขึ้น

แก้
  • Estoy con el Pueblo (I am With the People), Havana, 1939
  • Respuesta, Manuel León Sánchez S.C.L., Mexico City, 1960
  • Piedras y leyes (Stones and Laws), Mexico City, 1961
  • Cuba Betrayed, Vantage Press, New York, 1961
  • To Rule is to Foresee, 1962
  • The Growth and Decline of the Cuban Republic, Devin-Adair Company, New York, 1964

หมายเหตุ

แก้
  1. ในบทความนี้ นามสกุลแรกหรือนามสกุลฝ่ายบิดาคือ บาติสตา และนามสกุลที่สองหรือนามสกุลของมารดาคือ ซัลดิบาร์

อ้างอิง

แก้
  1. Cino, Luis (March 13, 2006). "Rubén el terrible" [Rubén the terrible]. Cubanet. Coral Gables, FL: CubaNet News, Inc. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 30, 2007. สืบค้นเมื่อ September 30, 2017. En las actas del juzgado de Banes siguió siendo legalmente Rubén Zaldívar hasta que en 1939, al ser nominado a la candidatura presidencial, se descubrió que la inscripción de nacimiento de Fulgencio Batista no existía. Conseguirla le costó postergar la presentación de su candidatura y quince mil pesos para pagar al juez." – "In the minutes of the courthouse at Banes he remained legally being Rubén Zaldívar until 1939, when, nominated to the presidential candidacy, it was discovered that Fulgencio Batista's birth certificate did not exist. To obtain it cost him the postponing the presentation of his candidacy and fifteen thousand pesos to pay the [local] judge.
  2. "Elections and Events 1935–1951 – The Library". Libraries.ucsd.edu. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ มกราคม 12, 2014. สืบค้นเมื่อ สิงหาคม 18, 2014.
  3. Argote-Freyre, Frank (2006). Fulgencio Batista. Vol. 1. New Brunswick, N.J.: Rutgers University Press. p. 50. ISBN 978-0-8135-3701-6.
  4. Wright, Robert; Wylie, Lana, บ.ก. (2009). Our Place in the Sun: Canada and Cuba in the Castro Era. University of Toronto Press. p. 8. ISBN 978-0-8020-9666-1. สืบค้นเมื่อ July 6, 2013.
  5. Cavendish, Richard (March 2002). "General Batista Returns to Power in Cuba". History Today. Vol. 52 no. 3. London: History Today Ltd. สืบค้นเมื่อ September 30, 2017.
  6. Guerra, Lillian (2010). Grandin, Greg; Joseph, Gilbert M. (บ.ก.). Beyond Paradox. A Century of Revolution. American Encounters/Global Interactions. Durham, NC: Duke University Press. pp. 199–238. ISBN 978-0-8223-4737-8.
  7. Fidel: The Untold Story. (2001). Directed by Estela Bravo. First Run Features. (91 min). Viewable clip. "Batista's forces were trained by the United States, which also armed them with tanks, artillery, and aircraft."
  8. 8.0 8.1 Historical Dictionary of the 1950s, by James Stuart Olson, Greenwood Publishing Group, 2000, ISBN 0-313-30619-2, pp. 67–68.
  9. Fidel: The Untold Story. (2001). Directed by Estela Bravo. First Run Features. (91 min). Viewable clip.
  10. Havana Nocturne: How the Mob Owned Cuba and Then Lost It to the Revolution, by T.J. English, William Morrow, 2008, ISBN 0-06-114771-0.
  11. "Batista Dies in Spain at 72". The New York Times. August 7, 1973.
  12. O'Meilia, Tim (October 4, 2006). "Widow of Cuban dictator Batista dies in WPB". Palm Beach Post.
  13. 13.0 13.1 "Widow of Cuban strongman Batista dies". United Press International. October 5, 2006. สืบค้นเมื่อ March 25, 2016.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้