ตรีเอกภาพ

(เปลี่ยนทางจาก พระตรีเอกภาพ)

ตรีเอกภาพ (ศัพท์โรมันคาทอลิกและอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์) หรือ ตรีเอกานุภาพ (ศัพท์โปรเตสแตนต์) (อังกฤษ: Trinity) คือภาวะที่พระเป็นเจ้าพระองค์เดียวเป็นเอกภาพ แต่ปรากฏเป็นสามพระบุคคล คือ พระบิดา พระบุตร (เชื่อว่ามาเกิดเป็นพระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 เทววิทยาศาสนาคริสต์ทั้งทางตะวันออกและตะวันตกยอมรับว่า “ในพระเจ้าเดียว มีสามพระบุคคล[1]” สามสิ่งนี้ต่างบุคคลกันแต่มีธรรมชาติเดียวคือความเป็นพระเจ้า ทางปรัชญายังกล่าวต่อไปว่าพระบุตรหรือพระเยซูมีสองธรรมชาติรวมอยู่ในบุคคลเดียวกัน คือความเป็นพระเจ้าและขณะเดียวกันก็เป็นมนุษย์ (hypostatic union)

จิตรกรรมฝาผนัง “ตรีเอกภาพ” โดยลูคา โรสเซ็ทที (Luca Rossetti) แสดงให้เห็นพระเจ้าพระบิดา (พระยาห์เวห์) พระเจ้าพระบุตร (พระเยซู) และพระวิญญาณบริสุทธิ์ ในรูปของนกพิราบ (ค.ศ. 1738-ค.ศ. 1739) ที่โบสถ์เซนต์กอเซนซิโอ ที่เมื่องอิฟเรีย ใกล้ตูริน

ความเชื่อเรื่อง “ตรีเอกภาพ” เรียกว่า “ตรีเอกภาพนิยมคริสตจักรเกือบทุกคริสตจักรในคริสต์ศาสนามีความเชื่อแบบ “ตรีเอกภาพนิยม” และถือว่าเป็นรากฐานของคำสอนของคริสต์ศาสนา[2][3]

ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับลัทธิตรีเอกภาพนิยมก็มี เช่น “ลัทธิทวิเอกภาพนิยม” (Binitarianism) ซึ่งเชื่อในความเป็นสองพระบุคคลของพระเจ้าเดียว และลัทธิเอกภาพนิยม (Unitarianism) ที่เชื่อว่ามีพระเจ้าเดียว โดยไม่แบ่งพระบุคคล

ลัทธิตรีเอกภาพนิยมหลังพันธสัญญาใหม่[2] เป็นปรัชญาที่สำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งกับลัทธิเอเรียส ซึ่งเชื่อว่าพระเยซูเป็นสิ่งที่สร้างโดยพระเจ้า และสิ่งทั้งสามมิได้คงอยู่ร่วมกันตลอดกาลอย่างที่ลัทธิตรีเอกภาพนิยมเชื่อ ความขัดแย้งนี้เป็นความขัดแย้งสำคัญครั้งแรกในประวัติคริสต์ศาสนาและมีผลกระทบกระเทือนต่อคริสตจักรในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นผลให้ชาวเจอร์มานิกที่ถือลัทธิเอเรียส (Germanic Arians) แยกตัวจากคริสต์ศาสนิกชนที่ยึดหลักข้อเชื่อไนซีน (Nicene Christians)

ตรีเอกภาพในศิลปะ

แก้
 
“ตรีเอกภาพ” ที่มหาวิหารแซ็ง-เดอนีที่ปารีส แสดงพระบุตรในรูปของแกะ
 
“ตรีเอกภาพ” เป็นรูปสามเหลี่ยมซ้อนกับรูปจิก

“ตรีเอกภาพ” เป็นหัวข้อที่มักจะพบในศิลปะศาสนาคริสต์โดยใช้นกพิราบเป็นของพระวิญญานบริสุทธิ์ ตามที่กล่าวในพระวรสารจากเหตุการณ์ “พระเยซูทรงรับบัพติศมา” (Baptism of Christ) รูปนกพิราบส่วนใหญ่จะกางปีก การแสดง “ตรีเอกภาพ” เป็นมนุษย์สามคนก็ใช้ในศิลปะทุกสมัย[4]

ภาพพระบิดาและพระบุตรจะเป็นปรากฏเป็นชายที่มีอายุต่างกัน และต่อมาก็จะแตกต่างกันจากการแต่งกายด้วยแต่ก็ไม่เสมอไป โดยทั่วไปพระบิดาจะเป็นชายสูงอายุมีหนวดขาวซึ่งอาจจะนำมาจากตำนานไบเบิล Ancient of Days ซึ่งมักจะใช้อ้างเมื่อมีข้อขัดแย้งในการแสดงภาพเช่นนี้ แต่ในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ ตำนาน Ancient of Days เชื่อว่าชายคนเดียวกันนีคือพระบุตรมิใช่พระเจ้าภาคพระบิดา บางครั้งเมื่อแสดงภาพของพระบิดาในงานศิลปะศิลปินจะใช้รัศมีเหนือพระเศียรที่เป็นสามเหลื่ยมแทนที่จะกลมเช่นรัศมีทั่วไป พระบุตรมักจะอยู่ทางขวาของพระบิดา [5] บางครั้งก็จะใช้สัญลักษณ์เป็นลูกแกะ หรือ กางเขน แทนพระบุตร หรือพระบุตรบนกางเขน ฉะนั้นพระบิดาจะแสดงเป็นมนุษย์ขนาดเต็มตัว ในสมัยกลางตอนต้นพระเจ้าจะเป็นเพียงมือที่ยื่นออกมาจากก้อนเมฆคล้ายประทานพรเช่นในการให้พรเมื่อ “พระเยซูทรงรับบัพติศมา” ต่อมาก็มีการสร้างศิลปะที่เรียกว่า “บัลลังก์แห่งความกรุณา” (Throne of Mercy หรือ Throne of Grace) ซึ่งเป็นที่นิยมกัน ในศิลปะแบบนี้พระบิดาบางครั้งจะนั่งบนบัลลังก์ถือไม่ก็กางเขน[6] ก็ประคองร่างพระบุตร ซึ่งโครงการจัดภาพหรือรูปปั้นจะคล้ายคลึงกับทรงปีเอตะ ซึ่งที่เยอรมนีเรียกว่า “Not Gottes”[7] ในขณะที่นกพิราบจะกางปีกอยู่เหนือพระเศียรหรืออยู่ระหว่างพระบิดาและพระบุตร ทรงนี้เป็นที่นิยมทำกันจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18

ปลายสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 การแสดง “ตรีเอกภาพ” ก็เริ่มใหญ่ขึ้น และมีโครงลักษณะแบบอื่นๆ นอกเหนือไปจากทรง “บัลลังก์แห่งความกรุณา” การแสดงตรีเอกภาพก็เริ่มใช้กันเป็นมาตรฐานโดยแสดงพระบิดาเป็นชายใส่เสื้อคลุมเรียบ ๆ ร่างท่อนบนของพระบุตรจะเปลือยแสดงให้เห็นแบบพระสันตะปาปา

การแสดง “ตรีเอกภาพ” จะหายากในศิลปะในคริสตจักรออร์ทอดอกซ์ไม่ว่าจะเป็นสมัยใด การไม่นิยมแสดงรูปเคารพของพระบิดาจนกระทั่งสมัยกลางตอนปลาย หลังจากสังคายนาไนเซียครั้งที่สอง (Second Council of Nicea) เมื่อปี ค.ศ. 787 อนุญาตให้มีการแสดงรูปสัญลักษณ์ของพระเยซูได้เพราะพระเยซูเป็นมนุษย์ แต่ความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงรูปพระเจ้าไม่มีหลักฐานแน่นอน การแสดง “เทวรูปพระตรีเอกภาพ” จะใช้ “ตรีเอกภาพ” จากพันธสัญญาเดิม ซึ่งเป็นทูตสวรรค์สามองค์ที่มาปรากฏตัวต่ออับราฮัม และกล่าวว่าเป็น “พระผู้เป็นเจ้า” (ปฐมกาล:18.1-15) การประชุมซีนอดแห่งมอสโก (Great Synod of Moscow) ในปี ค.ศ. 1667 ประกาศห้ามการแสดงรูปเคารพของพระบิดาในรูปเหมือนมนุษย์

การแสดง “ตรีเอกภาพ” ในศิลปะคริสเตียนจะมีไม่กี่ฉากนอกจากภาพพระเยซูทรงรับบัพติศมาซึ่งจะแสดงทั้งสามองค์ประกอบในบทบาทที่ต่างกัน หรือภาพ “การสวมมงกุฏพระนางพรหมจารี” (Coronation of the Virgin) ซึ่งเป็นที่นิยมกันทางตะวันตกก็เป็นอีกภาพหนึ่งที่มักจะแสดง “ตรีเอกภาพ” แต่ภาพเช่น “พระคริสต์ทรงพระสิริ” (Christ in Majesty) หรือ “การพิพากษาครั้งสุดท้าย” (Last Judgement) ซึ่งตามเหตุผลน่าจะแสดง “ตรีเอกภาพ” แต่กลับแสดงเพียงพระเยซู[8]

การแสดง “ตรีเอกภาพ” ที่เป็นคนสามคนเหมือนกันจะหายากเพราะแต่ละภาคของตรีเอกภาพมีบทบาทต่างกัน แต่ที่หายากกว่าคือการแสดงเหมือนมนุษย์คนเดียวที่มีสามหน้า เพราะคำบรรยายของ “ตรีเอกภาพ” เป็นคนสามคนที่มีหัวพระเจ้าหนึ่งหัวไม่ใช่คนคนเดียวที่มีสามบทบาท ซึ่งกลายเป็นการสนับสนุนปรัชญา Modalism ซึ่งเป็นลัทธิที่ถูกฝ่ายอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และออเรียนทัลออร์ทอดอกซ์ประณามว่าเป็นพวกนอกรีต

การแสดง “ตรีเอกภาพ” อาจจะเป็นแบบนามธรรมโดยใช้สัญลักษณ์เช่นสามเหลื่ยม หรือสามเหลี่ยมสองอันซ้อนกัน, ดอกจิก, หรือผสมสิ่งที่กล่าวมา บางครั้งก็จะมีรัศมีในรูปด้วย สัญลักษณ์เหล่านี้ไม่แต่จะพบในงานจิตรกรรมหรือประติมากรรมแต่ยังพบในงานปัก, พรมทอแขวนผนัง, เครื่องแต่งตัวของพระ, ผ้าคลุมแท่นบูชา, หรือรายละเอียดในสถาปัตยกรรม

อ้างอิง

แก้
  1. Lawrence B. Porter, "On Keeping 'Persons' in the Trinity: A Linguistic Approach to Trinitarian Thought," Theological Studies 41 (1980) pages 530-548
  2. 2.0 2.1 Harris, Stephen L. (1985) Understanding the Bible Palo Alto: Mayfield. อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ <ref> ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "Harris" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน
  3. Cross, F. L., ed. (2005) The Oxford Dictionary of the Christian Church New York: Oxford University Press
  4. See below and G Schiller, Iconography of Christian Art, Vol. I,1971, Vol II, 1972, (English trans from German), Lund Humphries, London, figs I;5-16 & passim, ISBN 853312702and ISBN 853313245
  5. กิจการ 7:56
  6. Schiller op cit II:p.122-124 and figs 409-414
  7. Schiller op cit II: pp. 219-224 and figs 768-804
  8. for both, Schiller op cit I:pp. 6-12 and figs 10-16

ข้อมูลเพิ่มเติม

แก้

สมุดภาพ

แก้