พระพรหมวชิรธีรคุณ (สมคิด เขมจารี)
พระพรหมวชิรธีรคุณ นามเดิม สมคิด บุตรทุมพันธ์ ฉายา เขมจารี เป็นเจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร[1] เจ้าคณะภาค 11[2]
พระพรหมวชิรธีรคุณ (สมคิด เขมจารี) | |
---|---|
ชื่ออื่น | พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณสมคิด ป.ธ.9 |
ส่วนบุคคล | |
เกิด | 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 (79 ปี) |
นิกาย | มหานิกาย |
การศึกษา | น.ธ.เอก, ป.ธ.9, พธ.ด.(กิตติมศักดิ์) |
ตำแหน่งชั้นสูง | |
ที่อยู่ | วัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร |
อุปสมบท | 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 |
พรรษา | 58 |
ตำแหน่ง | เจ้าอาวาสวัดทองนพคุณ, เจ้าคณะภาค 11 |
ชาติภูมิ
แก้พระพรหมวชิรธีรคุณ มีนามเดิมว่า สมคิด นามสกุล บุตรทุมพันธ์ เกิดเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายบ่ายและนางคำตา นามสกุล บุตรทุมพันธ์ ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านเลขที่ 1 หมู่ที่ 8 ตำบลอุ่มเม่า อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
การบรรพชาและอุปสมบท
แก้- บรรพชาเป็นสามเณร ณ ภูมิลำเนาจังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2500 มีเจ้าอธิการบุญ เจ้าอาวาสวัดศรีสะเกศ เจ้าคณะตำบลเชียงใหม่ อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นพระอุปัชฌาย์
- อุปสมบทเป็นพระภิกษุ เมื่ออายุครบ 21 ปีบริบูรณ์ ณ พัทธสีมาอุโบสถวัดหนองขุ่น เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 มีเจ้าอธิการหอม คุตตจิตโต เจ้าอาวาสวัดโนนรังน้อย เจ้าคณะตำบลยางโยภาพ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพระอุปัชฌาย์, พระอธิการจำปา สิริปุญโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระมหาอมร เขมจิตโต วัดหนองขุ่น เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายานามว่า เขมจารี
การศึกษา/วิทยฐานะ
แก้- พ.ศ. 2498 สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่4 ณ โรงเรียนประชาบาลประจำหมู่บ้าน ตำบลอุ่มเม่า อำเภอโพนทอง จังหวัดร้อยเอ็ด
- พ.ศ. 2504 สอบไล่ได้นักธรรมชั้นตรี-นักธรรมชั้นโท-นักธรรมชั้นเอก ตามลำดับ ณ สำนักเรียนวัดหนองขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง
- พ.ศ. 2507 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 3 ประโยค ณ สำนักเรียนวัดหนองขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
- พ.ศ. 2509 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 5 ประโยค สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
- พ.ศ. 2518 สอบไล่ได้เปรียญธรรม 8 ประโยค และเปรียญธรรม 9 ประโยค ตามลำดับ ณ สำนักเรียนวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร สำนักงานแม่กองบาลีสนามหลวง
ปกครองคณะสงฆ์
แก้- พ.ศ. 2525 เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดทองนพคุณ กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2530 เป็นเลขานุการรองเจ้าคณะภาค 8 (อุดรธานี,หนองคาย,เลย,สกลนคร,หนองบัวลำภู)
- พ.ศ. 2533 เป็นพระอุปัชฌาย์ วิสามัญ
- พ.ศ. 2537 เป็นเจ้าอาวาสพระอารามหลวงวัดทองนพคุณ[3] กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2541 เป็นรองเจ้าคณะภาค 11[4](นครราชสีมา,ชัยภูมิ,บุรีรัมย์,สุรินทร์)
- พ.ศ. 2558 เป็นเจ้าคณะภาค 11 (นครราชสีมา,ชัยภูมิ,บุรีรัมย์,สุรินทร์)
เกียรติคุณ
แก้- พ.ศ. 2544 ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักร ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปีพุทธศักราช 2544 ประเภทส่งเสริมการศึกษาพระพุทธศาสนา สาขาการศึกษาพระปริยัติธรรม
- พ.ศ. 2553 สภามหาวิทยาลัย มีมิติถวายปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ปริญญาเอกกิตติมศักดิ์เชิดชูเกียรติคุณ) สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
สมณศักดิ์,พัดยศ
แก้- รับพระราชทานทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค มีสมณศักดิ์พัดยศทางวิชาการเปรียญธรรมที่ พระมหาสมคิด เขมจารี
ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงเสด็จพระราชดำเนิน ในการทรงตั้งเปรียญธรรม 9 ประโยค และเปรียญธรรม 6 ประโยค ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวัง กรุงเทพมหานคร
- พ.ศ. 2527 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานตั้งสัญญาบัตรสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระกิตติสารเมธี,(สป.)
- 9 มิถุนายน พ.ศ. 2539 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานตั้งสัญญาบัตรสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชปริยัติเวที ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2547 มีพระบรมราชโองการโปรดพระราชทานตั้งสัญญาบัตรสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพปริยัติมุนี ศรีวิสุทธินายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[5]
- 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559 มีพระราชโองการโปรดพระราชทานตั้งสัญญาบัตรสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมเจดีย์ ศรีปริยัติคุณ วิบูลสิทธินายก ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[6]
- พ.ศ. 2566 มีพระบรมราชโองการโปรดสถาปนาสมณศักดิ์พัดยศขึ้น เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรองชั้นหิรัญบัฏ มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏ ว่า พระพรหมวชิรธีรคุณ สุนทรธรรมวาที ศรีปริยัติโกศล วิมลสีลาจารวินิฐ ตรีปิฎกบัณฑิต มหาคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี สถิต ณ วัดทองนพคุณ พระอารามหลวง กรุงเทพมหานคร[7](28 มิถุนายน พ.ศ. 2566)
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-17. สืบค้นเมื่อ 2014-09-05.
- ↑ http://www.mahathera.org/detail.php?module=mati&id=255311270101&title=10[ลิงก์เสีย]
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-07-17. สืบค้นเมื่อ 2014-09-05.
- ↑ http://www.mahathera.org/detail.php?module=mati&id=255311270101&title=10[ลิงก์เสีย]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 121, ตอนที่ 25 ข ฉบับทะเบียนฐานันดร, 24 ธันวาคม 2547, หน้า 5
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม 133, ตอนที่ 43 ข, 9 ธันวาคม 2559, หน้า 1
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา,ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์,เล่ม 140,ตอนที่ 27 ข,29 มิถุนายน 2566,หน้า2
- http://ulib.roong-aroon.ac.th/dublin.php?ID=13399101567#.VAkeefl_uVs[ลิงก์เสีย]
- http://www.watnongkhun.com/index.php?view=article&id=69:001c-&tmpl=component&print=1&page=[ลิงก์เสีย]
ก่อนหน้า | พระพรหมวชิรธีรคุณ (สมคิด เขมจารี) | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม) | เจ้าคณะภาค 11 (พ.ศ. 2558 - ปัจุจุบัน) |
ยังอยู่ในตำแหน่ง |