แม่น้ำคงคา

แม่น้ำในประเทศบังกลาเทศ

25°18′N 83°01′E / 25.30°N 83.01°E / 25.30; 83.01

คงคา
แม่น้ำคงคาที่พาราณสี
แผนที่แม่น้ำคงคา (สีเหลือง), แม่น้ำพรหมบุตร (สีม่วง) และ แม่น้ำเมฆา (สีเขียว)
ที่ตั้ง
ประเทศอินเดีย, บังกลาเทศ (เปลี่ยนชื่อเป็น แม่น้ำปัทมา)
ลักษณะทางกายภาพ
ต้นน้ำจุดไหลบรรจบของแม่น้ำที่เทวปรยัค รัฐอุตตราขัณฑ์ กับแม่น้ำอลากานันท์ (ต้นน้ำทางอุทกวิทยาเนื่องจากมีความยาวมากกว่า) และแม่น้ำภาคีรฐี (ต้นธารน้ำตามตำนานฮินดู) ต้นน้ำของคงคาประกอบด้วย: มัณฑาคิณี, นันทาคิณี, ปินดาร์ และ ธาวลีคงคา[1]
 • ตำแหน่งเทวปรยัค
ปากน้ำอ่าวเบงกอล
 • ตำแหน่ง
สามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา
ความยาว2,525 km (1,569 mi)[2]
พื้นที่ลุ่มน้ำ1,320,000 km2 (510,000 sq mi)[3]
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งฟารัคคาบาร์เรจ[4]
 • เฉลี่ย16,648 m3/s (587,900 cu ft/s)
 • ต่ำสุด180 m3/s (6,400 cu ft/s)
 • สูงสุด70,000 m3/s (2,500,000 cu ft/s)
อัตราการไหล 
 • ตำแหน่งอ่าวเบงกอล[4]
 • เฉลี่ย38,129 m3/s (1,346,500 cu ft/s)
ลุ่มน้ำ
ลำน้ำสาขา 
 • ซ้ายรามคงคา, การ์รา, โคมตี, ฆาฆรา, คันทัก, พูรหีคันทัก, โกษี, มหานันทา
 • ขวายมุนา, ตัมสา, กรรมานาสา, โสดน, ปูนปุน, ฟัลคู, กิอุล, จันทัน, Ajoy, ทาโมทร, รูปนารายัณ

แม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำระหว่างประเทศในทวีปเอเชีย ไหลผ่านประเทศอินเดีย และ บังกลาเทศ มีความยาว 2,525 km (1,569 mi) จากต้นน้ำในเทือกเขาหิมาลัย ในรัฐอุตตราขัณฑ์ ไหลลงทางใต้ละตะวันออกผ่านที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาในอินเดียเหนือเข้าสู่ประเทศบังกลาเทศ และไหลลงอ่าวเบงกอล เป็นแหล่งน้ำให้กับประชากร 11% ของโลก เนื่องจากพื้นที่ที่แม่น้ำไหลผ่านเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลก และเป็นแม่น้ำใหญ่ที่สุดอันดับที่สามในโลกตามจำนวนการปล่อยน้ำ[5]

แม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำที่ศักดิ์สิทธิ์สูงสุดในศาสนาฮินดู[6] และเป็นแม่น้ำสายสำคัญที่ช่วยให้ผู้คนริมฝั่งดำรงและดำเนินชีวิตได้[7] ในทางฮินดูนับถือแม่น้ำคงคาในรูปของพระแม่คงคา[8] นอกจากนี้แม่น้ำคงคายังมีความสำคัญในทางประวัติศาสตร์ ราชธานีของจักรวรรดิและอาณาจักรในอดีตจำนวนมากตั้งรกรากริมฝั่งแม่น้ำคงคา เช่น ปาฏลีบุตร[9] Kannauj,[9] การท, มุงเคร์, กาษี, ปัฏณา, ฮะยีปุระ, เดลี, ภคัลปุระ, มูรชีดาบาด, พหรามปุระ, กัมปิลยะ และ โกลกาตา ต้นน้ำหลักของแม่น้ำคงคาอยู่ที่เมืองเทวปรยาค[1] จุดบรรจบกับแม่น้ำอลากานันทา ต้นน้ำทางอุทกวิทยา (เพราะมีความยาวมากกว่า) และ แม่น้ำภาคีรฐี ต้นน้ำในทางตำนานของฮินดู[1]

แม่น้ำคงคามีปัญหามลพิษขั้นรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้คนและสัตว์ที่เกี่ยวพันกับแม่น้ำ ในแม่น้ำคงคาเป็นแหล่งอาศัยของปลาประมาณ 140 สปีชีส์ และสัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบกอีกกส่า 90 สปีชีส์ รวมถึงสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่น ๆ ซึ่งมีสปีชีส์เสี่ยงสูญพันธุ์สูงสุดอย่างฆาริยัลและโลมาแม่น้ำเอเชียใต้[10] ระดับของแบคทีเรียในลำใส้ใหญ่มนุษย์ที่ขับถ่ายออกมาทางอุจจาระในแม่น้ำช่วงพาราณสีมีสูงมากกว่าหนึ่งร้อยเท่าของระดับปลอดภัยที่รัฐบาลอินเดียกำหนด[10] โครงการคงคาแอกชั่นแพลา ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อทำความสะอาดแม่น้ำคงคาก็ล้มเหลวอย่างหนัก[a][b][11] อันเป็นผลจากการฉ้อโกง, การขาดความใส่ใจจากรัฐบาล, การขาดความพร้อมทางเทคโนโลยี,[c] การวางแผนทางสิ่งแวดล้อม[d] และการขาดความร่วมมือจากผู้นำทางศาสนาในท้องถิ่น[e]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Lodrick, Deryck O.; Ahmad, Nafis (28 January 2021), Ganges River, Encyclopedia Britannica, สืบค้นเมื่อ 2 February 2021
  2. Jain, Agarwal & Singh 2007.
  3. Suvedī 2005.
  4. 4.0 4.1 Kumar, Singh & Sharma 2005.
  5. Society, National Geographic (2019-10-01). "Ganges River Basin". National Geographic Society (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-05-18.
  6. Alter, Stephen (2001), Sacred Waters: A Pilgrimage Up the Ganges River to the Source of Hindu Culture, Houghton Mifflin Harcourt Trade & Reference Publishers, ISBN 978-0-15-100585-7, สืบค้นเมื่อ 30 July 2013
  7. "US TV host takes dig at Ganges". Zeenews.com. 16 December 2009. สืบค้นเมื่อ 4 July 2012.
  8. Bhattacharji, Sukumari; Bandyopadhyay, Ramananda (1995). Legends of Devi. Orient Blackswan. p. 54. ISBN 978-81-250-0781-4. สืบค้นเมื่อ 27 April 2011.
  9. 9.0 9.1 Ghosh, A. (1990). An encyclopaedia of Indian archaeology. BRILL. p. 334. ISBN 978-90-04-09264-8. OCLC 313728835. สืบค้นเมื่อ 27 April 2011.
  10. 10.0 10.1 Rice, Earle (2012), The Ganges River, Mitchell Lane Publishers, Incorporated, p. 25, ISBN 978-1612283685
  11. "Clean Up Or Perish", The Times of India, 19 March 2010

บรรณานุกรม

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้


อ้างอิงผิดพลาด: มีป้ายระบุ <ref> สำหรับกลุ่มชื่อ "lower-alpha" แต่ไม่พบป้ายระบุ <references group="lower-alpha"/> ที่สอดคล้องกัน