ฟุตบอลในประเทศอิตาลี

ฟุตบอล หรือ กัลโช ในภาษาอิตาลี เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศอิตาลี[1] ฟุตบอลทีมชาติอิตาลีถูกมองว่าเป็นหนึ่งในทีมชาติที่ดีที่สุดในโลก พวกเขาชนะเลิศฟุตบอลโลกถึง 4 สมัย (1934, 1938, 1982, 2006; เป็นรองเพียงบราซิลซึ่งได้ 5 สมัย) จบรองชนะเลิศในฟุตบอลโลก 2 ครั้ง (1970, 1994) จบอันดับที่สามในฟุตบอลโลก 1990 และจบอันดับที่สี่ในฟุตบอลโลก 1978 พวกเขายังชนะเลิศฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรปสองสมัยในปี 1968 และ 2020 และจบรองชนะเลิศสองครั้งในปี 2000 และ 2012 เกียรติประวัติอื่น ๆ ได้แก่ จบอันดับที่สามในฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 2013 ชนะเลิศโอลิมปิกฤดูร้อน 1936 และชนะเลิศเซ็นทรัลยูโรเปียนอินเตอร์เนชันนัลคัพสองสมัยในฤดูกาล 1927–30 และ 1933–35

ฟุตบอลในประเทศอิตาลี
ประเทศอิตาลี
องค์กรบริหารดูแลสหพันธ์ฟุตบอลอิตาลี
ทีมชาติอิตาลี
แข่งขันครั้งแรกค.ศ. 1898
การแข่งขันระดับชาติ
การแข่งขันของสโมสร
การแข่งขันระดับนานาชาติ

ลีกฟุตบอลสูงสุดของอิตาลี ซึ่งก็คือ เซเรียอา เป็นหนึ่งในลีกฟุตบอลที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลก และถูกมองว่าเป็นลีกฟุตบอลที่เน้นแท็กติกมากที่สุดในโลก[2] สโมสรจากอิตาลีชนะเลิศถ้วยรางวัลยุโรปถึง 48 ครั้ง ทำให้อิตาลีเป็นชาติที่มีสโมสรประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับทวีปมากเป็นอันดับที่สองของยุโรป เซเรียอาเป็นลีกของสามสโมสรที่มีชื่อเสียงของโลก ได้แก่ ยูเวนตุส มิลาน และอินเตอร์ ซึ่งทั้งหมดเป็นสมาชิกผู้ร่วมก่อตั้งจี-14 เซเรียอาจึงเป็นเพียงลีกเดียวที่มีสโมสรผู้ร่วมก่อตั้งจี-14 ถึงสามสโมสร

นอกจากยูเวนตุส มิลาน และอินเตอร์แล้ว ยังมีสโมสรใหญ่อื่น ๆ ได้แก่ โรมา, ฟีออเรนตีนา, ลาซีโอ และปาร์มาซึ่งปัจจุบันถูกแทนที่โดยนาโปลี สโมสรเหล่านี้รู้จักกันในชื่อ "เจ็ดสาวน้อยแห่งฟุตบอลอิตาลี"[3] ผู้จัดการทีมฟุตบอลชาวอิตาลีประสบความสำเร็จในการแข่งขันระดับทวีป โดยเฉพาะอย่างยิ่งการคว้าแชมป์ยูฟ่าแชมเปียนส์ลีก ผู้เล่นหลายคนคว้ารางวัลบัลลงดอร์ขณะที่เล่นอยู่ในเซเรียอามากกว่าในลีกอื่น ๆ ของโลก

ทีมชาติ

แก้
เกียรติประวัติของฟุตบอลทีมชาติอิตาลี
การแข่งขัน       ทั้งหมด
ฟุตบอลโลก 4 2 1 7
โอลิมปิกฤดูร้อน 1 0 2 3
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2 2 1 5
ฟีฟ่าคอนเฟเดอเรชันส์คัพ 0 0 1 1
เซ็นทรัลยูโรเปียนอินเตอร์เนชันนัลคัพ 2 2 0 4
ทั้งหมด 9 6 5 20

สโมสรที่เข้าร่วมแข่งขันระดับทวีป

แก้

นี่คือรายชื่อสโมสรจากอิตาลีที่เคยเข้าชิงชนะเลิศยูโรเปียนคัพและแชมเปียนส์ลีก

อ้างอิง

แก้
  1. Wilson, Bill (10 March 2014). "BBC News – Italian football counts cost of stagnation". Bbc.co.uk. สืบค้นเมื่อ 12 June 2015.
  2. "Home page". Lagardère Sports and Entertainment. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-12. สืบค้นเมื่อ 2020-06-19.
  3. "Le "7 sorelle" dell'Italcalcio tornano a spendere all'estero - IlGiornale.it". m.ilgiornale.it.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้