Jasarayuth
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดโพธิ์ ท่าเตียน |
ที่ตั้ง | 2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย 10200 |
ประเภท | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
พระประธาน | พระพุทธเทวปฏิมากร |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระพุทธไสยาส พระพุทธโลกนาถ พระพุทธศาสดามหากรุณาธิคุณ พระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์ พระพุทธชินราชวโรวาท พระพุทธชินสีห์มุนีนาถ พระพุทธปาลิไลยภิรัติไตรวิเวก พระศรีสรรเพชญุดาญาณ |
เจ้าอาวาส | สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) |
ความพิเศษ | วัดประจำรัชกาลที่ 1 |
จุดสนใจ | วิหารพระพุทธไสยาสน์ วิหารทิศฝั่งตะวันออก (วิหารพระโลกนาถ) และพระอุโบสถ |
กิจกรรม | นวดแผนไทย |
การถ่ายภาพ | ไม่ควรใช้แฟลช ในการถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง ส่วนภายในอาคาร บางอาคารห้ามถ่ายภาพ ควรสังเกตป้าย |
เว็บไซต์ | www.watpho.com |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
จารึกวัดโพธิ์ * | |
---|---|
ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก | |
ที่เก็บรักษา | วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร |
ประเทศ | ไทย |
ภูมิภาค ** | เอเชียและแปซิฟิก |
อ้างอิง | 2010-16 |
ประวัติการขึ้นทะเบียน | |
ขึ้นทะเบียน | 2554 |
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีความทรงจำแห่งโลก ** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก |
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (คำอ่าน: [วัด-พฺระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คะ-ลา-ราม][1] หรือ [วัด-พฺระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คฺลา-ราม])[2] โดยทั่วไปเรียก วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร[3] และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551[4] และวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์[5] พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน[6]
- ↑ "การอ่านชื่อพระอารามหลวง". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2558. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2560.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ "พระนอนวัดโพธิ์". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2555-12-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 2563-06-01.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๙
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-19. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
- ↑ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, ก้าวไปในบุญ :เสริมมงคลไหว้พระ ๙ วัด เก็บถาวร 2007-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กุมภาพันธ์ 2548
- ↑ Global Market Information Database, Tourist Attractions - World, 10 Apr 2008