ฟุตบอลโลก 2022 รอบชิงชนะเลิศ

ฟุตบอลโลก 2022 รอบชิงชนะเลิศ เป็นนัดสุดท้ายของการแข่งขันฟุตบอลโลก 2022 ซึ่งเป็นการแข่งขันฟุตบอลชายทีมชาติครั้งที่ 22 ของฟีฟ่า การแข่งขันจัดขึ้นที่สนามกีฬานานาชาติลูซัยล์ ประเทศกาตาร์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นวันชาติของกาตาร์ โดยเป็นการพบกันระหว่างอาร์เจนตินาและฝรั่งเศส

ฟุตบอลโลก 2022 รอบชิงชนะเลิศ
รายการฟุตบอลโลก 2022
หลัง ต่อเวลาพิเศษ
อาร์เจนตินา ชนะ ลูกโทษ 4–2
วันที่18 ธันวาคม ค.ศ. 2022 (2022-12-18)
สนามสนามกีฬานานาชาติลูซัยล์, ลูซัยล์
ผู้เล่นยอดเยี่ยม
ประจำนัด
ลิโอเนล เมสซิ (อาร์เจนตินา)
ผู้ตัดสินชือมอน มาร์ชีญัก (โปแลนด์)
ผู้ชม88,966 คน
สภาพอากาศมีเมฆเป็นบางส่วน
22 °C (72 °F)
64% ความชื้นสัมพัทธ์[1][2]
2018
2026

ช่วงครึ่งเวลาแรก ลิโอเนล เมสซิ และอังเฆล ดิ มาริอา ทำประตูให้อาร์เจนตินานำ 2–0 แต่ในช่วงครึ่งเวลาหลัง กีลียาน อึมบาเป ทำสองประตูตีเสมอมาเป็น 2–2 จนต้องใช้กติกาต่อเวลาพิเศษ อึมบาเปและเมสซิทำประตูในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้ผลการแข่งขันในเวลา 120 นาที เสมอกัน 3–3 จึงต้องตัดสินด้วยการยิงลูกโทษ อาร์เจนตินาชนะการยิงลูกโทษด้วยประตู 4–2 คว้าแชมป์ฟุตบอลโลกเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 1986

เชค ตะมีม บิน ฮะมัด อัษษานี เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์ และ จันนี อินฟันตีโน ประธานฟีฟ่า เป็นผู้มอบเหรียญพร้อมรางวัลต่าง ๆ หลังจบการแข่งขัน โดยในช่วงท้ายของพิธีการ เจ้าผู้ครองรัฐกาตาร์พร้อมด้วยประธานฟีฟ่าได้มอบถ้วยชนะเลิศแก่เมสซิ ซึ่งเป็นกัปตันทีมชาติอาร์เจนตินา[3]

ภูมิหลัง

แก้

อาร์เจนตินา เคยคว้าแชมป์ฟุตบอลโลกมาแล้ว 2 ครั้งในปี 1978 และ 1986 [4] และยังเป็นรองแชมป์ในปี 1930, 1990 และ 2014 หลังจากนั้นอาร์เจนตินาแพ้ชิลี ในรอบชิงชนะเลิศ โคปาอเมริกา 2 สมัยติดต่อกันใน ปี 2015 และ 2016 หลังจากทำผลงานได้อย่างน่าผิดหวังในฟุตบอลโลก 2018 ซึ่งพวกเขาแพ้ให้กับแชมป์เก่าอย่างฝรั่งเศสในรอบน็อคเอาต์รอบแรก และ โคปาอเมริกา 2019 [5] ซึ่งพวกเขาจบ อันดับสาม ลิโอเนล สกาโลนี ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนทีมชาติอาร์เจนตินา และนำทีมเอาชนะบราซิล 1–0 ในรอบชิงชนะเลิศโคปาอเมริกา 2021 ซึ่งส่งผลให้ ลิโอเนล เมสซิ กัปตันทีมคว้าแชมป์ระดับสากลกับทีมชาติได้เป็นครั้งแรก[6][7] หลังจากอาร์เจนตินาชนะอิตาลีซึ่งเป็นแชมป์ยุโรป 3–0 ในการแข่งขัน ฟินาลิสซิมา 2022[8] อาร์เจนตินาจึงเป็นหนึ่งในตัวเต็งที่จะคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก[9][10]

ฝรั่งเศสเป็นแชมป์เก่าจากปี 2018 ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่รอบชิงชนะเลิศในปี 2002 ที่ทีมเข้าชิงชนะเลิศติดต่อกัน และเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ ปี 1998 ที่เจ้าของตำแหน่งผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศ ทั้งสองครั้งบราซิลเป็นแชมป์โลก ฝรั่งเศสคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2 สมัยใน ปี 1998 และ 2018 นอกจากนี้ ฝรั่งเศสยังเข้าถึงรอบชิงชนะเลิศในปี 2006 แต่แพ้อิตาลีด้วยการดวลจุดโทษ; ดีดีเย เดช็อง กัปตันทีมชาติฝรั่งเศสที่พาทีมคว้าแชมป์โลกเมื่อปี 1998 เป็นหัวหน้าผู้ฝึกสอนตั้งแต่ปี 2012 หลังจากโลร็องต์ บล็องก์ ลาออกจากความล้มเหลวในยูโร 2012 โดยภายใต้การคุมทีมชาติฝรั่งเศสของเดช็อง ทีมไม่สามารถคว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2014 รวมทั้ง ยูโร 2016 และ 2020 แต่คว้าแชมป์ฟุตบอลโลก 2018 ได้สำเร็จ[11][12] ฝรั่งเศสจึงเข้ามาเป็นหนึ่งในทีมเต็งในฟุตบอลโลกครั้งนี้[13] ทีมมีเป้าหมายที่จะตามรอบความสำเร็จของอิตาลีใน ปี 1934 และ 1938 รวมถึงบราซิลใน ปี 1958 และ 1962 ในฐานะประเทศที่สามที่สามารถป้องกันแชมป์โลกได้สำเร็จ และตัวของเดช็องเองก็พยายามที่จะเป็นผู้จัดการทีมคนที่สองที่คว้าแชมป์ ฟุตบอลโลก 2 สมัย ต่อจาก วิตตอรีโอ ปอซโซ กับอิตาลีในปี 1934 และ 1938[14] และในฐานะผู้เล่นเดช็องก็หวังเป็นบุคคลที่สามที่คว้าแชมป์โลก 3 สมัยต่อจากเปเล่ และ มาริโอ ซากัลโล[15][16]

อาร์เจนตินาและฝรั่งเศสพบกันในรอบแพ้คัดออกสำหรับฟุตบอลโลกครั้งที่สองติดต่อกัน ในรอบ 16 ทีมสุดท้ายปี 2018 ที่คาซาน อารีน่า ฝรั่งเศสชนะด้วยประตู 4–3 ดิอินดีเพ็นเดนต์ กล่าวว่านัดดังกล่าวเป็น "หนึ่งในเกมฟุตบอลโลกที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล"[17] อ็องตวน กรีแยซมาน ทำประตูแรกด้วยการยิงจุดโทษ ก่อนที่ อังเฆล ดิ มาริอา และ กาบริเอล เมร์กาโด จะทำประตูทำให้อาร์เจนตินาขึ้นนำ จากนั้นฝรั่งเศสก็ยิงสามประตูถัดมาจากการยิงวอลเลย์นอกกรอบของ แบ็งฌาแม็ง ปาวาร์ ซึ่งต่อมาได้รับการโหวตให้เป็นประตูของทัวร์นาเมนต์[18] – จากนั้น กีลียาน อึมบาเป เป็นผู้ทำอีกสองประตูให้ทีมชาติของตน[19] เซร์ฆิโอ อาเกวโร ทำประตูตีตื้นในช่วงทดเวลาบาดเจ็บ แต่อาร์เจนตินาไม่สามารถตีเสมอได้ และฝรั่งเศสเป็นฝ่ายชนะในนัดนั้น[20]

ลูกฟุตบอลสำหรับการแข่งขันในรอบชิงชนะเลิศคือ "อาดิดาส อัล ฮิล์ม" ซึ่งใช้ในรอบรองชนะเลิศทั้งสองนัด และรอบชิงอันดับสามด้วย โดยมีการประกาศเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ "อัล ริห์ลา" ลูกฟุตบอลอย่างเป้นทางการที่ใช้ในการแข่งขัน โดย "อัล ฮิล์ม" แปลว่า "ความฝัน" ใน ภาษาอาหรับ ซึ่งสื่อถึงความฝันของทุกชาติในการชูถ้วยชนะเลิศ[21] แม้ว่าด้านเทคนิคของลูกบอลจะเหมือนกับอัลริห์ลา แต่สีจะแตกต่างออกไป อัล ฮิล์ม ประกอบด้วยสีทองและสีแดงเข้ม ซึ่งสื่อถึงสีธงชาติกาตาร์, สนามกีฬาลูซัยล์ และถ้วยชนะเลิศ; อัล ฮิล์ม เป็นลูกบอลพิเศษลูกที่ห้าสำหรับนัดชิงชนะเลิศฟุตบอลโลก ต่อจาก +ทีมไกสต์ เบอร์ลิน[22], โจ'บูลานี[23], บราซูกา ไฟนอล ริโอ[24], และเทลสตาร์ เมคตา[25]

สถานที่แข่งขัน

แก้
 
สนามกีฬานานาชาติลูซัยล์ สถานที่แข่งขันฟุตบอลโลก 2022 รอบชิงชนะเลิศ

สนามกีฬาลูซัยล์ ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 15 กิโลเมตร (9.3 ไมล์) ทางเหนือของกรุงโดฮา เป็นสถานที่จัดการแข่งขัน[26] สนามกีฬานี้มีจุดประสงค์เพื่อจัดรอบชิงชนะเลิศโดยเป็นส่วนหนึ่งของการเสนอตัวเป็นเจ้าภาพฟุตบอลโลกของกาตาร์[27] โดยมีการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 15 กรกฎาคม ค.ศ. 2020[28] สนามกีฬาแห่งนี้ยังได้จัดการแข่งขันฟุตบอลโลกอีก 9 นัด โดย 6 นัดในรอบแบ่งกลุ่มและอีก 3 นัดในรอบแพ้คัดออก[29]

สนามกีฬานานาชาติลูซัยล์ ออกแบบโดยบริษัทอังกฤษ ฟอสเตอร์แอนด์พาร์ตเนอส์ และ Populous[30] โดยได้รับการสนับสนุนจาก MANICA Architecture[31] สนามกีฬาใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการระบายความร้อนและได้รับการอ้างถึงว่ามีคาร์บอนฟุตพรินต์เป็นศูนย์[32] สนามเริ่มก่อสร้างในเดือนเมษายน ค.ศ. 2017[33] และมีแผนจะแล้วเสร็จในปี ค.ศ. 2020 แต่ได้ถูกเลื่อนออกไปเป็นเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2021[34]

เส้นทางสู่รอบชิงชนะเลิศ

แก้
อาร์เจนตินา รอบ ฝรั่งเศส
คู่แข่ง ผล รอบแบ่งกลุ่ม คู่แข่ง ผล
  ซาอุดีอาระเบีย 1–2 นัดที่ 1   ออสเตรเลีย 4–1
  เม็กซิโก 2–0 นัดที่ 2   เดนมาร์ก 2–1
  โปแลนด์ 2–0 นัดที่ 3   ตูนิเซีย 0–1
กลุ่มซี ชนะเลิศ
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   อาร์เจนตินา 3 6
2   โปแลนด์ 3 4
3   เม็กซิโก 3 4
4   ซาอุดีอาระเบีย 3 3
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
อันดับสุดท้าย กลุ่มดี ชนะเลิศ
อันดับ ทีม เล่น คะแนน
1   ฝรั่งเศส 3 6
2   ออสเตรเลีย 3 6
3   ตูนิเซีย 3 4
4   เดนมาร์ก 3 1
แหล่งที่มา : ฟีฟ่า
คู่แข่ง ผล รอบแพ้คัดออก คู่แข่ง ผล
  ออสเตรเลีย 2–1 รอบ 16 ทีม   โปแลนด์ 3–1
  เนเธอร์แลนด์ 2–2
(ต่อเวลา)
(ดวลลูกโทษ 4–3)
รอบก่อนรองฯ   อังกฤษ 2–1
  โครเอเชีย 3–0 รอบรองฯ   โมร็อกโก 2–0

การแข่งขัน

แก้

รายละเอียด

แก้
อาร์เจนตินา  3–3 (ต่อเวลาพิเศษ)  ฝรั่งเศส
รายงาน
ลูกโทษ
4–2


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
อาร์เจนตินา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ฝรั่งเศส
GK 23 เอมิเลียโน มาร์ติเนซ   120+5'
RB 26 นาเวล โมลินา   91'
CB 13 กริสเตียน โรเมโร
CB 19 นิโกลัส โอตาเมนดิ
LB 3 นิโกลัส ตาเกลียฟิโก   120+1'
DM 24 เอนโซ เฟร์นันเดซ   45+7'
CM 7 โรดริโก เด โปล   102'
CM 20 อาเลกซิส มัก อาลิสเตร์   116'
RF 10 ลิโอเนล เมสซิ (กัปตัน)
CF 9 ฆูเลียน อัลบาเรซ   102'
LF 11 อังเฆล ดิ มาริอา   64'
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น:
MF 8 มาร์โกส อากุญญา   90+8'   64'
DF 4 กอนซาโล มอนติเอล   116'   91'
MF 5 เลอันโดร ปาเรเดส   114'   102'
FW 22 เลาตาโร มาร์ติเนซ   102'
DF 6 เฆร์มัน เปเซลา   116'
FW 21 เปาโล ดิบาลา   120+1'
ผู้จัดการทีม:
ลิโอเนล เอสกาโลนิ
 
GK 1 อูว์โก โยริส (กัปตัน)
RB 5 ฌูล กูนเด   120+1'
CB 4 ราฟาแอล วาราน   113'
CB 18 ดาโย อูว์ปาเมกาโน
LB 22 เตโอ แอร์น็องแดซ   71'
CM 8 โอเรเลียง ชัวเมนี
CM 14 อาดรีแย็ง ราบีโย   55'   96'
RW 11 อุสมาน แดมเบเล   41'
AM 7 อ็องตวน กรีแยซมาน   71'
LW 10 กีลียาน อึมบาเป
CF 9 ออลีวีเย ฌีรู   90+5'   41'
การเปลี่ยนตัวผู้เล่น:
FW 12 ร็องดาล กอโล มัวนี   41'
FW 26 มาร์กุส ตูว์ราม   87'   41'
FW 20 กีงส์แล กอมาน   71'
MF 25 เอดัวร์โด กามาวีงกา   71'
MF 13 ยูซุฟ ฟอฟานา   96'
DF 24 อีบราอีมา โกนาเต   113'
DF 3 อักแซล ดีซาซี   120+1'
ผู้จัดการทีม:
ดีดีเย เดช็อง

ผู้เล่นยอดเยี่ยมประจำนัด:
ลิโอเนล เมสซิ (อาร์เจนตินา)[35]

ผู้ช่วยผู้ตัดสิน:
ปาแวว ซอกอลญิตสกี (โปแลนด์)
ตอมัช ลิสต์กีแยวิตช์ (โปแลนด์)
ผู้ตัดสินที่สี่:
อิสมาอีล อัลฟัตห์ (สหรัฐ)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินสำรอง:
แคทริน เนสบิตต์ (สหรัฐ)
ผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:
ตอมัช กเฟียตกอฟสกี (โปแลนด์)
ผู้ช่วยของผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:
ฮวน โซโต (เวเนซุเอลา)
ไคล์ แอตกินส์ (สหรัฐ)
เฟร์นันโด เกร์เรโร (เม็กซิโก)
ผู้ช่วยสำรองของผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:
บัสทีอัน ดังเคิร์ท (เยอรมนี)
ผู้ช่วยของผู้ช่วยสำรองของผู้ช่วยผู้ตัดสินวิดีโอ:
คอรีย์ พาร์กเกอร์ (สหรัฐ)

กติกาการแข่งขัน[36]

  • เวลาปกติ 90 นาที
  • ต่อเวลาพิเศษ 30 นาที
  • ดวลจุดโทษ ถ้ายังเสมอกันในช่วงต่อเวลาพิเศษ
  • รายชื่อสำรองสูงสุดสิบสองคนต่อทีม
  • เปลี่ยนตัวได้สูงสุดห้าครั้ง โดยอนุญาตให้มีครั้งที่หกในช่วงต่อเวลาพิเศษ[note 1]

หมายเหตุ

แก้
  1. แต่ละทีมจะได้รับโอกาสในการเปลี่ยนตัวเพียงสามครั้ง โดยมีโอกาสครั้งที่สี่ในช่วงต่อเวลาพิเศษ ไม่รวมการเปลี่ยนตัวในช่วงพักครึ่งเวลา ก่อนเริ่มการต่อเวลาพิเศษ และช่วงต่อเวลาพิเศษในครึ่งแรก

อ้างอิง

แก้
  1. "FIFA World Cup – Final – Argentina v France". FIFA. 18 December 2022. สืบค้นเมื่อ 18 December 2022.
  2. "Doha, Qatar Weather History". Weather Underground. 18 December 2022. สืบค้นเมื่อ 18 December 2022.
  3. "Lionel Messi made to wear traditional Arab bisht for World Cup trophy lift". The Daily Telegraph. 18 December 2022. สืบค้นเมื่อ 18 December 2022.
  4. Lucas, Katherine (18 December 2022). "How many times have Argentina won the World Cup? Their history explained as Messi bids to emulate Maradona". i. สืบค้นเมื่อ 24 December 2022.
  5. Brewin, John (3 July 2019). "Brazil 2–0 Argentina: Copa América semi-final – as it happened". The Guardian.
  6. "Argentina stun Brazil in Copa América final to end 28-year trophy drought". The Guardian. 11 July 2021.
  7. "Argentina beat Brazil 1–0 to win Copa America, 1st major title in 28 yrs". Reuters. 11 July 2021.
  8. "Messi echoes Maradona in masterclass as Argentina sends epic World Cup statement". Fox Sports. 1 June 2022.
  9. Walker-Roberts, James (22 November 2022). "Argentina are favourites for World Cup 2022 win in Qatar with 'happy' Lionel Messi, says Joe Cole". Eurosport. สืบค้นเมื่อ 20 December 2022.
  10. "World Cup 2022 betting odds: which team are favourites to win?". Reuters. 14 December 2022. สืบค้นเมื่อ 20 December 2022.
  11. "France 0–1 Germany". BBC Sport. สืบค้นเมื่อ 15 December 2022.
  12. Borden, Sam (10 July 2016). "At Euro 2016 Final, Portugal Loses Ronaldo but Defeats France". The New York Times. ISSN 0362-4331. สืบค้นเมื่อ 15 December 2022.
  13. Collings, Simon (18 November 2022). "Rating the World Cup favourites: Brazil, Argentina and France". Evening Standard. สืบค้นเมื่อ 20 December 2022.
  14. "Who is Vittorio Pozzo French World Cup coach Didier Deschamps is trying to emulate". FIFA. สืบค้นเมื่อ 14 December 2022.
  15. West, Jenna (15 July 2018). "Didier Deschamps Becomes Third to Win World Cup as Player and Manager". Sports Illustrated. สืบค้นเมื่อ 16 July 2018.
  16. Brown, Oliver (17 December 2022). "France's future is intoxicating – which is frightening for everyone else". The Daily Telegraph. สืบค้นเมื่อ 24 December 2022.
  17. Liew, Jonathan (30 June 2018). "Why France vs Argentina was one of the greatest World Cup games of all time". The Independent. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 10 July 2018.
  18. "Pavard's stunner voted Hyundai Goal of the Tournament". FIFA. สืบค้นเมื่อ 20 December 2022.
  19. "France v Argentina Live Commentary & Result, 30/06/18, World Cup". Goal. สืบค้นเมื่อ 20 December 2022.
  20. "2018 FIFA World Cup Russia: France – Argentina". FIFA. สืบค้นเมื่อ 20 December 2022.[ลิงก์เสีย]
  21. "adidas reveals the FIFA World Cup official Finals match ball". FIFA. 11 December 2022. สืบค้นเมื่อ 11 December 2022.
  22. "Golden 'Teamgeist Berlin' ball for the FIFA World Cup Final". FIFA. 18 April 2006. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 May 2019.
  23. FIFA.com (20 April 2010). "Glittering golden ball for Final". FIFA. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 April 2010. สืบค้นเมื่อ 17 June 2016.
  24. "adidas Brazuca Final Rio unveiled". FIFA. 29 May 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 29 May 2014. สืบค้นเมื่อ 14 July 2014.
  25. "adidas Football Reveals Official Match Ball for the Knockout Stage of the 2018 FIFA World Cup Russia". FIFA. 26 June 2018. สืบค้นเมื่อ 26 June 2018.
  26. "Lusail Stadium". Supreme Committee for Delivery & Legacy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-05-04. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  27. "Lusail Iconic Stadium for Qatar 2022 is revealed at Leaders in Football conference in London" (Press release). Foster and Partners. 6 October 2010. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  28. "FIFA World Cup match schedule confirmed: hosts Qatar to kick off 2022 tournament at Al Bayt Stadium". FIFA. 15 July 2020. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  29. "FIFA World Cup Qatar 2022 – Match Schedule" (PDF). FIFA. 11 August 2022. สืบค้นเมื่อ 11 August 2022.
  30. "Lusail Iconic Stadium – FIFA World Cup Qatar". e-architect. 7 March 2019. สืบค้นเมื่อ 20 January 2022.
  31. "Lusail Iconic Stadium". World Construction Network. 1 February 2011. สืบค้นเมื่อ 24 December 2022.
  32. "Qatar's Lusail Iconic Stadium for Solar World Cup Stadium". architecture-view.com. 27 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 June 2016. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
  33. "Work starts on Qatar World Cup final stadium at Lusail". The Peninsula. 12 April 2017. สืบค้นเมื่อ 24 February 2022.
  34. Parkes, James (23 November 2021). "Foster + Partners-designed Lusail Stadium among eight completed Qatar World Cup venues". Dezeen. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.
  35. "Argentina and Messi spot on for World Cup glory". FIFA. 18 December 2022. สืบค้นเมื่อ 18 December 2022.
  36. "Regulations – FIFA World Cup Qatar 2022" (PDF). FIFA.com. Fédération Internationale de Football Association. 15 December 2021. สืบค้นเมื่อ 30 March 2022.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้