พระศิวะ

เทพในศาสนาฮินดู
(เปลี่ยนทางจาก พระอิศวร)

พระศิวะ (/ˈʃɪvə/; สันสกฤต: शिव, อักษรโรมัน: Śiva, แปลตรงตัว'ผู้เป็นมงคลยิ่ง' [ɕɪʋɐ]) หรือ มหาเทพ (/məˈhɑː ˈdvə/; สันสกฤต: महादेव:, อักษรโรมัน: Mahādevaḥ, แปลตรงตัว'เทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่, มหาเทพ' [mɐɦaːd̪eːʋɐ]),[3][4][5] หรือ หระ คนไทยนิยมเรียกพระองค์ว่า พระอิศวร[6] เป็นเทพเจ้าฮินดูองค์สำคัญ ถือเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุดในคติของลัทธิไศวะ[7]

พระศิวะ
พลังงานสูงสุด, การทำสมาธิ, ศิลปะวิทยาการ, โยคะ, กาลเวลา, การทำลาย, นาฏกรรม, เทวะแห่งเทวะ, เทพผู้ทรงทำลายล้างปีศาจ
ส่วนหนึ่งของ พระตรีมูรติ
พระศิวะปางขัดสมาธิ ที่บังกาลอร์
ชื่ออื่นมเหศะ, ศังกร, พลนาถ, นีลกัณฑ์ , มหาเทพ, ภูเตศวร, ปิศาจบดี
ชื่อในอักษรเทวนาครีशिव
ชื่อในการทับศัพท์ภาษาสันสกฤตŚiva
ส่วนเกี่ยวข้องปรพรหมัน (ไศวะ), ตรีมูรติ, ปรมาตมัน, อิศวร พระรุทร,พระสทาศิวะ, พระปรเมศวร, พระปศุปติ, ชโยติรลึงค์, พระไภรวะ, ศิวนาฏราช
ที่ประทับเขาไกรลาศ, ศฺมศาน
มนตร์โอม นมัส ศิวายะ Om Namah Shivaya
อาวุธปาศุปตาสตระ, ตรีศูล, ขวานปรศุ, ธนูปินากะ
สัญลักษณ์ศิวลึงค์, ตรีศูล, จันทร์เสี้ยว, บัณเฑาะว์, มุขลึงค์, ดวงตาที่สาม, วาสุกรี
วันวันจันทร์
พาหนะโคนนทิ
เทศกาลศราวณะ, มหาศิวราตรี, การติกปูรณิมา, ไภรวาษฏมี
ข้อมูลส่วนบุคคล
คู่ครองพระปารวตี/พระสตี
บุตร - ธิดาพระพิฆเนศ, พระขันธกุมาร, อโศกสุนทรี
ตามความเชื่อพื้นเมือง:พระสวามีอัยยัปปัน พระแม่มนสาเทวี(บุตรบุญธรรม) [1][2]
พี่น้องพระสุรัสวดี

ในบรรดาตรีมูรติ (เทพเจ้าสูงสุดสามองค์ อีกสององค์คือพระพรหมและพระวิษณุ) ถือกันว่าพระศิวะเป็น "ผู้ทำลาย" [8][9] ในขณะที่ตามคติไศวะถือว่าพระศิวะเป็นพระเป็นเจ้าสูงสุด ผู้สร้าง ผู้พิทักษ์ และผู้เปลี่ยนถ่ายจักรวาล[3][4][5] ในคติลัทธิศักติถือว่าเทวีและอำนาจสูงสุดของศักติประดุจเป็นคู่ของพระศิวะ[10][11] พระศิวะยังเป็นหนึ่งในห้าเทพเจ้าองค์สำคัญของปัญจายตนบูชาในคติสมารตะของศาสนาฮินดู[12]

พระศิวะทรงมีหลายปาง ตั้งแต่เมตตาถึงน่ากลัว ในปางเมตตา ทรงมีลักษณะเป็นโยคีผู้ถือพรตนิยมประทับอยู่บนเขาไกรลาศ[8] และในฐานะผู้ดูแลที่ประทับของพระปารวตีและบุตรทั้งสอง คือพระคเณศและพระขันธกุมาร ส่วนในปางดุร้าย ทรงมีลักษณะน่ายำเกรง ต่อสู้และกำจัดอสูร นอกจากนี้ยังมีรูปปางในฐานะอาทิโยคีศิวะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งโยคะ, การทำสมาธิ และศิลปวิทยาการ[13]

ประติมานวิทยาของพระศิวะประกอบด้วยงูใหญ่พันรอบพระศอ, ประดับเศียรด้วยจันทร์เสี้ยว, มีแม่น้ำคงคาอันศักดิ์สิทธิ์ไหลผ่านออกจากพระเกศา, มีตาที่สามบนพระนลาฏ ในพระหัตถ์อาจทรงตรีศูลและกลองทมรุ นอกจากนี้ยังนิยมบูชาพระศิวะในรูปศิวลึงค์เป็นรูปไม่คล้ายมนุษย์แทนพระองค์[14]

พระศิวะมีที่มาก่อนสมัยพระเวท[15] และพัฒนาโดยผสมผสานระหว่างเทพเจ้ายุคก่อนพระเวท นอกพระเวท และเทพเจ้าในพระเวท เข้าด้วยกัน (เช่น พระรุทร ซึ่งเป็นเทพเจ้าพระเวท)[16] จนกลายมาเป็นเทพเจ้าองค์สำคัญเดี่ยว ๆ พระองค์เดียวนี้[17] พระศิวะได้รับการบูชาทั่วไปในศาสนาฮินดูทุกธรรมเนียม ในทั้งอินเดีย, เนปาล, ศรีลังกา และ อินโดนีเซีย (โดยเฉพาะในเกาะชวาและบาหลี)[18]

อ้างอิง

แก้
  1. Joanna Gottfried Williams (1981). Kalādarśana: American Studies in the Art of India. BRILL Academic. p. 62. ISBN 90-04-06498-2.
  2. Denise Cush; Catherine A. Robinson; Michael York (2008). Encyclopedia of Hinduism. Routledge. p. 78. ISBN 978-0-7007-1267-0.
  3. 3.0 3.1 Sharma 2000, p. 65.
  4. 4.0 4.1 Issitt & Main 2014, pp. 147, 168.
  5. 5.0 5.1 Flood 1996, p. 151.
  6. Sharma 1996, p. 314.
  7. Flood 1996, pp. 17, 153; Sivaraman 1973, p. 131.
  8. 8.0 8.1 Zimmer 1972, pp. 124–126.
  9. Gonda 1969.
  10. Kinsley 1988, p. 50, 103–104.
  11. Pintchman 2015, pp. 113, 119, 144, 171.
  12. Flood 1996, pp. 17, 153.
  13. Shiva Samhita, e.g. Mallinson 2007; Varenne 1976, p. 82; Marchand 2007 for Jnana Yoga.
  14. Fuller 2004, p. 58.
  15. Sadasivan 2000, p. 148; Sircar 1998, pp. 3 with footnote 2, 102–105.
  16. Flood 1996, p. 152.
  17. Flood 1996, p. 148-149; Keay 2000, p. xxvii; Granoff 2003, pp. 95–114; Nath 2001, p. 31.
  18. Keay 2000, p. xxvii; Flood 1996, p. 17.

บรรณานุกรม

แก้
  • Chinmayananda, Swami (2002). Vishnusahasranama (ภาษาอังกฤษ). Central Chinmaya Mission Trust. ISBN 978-81-7597-245-2.
  • Dutt, Manmatha Nath (1905). A Prose English Translation of the Mahabharata: (translated Literally from the Original Sanskrit Text).. Anushasana Parva, Volume 13. Beadon Street, Calcutta: Dass, Elysium Press.
  • Ganguli, Kisari Mohan (2004). Mahabharata of Krishna-Dwaipayana Vyasa. Munshirm Manoharlal Pub Pvt. ISBN 81-215-0593-3.
  • Śrī Viṣṇu sahasranāma : with text, transliteration, translation and commentary of Śrī Śaṅkarācārya. Mylapore, Madras: Sri Ramakrishna Math. 1986. ISBN 978-81-7120-420-5.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้