พระนางมารีย์พรหมจารี

(เปลี่ยนทางจาก พระแม่มารีย์)

คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกและออร์โธด็อกซ์เรียกนางมารีย์ (มารดาพระเยซู) ว่า พระนางมารีย์พรหมจารี[1] (อังกฤษ: the Blessed Virgin Mary) เพราะเชื่อว่าพระแม่มารีย์เป็นพรหมจารีเสมอ และพระเยซูซึ่งเชื่อว่าเป็นพระบุตรพระเป็นเจ้าก็มารับสภาพมนุษย์ผ่านทางพระครรภ์ของพระแม่มารีย์ จึงทำให้พระแม่มารีย์มีสถานะเป็น "พระมารดาพระเจ้า" ด้วย คริสตจักรโรมันคาทอลิกได้รับรองความเชื่อนี้มาตั้งแต่สังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง ในปี ค.ศ. 431 ในสภาสังคายนาสากลครั้งต่อ ๆ มา เช่น สังคายนาวาติกันครั้งที่สอง และพระสมณสาส์น "มารดาพระผู้ไถ่" ของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ได้แสดงถึงความสำคัญของพระแม่มารีย์ว่าเป็นมารดาคริสตจักรด้วย

พระนางมารีย์พรหมจารี
พระมารดาพระเจ้า ราชินีสวรรค์
มารดาคริสตจักร
เกิด8 กันยายน (แม่พระบังเกิด)
เสียชีวิต15 สิงหาคม (แม่พระรับเกียรติยกขึ้นสวรรค์)
นิกายโรมันคาทอลิก
อีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์
ออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์

คริสตจักรโรมันคาทอลิกให้ความสำคัญกับพระแม่มารีย์อย่างมากในฐานะมารดาของพระเยซู การเคารพนับถือแม่พระแสดงออกมาในหลายรูปแบบ เช่น บทภาวนา กวีนิพนธ์ และงานศิลปะ[2][3][4][5] พระสันตะปาปาหลาย ๆ พระองค์ก็ทรงส่งเสริมความเชื่อนี้มาตลอด จนทำให้ศาสนจักรคาทอลิกมีงานเฉลิมฉลองและมอบสถานะพิเศษแก่พระแม่มารีย์มากกว่าที่นิกายอื่น ๆ ในศาสนาคริสต์ทำมา[6]

บทบาทของพระแม่มารีย์ที่ปรากฏในรูปความเชื่อ ความเคารพ และหลักมารียวิทยา ไม่ได้มาจากเฉพาะวาติกันเท่านั้น แต่ยังมาจากงานเขียนของนักบุญต่าง ๆ ความเชื่อของมวลชน และเรื่องการประจักษ์ของพระแม่มารีย์ตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งทุกวันนี้สันตะสำนักยังคงดำเนินการพิสูจน์การประจักษ์เหล่านี้อยู่ การรับรองครั้งล่าสุดคือแม่พระประจักษ์ที่แซ็ง-เอเตียน-เลอ-เลา ซึ่งสันตะสำนักรับรองเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2008[7]

วันฉลอง

แก้

คริสตจักรโรมันคาทอลิกกำหนดให้มีวันฉลองพระนางมารีย์หลายวัน วันที่สำคัญที่สุดเรียกว่า วันสมโภช (solemnity) มี 3 วัน ได้แก่

นอกจากนี้ยังมีวันฉลอง (feast) และวันระลึกถึง (memorial) ซึ่งคริสตจักรเฉพาะถิ่นแต่ละแห่งจะกำหนดต่างกันไป โดยคริสจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทยกำหนดวันฉลองและวันระลึกถึงพระแม่มารีย์ ดังนี้

สมัญญาของพระแม่มารีย์

แก้

คริสตจักรโรมันคาทอลิกถวายสมัญญาแก่พระนางมารีย์มาโดยตลอด เพื่อแสดงถึงการให้เกียรติและเชื่อว่าพระนางจะช่วยเหลือผู้ศรัทธาโดยเป็นตัวแทนอ้อนวอนพระเป็นเจ้าให้

สมัญญาที่สำคัญในยุคแรก ๆ เช่น "พระมารดาพระเจ้า" เกิดขึ้นเมื่อมีการสังคายนาเอเฟซัสครั้งที่หนึ่ง นอกจากนี้ก็มี "พระแม่เจ้า" (our lady) พระราชินี (queen) และดาราสมุทร (star of the sea) ในบรรดาสามัญญาเหล่านี้ "ราชินี" ถือเป็นสมัญญาที่เก่าแก่ที่สุด ส่วนสมัญญา "พระแม่เจ้า" และ "ดาราสมุทร" นักบุญเจอโรมเป็นผู้คิดขึ้น

สมัญญาที่สำคัญ ได้แก่

อ้างอิง

แก้
  1. คณะกรรมการคาทอลิกเพื่อพิธีกรรม, บทภาวนาของคริสตชน (ฉบับปรับปรุง ค.ศ. 2010)[ลิงก์เสีย], หน้า 7
  2. Santa Maria article http://www.time.com/time/magazine/article/0,9171,730158-1,00.html เก็บถาวร 2013-06-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. Merriam-Webster's encyclopedia of world religions by Wendy Doniger, 1999 ISBN 0-87779-044-2 page 696 [1]
  4. Symbolic scores: studies in the music of the Renaissance by Willem Elders 1997 ISBN 90-04-09970-0 page 151 [2]
  5. Maiden and mother: Prayers, hymns, devotions, and songs to the Beloved Virgin Mary Throughout the Year by Margaret M. Miles 2001 ISBN 0-86012-305-7 page vii [3]
  6. Encyclopedia of Catholicism by Frank K. Flinn, J. Gordon Melton 2007 ISBN 0-8160-5455-X pages 443–444
  7. "Vatican recognizes Marian apparitions in France :: Catholic News Agency (CNA)". Catholic News Agency. 2008-05-05. สืบค้นเมื่อ 2012-08-22.