พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ

นายพันเอก พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2413 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2463) ประสูติเมื่อวันจันทร์ เดือน 8 แรม 13 ค่ำ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช 1232 ตรงกับวันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2413 พระนามเดิมว่า พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจโนภาสรัศมี เป็นพระราชโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ประสูติแต่จอมมารดาปริกเล็ก เป็นต้นราชสกุลกาญจนะวิชัย ออกพระนามโดยทั่วไปว่า พระองค์ชายกลาง พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ ทรงเริ่มเข้ารับราชการในกรมทหารรักษาพระองค์ จนได้เลื่อนยศเป็น "พันโท ราชองครักษ์ประจำการ" ดำรงตำแหน่ง "ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2" จากนั้นทรงย้ายไปดำรงตำแหน่ง "ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 14" เมื่อถึงกำหนดได้กลับมารับราชการเป็นราชองครักษ์ประจำการและเลื่อนยศเป็น "นายพันเอก" ต่อมาได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้บังคับการกองดับเพลิงสวนดุสิต และในปี พ.ศ. 2452 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ออกจากตำแหน่งราชองครักษ์ประจำการ เป็นสารวัตรทหารบกบริเวณฝ่ายเหนือ และเจ้ากรมเสบียงทหารบก[1]

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ
พระราชวรวงศ์เธอ ชั้น 5
พระองค์เจ้าชั้นโท
ประสูติ25 กรกฎาคม พ.ศ. 2413
สิ้นพระชนม์29 สิงหาคม พ.ศ. 2463 (50 ปี)
พระบุตร8 องค์
ราชสกุลกาญจนะวิชัย
ราชวงศ์จักรี
พระบิดากรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
พระมารดาจอมมารดาปริกเล็ก
รับใช้กรมราชองครักษ์
กระทรวงกลาโหม
ชั้นยศ พันเอก

ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็น กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 พร้อมทั้งพระราชทานเครื่องยศ ประกอบด้วย กากระบอกทองคำ มีถาดรองตราจุฑามณี 1 พระมาลาเส้าสะเทิน เครื่องทองคำลงยา 1 ฉลองพระองค์จีบเจียรบาด พร้อมสำรับ 1 พระแสงญี่ปุ่นฝักก้าไหล่ทอง 1 หีบหมากไม้แดง หุ้มทองคำลงยาตราจุฑามณี 1

นายพันเอก พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ สิ้นพระชนม์ในรัชกาลที่ 6 เมื่ออาทิตย์ เดือน 9 ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะเมีย โทศก จุลศักราช 1282 ตรงกับวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2463[2] สิริพระชันษา 51 ปี พระราชทานเพลิง ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2469

พระโอรส-พระธิดา

แก้

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ เป็นต้นราชสกุลกาญจนะวิชัย มีพระโอรส-พระธิดา 8 องค์ ได้แก่

  • หม่อมเจ้าหญิงสุคนธมาลย์รัศมี กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2432 – พ.ศ. 2470)
  • หม่อมเจ้ารัตโนภาษ หรือ หม่อมเจ้ารัตโนภาษเพ็ญจันทร์ กาญจนะวิชัย ต.จ. (พ.ศ. 2436 – พ.ศ. 2521) เสกสมรสครั้งแรกกับหม่อมเอิบ กาญจนะวิชัย ณ อยุธยา และทรงรับน้องสาวของหม่อมเอิบมาเป็นหม่อมด้วยอีกคน คือ หม่อมปฐม กาญจนะวิชัย ณ อยุธยา แต่ต่อมาทรงหย่าขาดกับหม่อมเอิบและหม่อมปฐม จนในปี พ.ศ. 2477 ทรงเสกสมรสใหม่กับหม่อมสนิท กาญจนะวิชัย ณ อยุธยา (สกุลเดิม สิงหเสนี; ธิดาพระยาสิงห์เสนี (สอาด สิงหเสนี) ต่อมาในปี พ.ศ. 2486 หม่อมสนิทถึงแก่กรรม หม่อมเจ้ารัตโนภาษจึงเสกสมรสใหม่อีกครั้งกับหม่อมอรุณ กาญจนะวิชัย ณ อยุธยา มีโอรสและธิดากับหม่อมต่าง ๆ ดังนี้
    • หม่อมราชวงศ์แสงแก้ว กาญจนะวิชัย มีหม่อมเอิบเป็นมารดา
    • หม่อมราชวงศ์หญิงสุวรรณโณภาศ กาญจนะวิชัย มีหม่อมปฐมเป็นมารดา
    • หม่อมราชวงศ์หญิงวรนาถนารี กาญจนะวิชัย มีหม่อมปฐมเป็นมารดา
    • หม่อมราชวงศ์โอภาส กาญจนะวิชัย มีหม่อมสนิทเป็นมารดา
    • หม่อมราชวงศ์หญิงโศภา กาญจนะวิชัย มีหม่อมหม่อมสนิทเป็นมารดา
    • หม่อมราชวงศ์หญิงจันทร์เพ็ญ กาญจนะวิชัย มีหม่อมอรุณเป็นมารดา
  • หม่อมเจ้ากาญจนวิจิตร กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2439 – 26 เมษายน พ.ศ. 2472; พระราชทานเพลิง ณ วัดสระเกศ)
  • หม่อมเจ้าหญิงพานสุคนธ์ หรือ หม่อมเจ้าหญิงพานทองสุคนธ์ กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2440 – พ.ศ. 2518)
  • หม่อมเจ้าหญิงสุวรรณรัศมี กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2441 – พ.ศ. 2519)
  • หม่อมเจ้าหญิงศิริวรรณา กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2445 – พ.ศ. 2523)
  • หม่อมเจ้าหญิงแจ่มจำรัส กาญจนะวิชัย (1 มกราคม พ.ศ. 2460 – พ.ศ. 2538) เสกสมรสกับหม่อมเจ้าพุฒิสวัสดิ์ ศุขสวัสดิ์ (พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงอดิศรอุดมเดช)
  • หม่อมเจ้าหญิงสุพรรณโนมาศ กาญจนะวิชัย (พ.ศ. 2461 – พ.ศ. 2539) ทรงลาออกจากฐานันดรศักดิ์แห่งพระราชวงศ์เพื่อสมรสกับสามัญชน

พระอิสริยยศ

แก้
  • พระบวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจโนภาสรัศมี (25 กรกฎาคม พ.ศ. 2413 – 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451)
  • พระบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ (16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2451 – 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454)
  • พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นชาญไชยบวรยศ (15 กรกฎาคม พ.ศ. 2454 – 29 สิงหาคม พ.ศ. 2463)

พระยศ

แก้
  • พ.ศ. 2430 ร้อยตรี[3]
  • พ.ศ. 2431 ร้อยโท[4]
  • 12 ตุลาคม พ.ศ. 2435 พันตรี[5]
  • 3 เมษายน พ.ศ. 2444 พันโท[6]
  • 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2451 พันเอก[7]

ตำแหน่ง

แก้
  • 11 เมษายน พ.ศ. 2441 ราชองครักษ์ประจำการ[8]
  • 16 ธันวาคม พ.ศ. 2445 ออกจากราชองครักษ์ประจำการ เป็นผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 4[9]
  • 16 เมษายน พ.ศ. 2446 ผู้บังคับการกรมทหารราบที่ 2[10]
  • 3 กันยายน พ.ศ. 2447 ราชองครักษ์ประจำการ[11]
  • มกราคม พ.ศ. 2452 ออกจากราชองครักษ์ประจำการ เป็นสารวัตรทหารบกบริเวณฝ่ายเหนือ[12]
  • สิงหาคม พ.ศ. 2454 เจ้ากรมเสบียงทหารบก[13]
  • เมษายน พ.ศ. 2455 ออกจากประจำการ[14]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

แก้

พงศาวลี

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. แจ้งความกระทรวงกลาโหม ราชกิจจานุเบกษา 6 สิงหาคม ร.ศ.130 เล่ม 28 หน้า 895
  2. "ข่าวสิ้นพระชนม์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 5 กันยายน 1920.
  3. ข่าวพระราชทานสัญญาบัตร
  4. พระราชทานสัญญาบัตรข้าราชการฝ่ายทหารและพลเรือน (หน้า 162)
  5. พระราชทานสัญญาบัตรทหาร
  6. "พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-01-26. สืบค้นเมื่อ 2020-07-04.
  7. พระราชทานสัญญาบัตรทหารบก
  8. รายนามผู้ที่เป็นราชองครักษ์
  9. แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
  10. แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
  11. แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
  12. แจ้งความกรมยุทธนาธิการ
  13. แจ้งความกระทรวงกลาโหม
  14. แจ้งความกระทรวงกลาโหม
  15. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๒๓ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๖๗๙, ๓๐ กันยายน ๑๒๕
  16. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทายพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุลจอมเกล้าฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๐, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗
  17. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๐ ตอนที่ ๓๘ หน้า ๔๑๙, ๑๗ ธันวาคม ๑๑๒
  18. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญจักรมาลา, เล่ม ๑๙ ตอนที่ ๒๗ หน้า ๕๖๒, ๕ ตุลาคม ๑๒๑
  19. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลปัจจุบันฝ่ายหน้า, เล่ม ๒๕ ตอนที่ ๓๕ หน้า ๑๐๑๔, ๒๙ พฤศจิกายน ๑๒๗

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  • ศุภวัฒย์ เกษมศรี, พลตรี หม่อมราชวงศ์, และรัชนี ทรัพย์วิจิตร. พระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้าในพระราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์บรรณกิจ, พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2549. 360 หน้า. หน้า หน้าที่. ISBN 974-221-818-8
  • บรรเจิด อินทุจันทร์ยง. ราชสกุลพระบรมราชวงศ์จักรี. กรุงเทพ : องค์การค้าของคุรุสภา, พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2539. หน้า หน้าที่. ISBN 974-005-650-8 ข้อผิดพลาดพารามิเตอร์ใน {{ISBN}}: checksum
  • ศ. วรพัทธ์ทวีโชติ. เฉลิมพระยศเจ้านาย ฉะบับมีพระรูป. [ม.ป.ท.] : [ม.ป.พ.], [ม.ป.ป.]. หน้า หน้าที่.