พันธุ์สวลี กิติยากร

พระมารดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นสุทธนารีนาถ

ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร (เดิม หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล; ประสูติ 24 กันยายน พ.ศ. 2476) เป็นพระธิดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล เป็นพระมารดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ และยังเป็นพระอัยยิกาในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา


พันธุ์สวลี กิติยากร

เกิดหม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล
24 กันยายน พ.ศ. 2476 (91 ปี)
คู่สมรสหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากร
บุตรพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ
หม่อมหลวงสราลี กิติยากร
บิดามารดาพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล
หม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล

ประวัติ

แก้

ชีวิตตอนต้น

แก้

ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลีมีฐานันดรศักดิ์เดิมคือ หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล พระนามลำลองว่า ท่านหญิงปิ๋ม เป็นพระธิดาองค์ใหญ่ในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล กับหม่อมหลวงสร้อยระย้า ยุคล (ราชสกุลเดิม สนิทวงศ์) มีเจ้าน้องร่วมมารดาสององค์คือหม่อมเจ้าฐิติพันธุ์ ยุคล (ท่านชายกบ), รังษีนภดล ยุคล (ท่านหญิงอ๋อย) และมีเจ้าน้องต่างมารดาอีกสามองค์ สำเร็จการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนราชินี เมื่อ พ.ศ. 2493 แล้วทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ

สมรส

แก้

หม่อมเจ้าพันธุ์สวลีได้พบกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์ กิติยากรครั้งแรก ในงานเลี้ยงสังสรรค์ของหมู่นักเรียนไทยในอังกฤษ และเป็นจุดเริ่มต้นของความสัมพันธ์[1] ต่อมาหม่อมเจ้าพันธุ์สวลีได้ขอพระราชทานกราบถวายบังคมลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2499 เพื่อสมรสกับหม่อมราชวงศ์อดุลกิติ์[2] พระเชษฐาในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เมื่อวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2499[3] มีธิดาหนึ่งพระองค์กับหนึ่งคน ได้แก่

  1. พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถ (เดิม หม่อมหลวงโสมสวลี กิติยากร; ประสูติ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2500) อภิเษกสมรสและหย่ากับพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว[4][5] มีพระราชธิดาหนึ่งพระองค์คือ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี กรมหลวงราชสาริณีสิริพัชร มหาวัชรราชธิดา
  2. หม่อมหลวงสราลี กิติยากร (เกิด 8 เมษายน พ.ศ. 2509) สมรสและหย่ากับธีรเดช จิราธิวัฒน์ มีบุตรชายสองคนคือ สุทธกิตติ์และสิทธิกิตติ์ จิราธิวัฒน์

เกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล
(พ.ศ. 2476–2499)
การทูลฝ่าพระบาท
การแทนตนกระหม่อม/หม่อมฉัน
การขานรับกระหม่อม/เพคะ

ฐานันดรศักดิ์และคำนำหน้านาม

แก้
  • 24 กันยายน พ.ศ. 2476 – 10 เมษายน พ.ศ. 2499 : หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล
  • 10 เมษายน พ.ศ. 2499 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 : นางสาวพันธุ์สวลี กิติยากร
  • 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2511 – 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 : คุณหญิงพันธุ์สวลี กิติยากร
  • 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2532 – ปัจจุบัน : ท่านผู้หญิงพันธุ์สวลี กิติยากร

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

ตั้งตามนาม

แก้

ลำดับสาแหรก

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ""รักของท่านหญิง" สำรวจความรัก-การแต่งงานของเจ้านายสตรีที่เปลี่ยนไปหลัง 2475". ศิลปวัฒนธรรม. 19 มีนาคม 2562. สืบค้นเมื่อ 23 ตุลาคม 2562. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสำนักพระราชวัง ที่ ๓/๒๔๙๙ เรื่อง พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์ (หม่อมเจ้าพันธุ์สวลี ยุคล), เล่ม ๗๓, ตอน ๕๙, ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ หน้า ๒๑๒๖
  3. กิติวัฒนา (ไชยันต์) ปกมนตรี, หม่อมราชวงศ์. สายพระโลหิตในพระพุทธเจ้าหลวง. กรุงเทพฯ : ดีเอ็มดี, พ.ศ. 2551. 290 หน้า. ISBN 978-974-312-022-0
  4. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ สถาปนา พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรชายาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร, เล่ม ๙๔, ตอน ๑๓ ก, ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๒๐, หน้า ๖๒
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เฉลิมพระนาม (พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ), เล่ม ๑๐๘, ตอน ๑๔๐ก ฉบับพิเศษ, ๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๔, หน้า ๑
  6. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2540" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (27ข): 8. 3 ธันวาคม 2540. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-09-27. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2553. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  7. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี 2538" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (17ข): 20. 4 ธันวาคม 2538. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2010-02-02. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2553. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  8. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ฝ่ายหน้าและฝ่ายใน ประจำปี 2532" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 106 (73ง ฉบับพิเศษ): 5. 4 พฤษภาคม 2532. สืบค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2553. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. จรัล บรรยงคเสนา (28 สิงหาคม 2560). "พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ทรงเป็นประธานเททองหล่อพระวัดทองทั่วจันทบุรี". สำนักงานประชาสัมพันธ์จันทบุรี. สืบค้นเมื่อ 16 ตุลาคม 2561. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้