พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

สมาชิกราชวงศ์ไทย

มหาเสวกโท พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ (20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2474) มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร เป็นพระบิดาแห่งการละครร้อง เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาเขียน เป็นกวีและนักประพันธ์ ทรงดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ และองคมนตรีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นต้นราชสกุลวรวรรณ[1]

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ ชั้น 4
พระองค์เจ้าชั้นเอก
รองเสนาบดีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
ประสูติ20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404
จังหวัดพระนคร ประเทศสยาม
สิ้นพระชนม์1 ตุลาคม พ.ศ. 2474 (69 ปี)
จังหวัดพระนคร
ประเทศสยาม
หม่อม13 คน
พระบุตร35 องค์
ราชสกุลวรวรรณ
ราชวงศ์จักรี
พระบิดาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระมารดาเจ้าจอมมารดาเขียน ในรัชกาลที่ 4

พระประวัติ

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 56 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาเขียน ประสูติเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404

พระองค์ทรงเริ่มรับราชการที่หอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นพนักงานการเงินที่ฝากแบงค์ต่างประเทศ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี[2][3] และสถาปนาขึ้นเป็นพระองค์เจ้าต่างกรมมีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2432[4] ดำรงตำแหน่งรองเสนาบดีกรมพระคลังมหาสมบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนกรมขึ้นเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า[5]

"พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มกุฏวงศ์นฤบดี มหากวีนิพันธนวิจิตร ราชโกษาธิกิจจิรุปการ บรมนฤบาลมหาสวามิภักดิ์ ขัตติยศักดิ์อดุลพหุลกัลยาณวัตร ศรีรัตนไตรย์คุณาลงกรณ์ นรินทรบพิตร"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ประชวรพระโรคพระอันตะ (ลำไส้ใหญ่) และสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระชันษาได้ 69 ปี 315 วัน[6] มีพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพเมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2476 ณ พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส[7]

พระโอรสและพระธิดา

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีหม่อม 13 คน ได้แก่

  • หม่อมต่วนใหญ่
  • หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา (สกุลเดิม สวัสดิ์-ชูโต)
  • หม่อมเจียม
  • หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ (ราชสกุลเดิม มนตรีกุล)
  • หม่อมอินทร์
  • หม่อมบุญ
  • หม่อมหลวงตาด (ราชสกุลเดิม มนตรีกุล)
  • หม่อมแช่ม (สกุลเดิม วงศาโรจน์)
  • หม่อมแถม
  • หม่อมสุ่น (สกุลเดิม เพ็ญกุล)
  • หม่อมเชื้อเล็ก
  • หม่อมพร้อม
  • หม่อมแสร์

มีพระโอรส 1 พระองค์ กับ 20 องค์ และมีพระธิดา 2 พระองค์ กับ 12 องค์ รวม 35 พระองค์/องค์ ได้แก่

ลำดับ พระรูปและพระนาม เพศ พระมารดา ประสูติ สิ้นพระชนม์/ถึงชีพิตักษัย คู่เสกสมรส
1
 
หม่อมเจ้าพรรณพิมล
(ท่านหญิงใหญ่)
ญ. หม่อมต่วนใหญ่ 13 กันยายน พ.ศ. 2423 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2443
2
 
หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ
(ท่านชายตุ๊)
ช. หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา 9 มิถุนายน พ.ศ. 2431[8] 19 มิถุนายน พ.ศ. 2496 หม่อมโจฮันนา (เวเบอร์)
หม่อมสมรวย (มุกแจ้ง)
3
 
หม่อมเจ้าพรพิมลพรรณ รัชนี
(ท่านหญิงตุ้ม)
ญ. หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2433[8] 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2524 พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
4
 
หม่อมเจ้า
ช. ไม่มีข้อมูล พ.ศ. 2433 พ.ศ. 2433
5
 
หม่อมเจ้าสิริวันต์
(ท่านหญิงต่อม)
ญ. หม่อมเจียม 13 สิงหาคม พ.ศ. 2434 13 สิงหาคม พ.ศ. 2434
6
 
หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ
(ท่านชายตุ๋ยตุ่ย)
ช. หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2434[8] 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 หม่อมชั้น (บุนนาค)
หม่อมฟื้น (บุนนาค)
7
 
พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์
(พระองค์ชายต้อม)
ช. หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2434[8] 5 กันยายน พ.ศ. 2519 หม่อมเจ้าพิบูลเบญจางค์ (กิติยากร)
หม่อมพร้อยสุพิณ (บุนนาค)
8
 
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภาเทวี
(พระองค์หญิงเตอะ)
ญ. หม่อมอินทร์ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2435[8] 7 เมษายน พ.ศ. 2494
9
 
หม่อมเจ้าปริญญากร
(ท่านชายโต)
ช. หม่อมบุญ 2 เมษายน พ.ศ. 2436 29 มีนาคม พ.ศ. 2452
10
 
หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ
(ท่านชายเต๋อ)
ช. หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา 5 เมษายน พ.ศ. 2436[8] 16 มีนาคม พ.ศ. 2514 หม่อมแก้ว (เอี่ยมจำนงค์)
หม่อมเล็ก (เจริญจันทร์แดง)
11
 
หม่อมเจ้าวรรณีศรีสมร วรวรรณ
(ท่านหญิงต้อย)
ญ. หม่อมต่วนใหญ่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2436[8] พ.ศ. 2487
12
 
หม่อมเจ้าเต๋า
(ท่านชายเต๋า)
ช. ไม่มีข้อมูล 12 กันยายน พ.ศ. 2437 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2438
13
 
หม่อมเจ้าอรทิพยประพันธ์ เทวกุล
(ท่านหญิงตุ้ย)
ญ. หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา 26 เมษายน พ.ศ. 2438[8] 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2505 หม่อมเจ้าดำรัสดำรง เทวกุล
14
 
หม่อมเจ้าสุวิชากร วรวรรณ
(ท่านชายตั๋ง)
ช. หม่อมบุญ 8 กันยายน พ.ศ. 2439[8] 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2511 หม่อมพริ้ม (เลาหเศรษฐี)
15
 
หม่อมเจ้านันทนามารศรี วรวรรณ
(ท่านหญิงเต่า)
ญ. หม่อมอินทร์ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2439[8] 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2510
16
 
หม่อมเจ้าศิวากร วรวรรณ
(ท่านชายต่อ)
ช. หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ 20 มีนาคม พ.ศ. 2440[8] 5 มีนาคม พ.ศ. 2503
17
 
หม่อมเจ้าสิทธยากร วรวรรณ
(ท่านชายต้อ)
ช. หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา 13 เมษายน พ.ศ. 2440[8] 27 เมษายน พ.ศ. 2508 หม่อมดำริห์ (บุนนาค)
18
 
หม่อมเจ้าไปรมากร วรวรรณ
ช. หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา 16 มีนาคม พ.ศ. 2442[8] 25 มีนาคม พ.ศ. 2519 หม่อมน้อย (สุวรรณศร)
หม่อมสมศรี (ประภาเพ็ชร)
หม่อมอรุณ
19
 
พระนางเธอ ลักษมีลาวัณ
(พระนางติ๋ว)
ญ. หม่อมหลวงตาด 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2442[8] 29 สิงหาคม พ.ศ. 2504 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
20
 
หม่อมเจ้าวรวีรากร วรวรรณ
(ท่านชายตัน)
ช. หม่อมแช่ม 8 กันยายน พ.ศ. 2443[8] 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2509 หม่อมแพร (ศรีวรรธนะ)
หม่อมเริ่มจิตต์ (พึ่งบารมี)
21
 
หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ
(ท่านชายติ่ง)
ช. หม่อมบุญ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2443[8] 27 สิงหาคม พ.ศ. 2524 หม่อมสรรพางค์ (บุรณะปินท์)
หม่อมจิตรา (ปันยารชุน)
22
 
หม่อมเจ้าดุลภากร วรวรรณ
(ท่านชายเต๋าเล็ก)
ช. หม่อมอินทร์ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2443[8] 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2544 หม่อมสิรี (ตัณฑัยย์)
23
 
หม่อมเจ้าบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ
(ท่านหญิงแต๋ว)
ญ. หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา 1 เมษายน พ.ศ. 2445[8] 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 พลเอกมังกร พรหมโยธี
24
 
หม่อมเจ้า
ช. หม่อมแถม พ.ศ. 2445 ในวันประสูติ
25
 
หม่อมเจ้าหัชชากร วรวรรณ
(ท่านชายติ๊ด)
ช. หม่อมบุญ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2446[8] 9 มีนาคม พ.ศ. 2528 หม่อมสมหทัย (เสนีเศรษฐ)
26
 
หม่อมเจ้าสรรพางค์พิมล วรวรรณ
(ท่านหญิงติ๋น)
ญ. หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 28 สิงหาคม พ.ศ. 2463
27
 
หม่อมเจ้าศรีสอางค์นฤมล เกษมสันต์
(ท่านหญิงตวง)
ญ. หม่อมอินทร์ 12 เมษายน พ.ศ. 2448[8] 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 หม่อมเจ้าลักษณากร เกษมสันต์
28
 
อุบล วรวรรณ
(ท่านหญิงตัด)
ญ. หม่อมผัน วรวรรณ ณ อยุธยา 17 สิงหาคม พ.ศ. 2448[8] 6 ธันวาคม พ.ศ. 2528 ฮาโรลด์ แครบบ์
29
 
ฤดีวรวรรณ วรวรรณ
(ท่านหญิงน้อย)
ญ. หม่อมสุ่น 1 เมษายน พ.ศ. 2454[8] 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 หม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร
ปุ๊ ประไพลักษณ์
โรเบิร์ต เอส. อาร์โนลด์
30
 
หม่อมเจ้าดวงตา
(ท่านหญิงนิด)
ญ. หม่อมเชื้อเล็ก 4 เมษายน พ.ศ. 2454 23 ธันวาคม พ.ศ. 2454
31
 
หม่อมเจ้าบุษยากร วรวรรณ
(ท่านชายเติบ)
ช. หม่อมพร้อม 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2458
32
 
หม่อมเจ้าฉันทนากร วรวรรณ
(ท่านชายตั๋น)
ช. หม่อมสุ่น 7 ธันวาคม พ.ศ. 2458[8] พ.ศ. 2506 หม่อมมนวิภา (โมชดารา)
33
 
หม่อมเจ้าเจตนากร วรวรรณ
(ท่านชายเต้ก)
ช. หม่อมแสร์ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2459[8] 3 มกราคม พ.ศ. 2491 หม่อมมนิตย์ (รามโยธิน)
34
 
หม่อมเจ้าอภิญญากร วรวรรณ
ช. หม่อมแสร์ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2465[8] 18 เมษายน พ.ศ. 2516
35
 
หม่อมเจ้าสุนทรากร วรวรรณ
(ท่านชายอ้วน)
ช. หม่อมสุ่น 3 ตุลาคม พ.ศ. 2467[8] 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2525

พระนัดดา

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ มีพระนัดดารวม 74 พระองค์/องค์/คน ดังนี้

  • หม่อมเจ้าสกลวรรณากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจิรี วรวรรณ เกิดแต่หม่อมโจฮันนา
    • หม่อมราชวงศ์สกุล วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมรวย
  • หม่อมเจ้าหญิงพรพิมลพรรณ รัชนี มีโอรสธิดา 2 พระองค์/องค์ ได้แก่
  • พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์วิบุลย์เกียรติ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมเจ้าพิบูลเบญจางค์
    • หม่อมราชวงศ์วิวรรณ เศรษฐบุตร เกิดแต่หม่อมพร้อยสุพิณ
  • หม่อมเจ้าวัลภากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 9 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์เริงวรรณ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมชั้น
    • หม่อมราชวงศ์หญิงพรรณจิตร กรรณสูต เกิดแต่หม่อมชั้น
    • หม่อมราชวงศ์ชวนิศนดากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมชั้น
    • หม่อมราชวงศ์ฉันทนากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมชั้น
    • หม่อมราชวงศ์ถวัลภากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมชั้น
    • หม่อมราชวงศ์วรวัลลภ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมฟื้น
    • หม่อมราชวงศ์สุรวรรณ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมฟื้น
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวรวัณณา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมฟื้น
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสุรีย์วรรณ รัตนกรี เกิดแต่หม่อมฟื้น
  • หม่อมเจ้านิตยากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 8 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์อาชวากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมแก้ว
    • หม่อมราชวงศ์กัลยากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมแก้ว
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอัศวินี สนิทวงศ์ เกิดแต่หม่อมแก้ว
    • ท่านผู้หญิงดัชรีรัชนา รัชนี เกิดแต่หม่อมแก้ว
    • หม่อมราชวงศ์ศุภนิตย์ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมแก้ว
    • หม่อมราชวงศ์หญิงนิติมา พนมยงค์ เกิดแต่หม่อมแก้ว
    • หม่อมราชวงศ์หญิงมลุลี สายาลักษณ์ เกิดแต่หม่อมเล็ก
    • หม่อมราชวงศ์หญิงมัลลิกา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมเล็ก
  • หม่อมเจ้าหญิงอรทิพยประพันธ์ เทวกุล มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวรรณทิพย์ เทวกุล
    • หม่อมราชวงศ์ทรงดำรัส เทวกุล
    • หม่อมราชวงศ์หญิงทิพยวรรณา นิติพน
  • หม่อมเจ้าสุวิชากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์อุตตมากร วรวรรณ (แฝด) เกิดแต่หม่อมพริ้ม
    • หม่อมราชวงศ์อุตตรากร วรวรรณ (แฝด) เกิดแต่หม่อมพริ้ม
    • หม่อมราชวงศ์ชีโวสวิชากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมพริ้ม
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสิรยากร ศิลปี เกิดแต่หม่อมพริ้ม
  • หม่อมเจ้าสิทธยากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 2 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ฐวิศวากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมดำริห์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวัลลีวรินทร์ สิริสิงห์ เกิดแต่หม่อมดำริห์
  • หม่อมเจ้าไปรมากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 7 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์ไกรศวากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมน้อย
    • หม่อมราชวงศ์ปรัชญากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมน้อย
    • หม่อมราชวงศ์หญิงมาลินี นันทาภิวัฒน์ เกิดแต่หม่อมน้อย
    • หม่อมราชวงศ์กรุณากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมน้อย
    • หม่อมราชวงศ์รัตนากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมน้อย
    • หม่อมราชวงศ์หญิงศิริมา ชมสุรินทร์ เกิดแต่หม่อมสมศรี
    • หม่อมราชวงศ์เปรมการ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมอรุณ
  • หม่อมเจ้าวรวีรากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 4 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์วีรเดช วรวรรณ เกิดแต่หม่อมแพร
    • หม่อมราชวงศ์สราวุธ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมแพร
    • ท่านผู้หญิงรวิจิตร์ สุวรรณบุปผา เกิดแต่หม่อมเริ่มจิตต์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงอภิรจิต อาภาศิลป์ เกิดแต่หม่อมเริ่มจิตต์
  • หม่อมเจ้าโวฒยากร วรวรรณ มีโอรส 2 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์วิวัฒน์ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสรรพางค์
    • หม่อมราชวงศ์ชาญวุฒิ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมจิตรา
  • หม่อมเจ้าดุลภากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 11 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวรรณาภรณ์ ศุขเนตร เกิดแต่หม่อมสิรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงลภาพรรณ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสิรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงมารศรี สุจริตกุล เกิดแต่หม่อมสิรี
    • หม่อมราชวงศ์กรณี วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสิรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงเบญจวรรณ จักรพันธุ์ เกิดแต่หม่อมสิรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจารุวรรณ ทิวารี เกิดแต่หม่อมสิรี
    • หม่อมราชวงศ์พลากร วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสิรี
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสาวิกา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสิรี
    • หม่อมราชวงศ์วรากร วรวรรณ เกิดแต่พิศมัย สุดรุ่งเรือง
    • หม่อมราชวงศ์พงศ์กวี วรวรรณ เกิดแต่พิศมัย สุดรุ่งเรือง
    • หม่อมราชวงศ์สรัล วรวรรณ เกิดแต่รุ่งนภา นทีสุวรรณ
  • หม่อมเจ้าหญิงบรรเจิดวรรณวรางค์ วรวรรณ มีโอรส 2 คน ได้แก่
    • กำจรเดช พรหมโยธี (แฝด)
    • เจตกำจร พรหมโยธี (แฝด)
  • หม่อมเจ้าหัชชากร วรวรรณ มีโอรสธิดา 7 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสดุดีภา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
    • หม่อมราชวงศ์ณัฏฐธรรม วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
    • หม่อมราชวงศ์หญิงทัชวรรณ สายเชื้อ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจุฑาภา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
    • หม่อมราชวงศ์ภูมินทร์ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสิริมาดา วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
    • หม่อมราชวงศ์จักรินทร์ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมสมหทัย
  • หม่อมเจ้าหญิงศรีสอางค์นฤมล เกษมสันต์ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงลักษณสอาง เกษมสันต์
    • หม่อมราชวงศ์ศรีลักษณ์ เกษมสันต์
    • หม่อมราชวงศ์หญิงนฤมล พิชัยสนิท
  • อุบล วรวรรณ มีธิดา 1 คน ได้แก่
    • นรา วนิดา แคร้บบ์
  • ฤดีวรวรรณ วรวรรณ มีโอรสธิดา 3 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์สมชนก กฤดากร โอรสในหม่อมเจ้าชิดชนก กฤดากร
    • วรรณจิตต์ กฤษณามระ ธิดาของปุ๊ ประไพลักษณ์
    • คนทิพย์ โลทแมน ธิดาของปุ๊ ประไพลักษณ์
  • หม่อมเจ้าฉันทนากร วรวรรณ มีโอรส 1 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์มนัตถ์ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมมนวิภา
  • หม่อมเจ้าเจตนากร วรวรรณ มีธิดา 1 คน ได้แก่
    • หม่อมราชวงศ์หญิงทิพยลาวัณ วรวรรณ เกิดแต่หม่อมมนิต

พระนิพนธ์

แก้

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์มีชื่อเสียงจากงานพระนิพนธ์หลายชิ้นที่รู้จักกันดี ได้แก่ บทละครพูดเรื่อง "สร้อยคอที่หาย" ซึ่งเคยบรรจุในหนังสือเรียนวิชาภาษาไทยของกระทรวงศึกษาธิการ บทละครร้อง "สาวเครือฟ้า" ซึ่งได้สร้างตัวละครให้กลายเป็นคนที่เหมือนกับมีตัวจริงขึ้นมา 2 คน คือ ร้อยตรีพร้อม และสาวเครือฟ้า ทรงก่อตั้งโรงละครร้องขึ้นในบริเวณตำหนักที่ประทับ ชื่อว่า "โรงละครปรีดาลัย" เป็นโรงละครร้องแห่งแรกในสยาม

นอกจากนี้ยังทรงมีงานที่สำคัญ คือ พระนิพนธ์แปล จดหมายเหตุลาลูแบร์ โดยทรงแปลมาจากฉบับภาษาอังกฤษ "ตำนานพระแท่นมนังคศิลาอาสน์" รุไบยาตของโอมาร์ คัยยาม และ "นวางกุโรวาท" เป็นต้น พระองค์ทรงใช้นามปากกาว่า "ประเสริฐอักษร" เพื่อทรงพระนิพนธ์เรื่องสั้นไว้จำนวนหนึ่งอีกด้วย รวมไปถึง ละครร้องเรื่อง “อีนากพระโขนง” ที่มีการนำโอ่งเจาะรูพอให้คนเข้าไปแอบ นำมาไว้กลางโรงละครตอนแสดงให้ผู้เล่นเป็นอีนากพระโขนงโผล่ออกมา ทำให้ผู้ชมตกตะลึง แลเป็นที่นิยมมาก ดั่งกลอนที่ ส.พลายน้อยเขียนไว้ว้า “เรื่องอีนากพระโขนงออกโรงสู้ จนคนดูดูไม่ได้มาหลายหน ต้องเล่นใหม่เพื่อให้ทันใจคน ทั้งห้าหนสิบหนยังล้นโรง” และยังเป็นต้นตอที่ให้ผ้วอีนากชื่อมากอีกด้วย

ผลงานในด้านพระนิพนธ์บางเรื่อง คือ ละครปักษีปะกรนัมเรื่อง "พญาระกา" ทำให้เกิดคดีพญาระกาในเวลาต่อมา เนื่องจากเนื้อเรื่องนั้นกระทบกระเทือนถึงพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ที่ทรงคุ้มครองและช่วยเหลือนางละครของคณะพระองค์เอง ทั้งยังเป็นหม่อมของพระองค์อีกด้วย ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขังพระองค์ไว้ในพระบรมมหาราชวัง มีกำหนด 1 ปี โดยหม่อมและพระโอรสธิดาเข้าเยี่ยมได้เป็นเวลาตามควร[9]

บทละครเรื่องสาวเครือฟ้า

แก้

พระองค์ได้เค้าเรื่องนี้จากละครอุปรากร (โอเปรา) เรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลาย ของจาโกโม ปุชชีนี อุปรากรเรื่องนี้ได้ต้นเค้ามาจากนวนิยายของจอห์น ลูเธอร์ ลอง อีกต่อหนึ่งในคราวที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2450 ได้ทอดพระเนตรการแสดงละครอุปรากรที่ฝรั่งเศส เรื่องมาดามบัตเตอร์ฟลายซึ่งเป็นเรื่องความรักและความผิดหวังระหว่างสาวญี่ปุ่นชื่อโจโจ้ซังกับทหารหนุ่มฝรั่ง เมื่อเสด็จนิวัติพระนครได้ทรงเล่าให้กรมนราธิปประพันธ์พงศ์ฟัง กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ทรงดัดแปลงเรื่องนี้มาเป็นละครร้องแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง เป็นที่พอพระหฤทัยมาก นับเป็นการเริ่มต้นกำเนิดละครร้องที่ทรงดัดแปลงมาจากละครอุปรากรของยุโรป

ทรงพระนิพนธ์เป็นบทละครร้องสลับพูด คำประพันธ์ที่ใช้เป็นประเภทกลอนเพลงไทย เพื่อใช้เป็นบทสำหรับเล่นละครร้อง

เรื่องย่อ

แก้

ร้อยตรีพร้อม ย้ายไปรับราชการที่เชียงใหม่ เกิดรักใคร่กับสาวเครือฟ้า หญิงชาวเชียงใหม่ ภายหลังได้เป็นสามีภรรยากันจนสาวเครือฟ้าให้กำเนิดบุตร ร้อยตรีพร้อมได้คำสั่งย้ายกลับกรุงเทพฯ ถูกผู้ใหญ่บังคับให้แต่งงานกับหญิงสาวชาวกรุงเทพฯ สาวเครือฟ้าเฝ้ารอสามี เมื่อได้ข่าวว่าสามีกลับเชียงใหม่ก็ดีใจไปคอยต้อนรับ ครั้นปรากฏว่าร้อยตรีพร้อมพาภรรยาชาวกรุงเทพฯมาด้วย สาวเครือฟ้าเสียใจใช้มีดแทงตัวตาย ร้อยตรีพร้อมรับบุตรไปอุปการะ

แพร่งนรา

แก้

วังวรวรรณ เป็นวังที่ประทับของกรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ตั้งอยู่ระหว่างวัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหารกับวัดมหรรณพารามวรวิหาร ต่อมาวังนี้ถูกเวนคืนเพื่อนำพื้นที่มาสร้างเป็นถนน ตามโครงการขยายความเจริญของพระนครในสมัยนั้น คงเหลือเพียงพระตำหนักไม้เก่าหลังเล็ก ที่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงละครปรีดาลัย ถูกปรับให้เป็นโรงเรียนตะละภัฏศึกษา และมีการแบ่งพื้นที่ริมถนนสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ขายให้แก่เอกชน ชาวบ้านแถบนั้นจึงเรียกย่านนั้นว่า แพร่งนรา ตามพระนามของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

พระยศ

แก้

พระยศพลเรือน

แก้
  • 17 กันยายน 2462 – มหาเสวกโท สังกัดกรมพระคลังข้างที่[10]

พระยศเสือป่า

แก้
  • พลเสือป่า
  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2460 นายกองตรี[11]

พระเกียรติยศ

แก้
ธรรมเนียมพระยศของ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์
 
ธงประจำพระอิสริยยศ
การทูลใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตนข้าพระพุทธเจ้า
การขานรับพ่ะย่ะค่ะ/เพคะ

พระอิสริยยศ

แก้
  • 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2404 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 : พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร
  • 1 ตุลาคม พ.ศ. 2411 – 8 ธันวาคม พ.ศ. 2432 : พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าวรวรรณากร
  • 8 ธันวาคม พ.ศ. 2432 – 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 : พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์
  • 23 ตุลาคม พ.ศ. 2453 – 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธ์พงศ์
  • 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464 – 1 ตุลาคม พ.ศ. 2474 : พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
เชิงอรรถ
  1. "ประกาศกรมราชเลขานุการ เรื่อง พระราชทานนามสกุล สำหรับสืบเชื้อพระวงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอชั้น ๔" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 32 (0 ง): 137. 18 เมษายน พ.ศ. 2458. สืบค้นเมื่อ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  2. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวตั้งปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 45
  3. ราชกิจจานุเบกษา, สัญญาบัตรปริวีเคาน์ซิลเลอร์, เล่ม 4, หน้า 47-48
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศตั้งกรมพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นนราธิปประพันธุพงษ์ เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม 6, ตอน 36, 8 ธันวาคม พ.ศ. 2432, หน้า 304
  5. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เลื่อนกรมตั้งพระองค์เจ้าและตั้งเจ้าพระยา, เล่ม 38, ตอน 0 ก, 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2464, หน้า 422
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ข่าวสิ้นพระชนม์, เล่ม 48, ตอน ง, 18 ตุลาคม พ.ศ. 2474, หน้า 2569
  7. ราชกิจจานุเบกษา,หมายกำหนดการ พระราชทานเพลิงพระศพและศพ ณ พระเมรุวัดเทพศิรินทราวาส เล่ม 49, ตอน ๐ ง, 12 มีนาคม พ.ศ. 2475, หน้า 4254
  8. 8.00 8.01 8.02 8.03 8.04 8.05 8.06 8.07 8.08 8.09 8.10 8.11 8.12 8.13 8.14 8.15 8.16 8.17 8.18 8.19 8.20 8.21 8.22 8.23 8.24 8.25 นราธิปประพันธ์พงศ์, กรมพระ, 2404-2474, ผู้รวบรวม. บาญชีมหามกุฏราชสันตติวงศ์ พุทธศก 2468 พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ ทรงรวบรวม. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร, พ.ศ. 2468. 167 หน้า.
  9. "พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ กับผลงานพระราชนิพนธ์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-30. สืบค้นเมื่อ 2017-10-06.
  10. พระราชทานยศ
  11. พระยศเสือป่า นายกองตรี
  12. 12.0 12.1 ราชกิจจานุเบกษา, การตั้งกรมพระองค์เจ้าวรวรรณากร, เล่ม ๖ ตอนที่ ๓๖ หน้า ๓๐๓, ๘ ธันวาคม ๑๐๘
  13. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๖๑๘, ๓๐ มกราคม ๒๔๖๓
  14. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๓๘ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๔๗๑, ๒๗ พฤศจิกายน ๒๔๖๔
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๗ ตอนที่ ๔๔ หน้า ๔๐๐, ๑ กุมภาพันธ์ ๑๐๙
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๑๐๐, ๑๘ เมษายน ๑๒๘
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรพรรดิมาลา, เล่ม ๓๗ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๗๓๖, ๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๓
  18. ราชกิจจานุเบกษา, ส่งเครื่องราชอิสริยาภรณ์ไปพระราชทาน, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๔๓๙, ๒ พฤษภาคม ๒๔๖๙
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๒๑ ตอนที่ ๓๒ หน้า ๕๖๕, ๖ พฤศจิกายน ๑๒๓
  20. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๖ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๖๒๘, ๖ มีนาคม ๑๒๘
  21. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์, เล่ม ๓๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๐๙๙, ๒๘ มกราคม ๒๔๕๙
  22. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ฝ่ายหน้า, เล่ม ๔๓ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๓๑๒๔, ๒๖ พฤศจิกายน ๒๔๖๙
บรรณานุกรม
  • สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร. ราชสกุลวงศ์. พิมพ์ครั้งที่ 14, กรุงเทพฯ : สำนักวรรณกรรมและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร, 2554. 296 หน้า. หน้า 69. ISBN 978-974-417-594-6
  • Jeffy Finestone. 2542. สมุดพระรูป พระราชโอรส พระราชธิดา พระราชนัดดาใน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. ปรียนันทนา รังสิต,ม.ร.ว. โลมาโฮลดิ้ง

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้