ธาริษา วัฒนเกส
ธาริษา วัฒนเกส (30 พฤศจิกายน 2492 - ) ประธานกรรมการตรวจสอบ และ กรรมการอิสระ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย[1] อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย[2] สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เรียนจบเศรษฐศาสตรบัณฑิต เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยเคโอ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเรียนจบเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน เซนต์หลุยส์ สหรัฐอเมริกา และอบรมหลักสูตรการบริหารระดับสูง จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
ธาริษา วัฒนเกส | |
---|---|
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 – 30 กันยายน พ.ศ. 2553 | |
ก่อนหน้า | หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล |
ถัดไป | ประสาร ไตรรัตน์วรกุล |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492 |
ลายมือชื่อ | |
ดร.ธาริษา วัฒนเกส เริ่มทำงานในธนาคารแห่งประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518
การดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย
แก้ดร.ธาริษา วัฒนเกส ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 เป็นสตรีไทยคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งนี้ ผลงานโดดเด่นในระหว่างที่ดำรงตำแหน่ง คือ การพัฒนาระบบการชำระเงินให้ทันสมัย ยังผลให้เกิดระบบการโอนเงินรายใหญ่ที่มีการปรับกระทบยอดหักบัญชีกันทันที (RTGS: Real-Time-Gross-Settlement) เป็นระบบ RTGS ระบบแรกของทวีปเอเชีย ปัจจุบันเรียกว่า BAHTNET[3]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2564 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์มงกุฎไทย (ท.ม.)[4]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)[5]
อ้างอิง
แก้- ↑ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ↑ "ผู้ว่าการจากอดีตถึงปัจจุบัน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2015-06-22.
- ↑ "เว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-18. สืบค้นเมื่อ 2010-08-10.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๓ ข หน้า ๒๕๓, ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๕
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๑, เล่ม ๑๒๖ ตอนที่ ๑๑ ข หน้า ๒๔, ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒
ก่อนหน้า | ธาริษา วัฒนเกส | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
หม่อมราชวงศ์ปรีดิยาธร เทวกุล | ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (8 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - 30 กันยายน พ.ศ. 2553) |
ประสาร ไตรรัตน์วรกุล |