พระพุทธโลกนาถ
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
พระพุทธโลกนาถ มีพระนามเดิมว่า พระโลกนาถศาสดาจารย์ เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วิหารพระโลกนาถ วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญมาปฏิสังขรณ์และประดิษฐานที่วิหารทิศตะวันออก มุขหลัง[1] วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ภายหลังพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า พระพุทธโลกนาถ ราชสมมติวงศ์ องค์อนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร[2]
พระพุทธโลกนาถ | |
---|---|
ชื่อเต็ม | พระพุทธโลกนาถ ราชสมมติวงศ์ องค์อนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร |
ชื่อสามัญ | - |
ประเภท | พระพุทธรูป |
ศิลปะ | ปางห้ามพระแก่นจันทร์ ศิลปะอยุธยา |
ความสูง | 10 เมตร |
วัสดุ | สำริด ลงรักปิดทอง |
สถานที่ประดิษฐาน | พระวิหารทิศตะวันออก มุขหลัง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม |
ความสำคัญ | บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
พุทธลักษณะที่ปรากฎในปัจจุบันคือ เป็นพระพุทธรูปยืน พระหัตถ์ซ้ายประทานอภัย พระหัตถ์ขวาแนบพระวรกาย หรือปางห้ามพระแก่นจันทน์ ทรงครองจีวรห่มเฉียง พาดสังฆาฏิ จุดเด่นของรูปองค์นี้อยู่ที่ปางประทานอภัยพระหัตถ์ซ้ายที่พบไม่มากนัก รวมถึงริ้วจีวรที่พาดเฉียงลงหน้าสบงไปทางด้านขวาผิดแปลกไปจากพระพุทธรูปยืนทั่วไป[3]
พิชญา สุ่มจินดา อาจารย์ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีข้อสังเกตุว่า “ปีกจีวร” ทั้งสองข้างที่เป็นลักษณะของการครองจีวร “ห่มคลุม” แผ่ออกจากพระวรกายทั้งสองข้าง พบเป็นปกติของพระพุทธรูปยืนในสมัยอยุธยา ก่อนจะแก้ไขให้เป็น “ห่มเฉียง” ตามความนิยมในสมัยอยุธยาตอนปลายและต้นรัตนโกสินทร์ พระกรขวาเหยียดตรงแลดูแข็งกระด้าง และพระหัตถ์ซ้ายประทานอภัยมีสัดส่วน ที่ไม่รับกันกับพระกร[3] หากพิจารณาจากการครองจีวร “ห่มคลุม” แล้ว เป็นไปได้ที่พระพุทธโลกนาถฯ จะเคยเป็น "พระพุทธรูปปางอุ้มบาตร" มาก่อน [3]
เชิงอรรถ
แก้- ↑ vajirayana.org/พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์-รัชกาลที่-๑/๙๑-สร้างและฉลองวัดพระเชตุพน
- ↑ "พระพุทธโลกนาถ". www.watpho.com.
{{cite web}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 3.0 3.1 3.2 พระโลกนาถ จากวัดพระศรีสรรเพชญ เคยเป็นพระพุทธรูปปางอุ้มบาตร - ศิลปวัฒนธรรม (silpa-mag.com)