ผลพวงเชิงตรรกะ
ผลพวงเชิงตรรกะ (อังกฤษ: Logical consequence หรือ entailment) เป็นแนวคิด (concept) พื้นฐานในวิชาตรรกศาสตร์ซึ่งอธิบายความสัมพันธ์ซึ่งเป็นจริงระหว่างข้อความเมื่อข้อความหนึ่งเป็นผลมาจากข้อความอื่นหนึ่งข้อขึ้นไป การอ้างเหตุผลซึ่งมีตรรกะที่สมเหตุสมผลเป็นการอ้างเหตุผลซึ่งข้อสรุป (consequent) เป็นผลมาจากข้อตั้งเพราะข้อสรุปเป็นผลพวงมาจากข้อตั้ง การวิเคราะห์ (philosophical analysis) ผลพวงเชิงตรรกะในเชิงปรัชญาประกอบไปด้วยการตั้งคำถามเช่น: ข้อสรุปเป็นผลมาจากข้อนำในแง่อะไรไหน? และการที่ข้อสรุปเป็นผลพวงจากข้อนำหมายความว่าอะไร?[1] ทั้งหมดทั้งมวลของตรรกศาสตร์เชิงปรัชญา (Philosophical logic) ตั้งใจที่จะอธิบายธรรมชาติของผลพวงและความจริงเชิงตรรกะ (logical truth)[2]
ผลพวงเชิงตรรกะจำเป็นและเป็นรูปนัย (formalism (philosophy of mathematics)) ตามตัวอย่างที่อธิบายโดยการพิสูจน์เชิงรูปนัย (formal proof) และตัวแบบการตีความ (interpretation (logic))[1] ประโยคหนึ่งเป็นผลพวงเชิงตรรกะของเซตของประโยคในภาษา (formal language) ที่กำหนดภาษาหนึ่งก็ต่อเมื่อประโยคนั้นจะเป็นจริงเมื่อประโยคทุกประโยคในเซตนั้นเป็นจริงโดยวิธีการทางตรรกะเท่านั้น (ไม่สนใจการตีความส่วนตัว)[3]
นักตรรกวิทยาให้คำอธิบายผลพวงเชิงตรรกะว่าด้วยภาษา ที่กำหนดอย่างละเอียด ไม่ว่าด้วยการสร้างระบบนิรนัย (deductive system) สำหรับ หรือด้วยการตีความที่ตั้งใจ (intended interpretation) เชิงรูปนัยสำหรับภาษา นักตรรกวิทยาชาวโปแลนด์ อัลเฟรด ทาร์สกี (Alfred Tarski) ได้ระบุลักษณะเฉพาะสามลักษณะของผลพวงเชิงตรรกะ: (1) ความสัมพันธ์แบบผลพวงเชิงตรรกะขึ้นอยู่กับรูปตรรกะ (logical form) ของประโยค (2) ความสัมพันธ์เป็นแบบก่อนประสบการณ์ (a priori and a posteriori) นั่นคือมันสามารถถูกระบุได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้หลักฐานเชิงประสบการณ์ (หลักฐานจากประสาทสัมผัส) และ (3) ความสัมพันธ์แบบผลพวงเชิงตรรกะมีส่วนประกอบอัญรูป (modal logic)[3]
คำอธิบายเชิงรูปนัย
แก้มุมมองเรื่องการอธิบายผลพวงเชิงตรรกะที่แพร่หลายที่สุดคือด้วยการอาศัยรูปแบบ นั่นหมายความว่าข้อความหนึ่งจะเป็นผลมาจากอีกข้อความหนึ่งหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างหรือรูปตรรกะของข้อความนั้นโดยไม่สนใจถึงเนื้อหาซึ่งอยู่ในรูปนั้น
คำอธิบายเชิงวากยสัมพันธ์ของผลพวงเชิงตรรกะขึ้นอยู่กับเค้าร่างซึ่งใช้กฎการอนุมาน (inference rule) ตัวอย่างเช่นเราสามารถแสดงรูปตรรกะของการอ้างเหตุผลที่สมเหตุสมผลได้ว่า
- ทุก X เป็น Y
- ทุก Y เป็น Z
- เพราะฉะนั้น ทุก X เป็น Z.
การอ้างเหตุผลอันนี้สมเหตุสมผลแบบรูปนัยเนื่องจากกรณี (Substitution (logic)) ของการอ้างเหตุผลซึ่งใช้เค้าร่างเช่นนี้ทุกกรณีนั้นสมเหตุสมผล
ซึ่งนี่ตรงกันข้ามกับการอ้างเหตุผลเช่น "สมชายเป็นลูกของพี่ชายของสมพงษ์ เพราะฉะนั้นสมชายเป็นหลานของสมพงษ์" เพราะการอ้างเหตุผลแบบนี้ขึ้นอยู่กับความหมายของคำว่า "พี่ชาย" "ลูก" และ "หลาน" ข้อความ "สมชายเป็นหลานของสมพงษ์" เป็นสิ่งที่เรียกว่าผลพวงเชิงเนื้อหา (material consequence) ของ "สมชายเป็นลูกของพี่ชายของสมพงษ์" และไม่ใช่ผลพวงรูปนัย (formal consequence) ผลพวงรูปนัยจำเป็นต้องเป็นจริงในทุกกรณี แต่ทว่านี่คือนิยามของผลพวงรูปนัยที่ไม่สมบูรณ์เพราะแม้การอ้างเหตุผลว่า "P เป็นลูกของพี่ชายของ Q เพราะฉะนั้น P เป็นหลานของ Q" จะเป็นจริงในทุกกรณีก็ตามที แต่ก็ยังไม่ใช่การอ้างเหตุผลรูปนัย[1]
คุณสมบัติก่อนประสบการณ์ของผลพวงเชิงตรรกะ
แก้เมื่อเรารู้ว่า เป็นผลโดยตรรกะมาจาก แล้วความหมายของ หรือ ที่เป็นไปได้อันใดก็ตามจะไม่ส่งผลใด ๆ ต่อความเป็นผลโดยตรรกะระหว่างทั้งสองที่เรารู้ ไม่มีความรู้เชิงประจักษ์ (A priori and a posteriori) ใดที่สามารถมีอิทธิพลต่อความรู้ของเราว่า เป็นผลพวงเชิงตรรกะของ [1] เราสามารถรู้ว่าการอ้างเหตุผลนั้นสมเหตุสมผลแบบนิรนัยได้โดยไม่พึ่งประสบการณ์และจึงต้องสามารถรู้ได้ก่อนประสบการณ์ (a priori)[1] อย่างไรก็ตามเราไม่สามารถรับประกันได้ว่าผลพวงเชิงตรรกะไม่ได้รับอิทธิพลจากความรู้เชิงประจักษ์ได้ด้วยเพียงรูปแบบหรือความเป็นรูปนัย (formality) คุณสมบัติก่อนประสบการณ์ของผลพวงเชิงตรรกะจึงได้ถือว่าเป็นอิสระจากรูปแบบ[1]
การพิสูจน์และตัวแบบ
แก้เทคนิคการอธิบายผลพวงเชิงตรรกะที่แพร่หลายสองแบบคือการแสดงแนวคิดในแง่ของการพิสูจน์ (proof) และผ่านตัวแบบ (model) ทฤษฎีการพิสูจน์ (proof theory) คือการศึกษาถึงผลพวงทางไวยากรณ์ (ของตรรกะอันหนึ่ง) ในขณะที่การศึกษาถึงผลพวงทางอรรถศาสตร์หรือทางความหมาย (ของตรรกะอันหนึ่ง) คือทฤษฎีตัวแบบ (model theory)[4]
ผลพวงทางไวยากรณ์
แก้สูตรหรือ formula เป็นผลพวงทางไวยากรณ์ (อังกฤษ: syntactic consequence)[5][6][7][8] ของเซตของสูตร ในระบบรูปนัย (formal system) ระบบหนึ่ง เมื่อมีการสืบสมุฏฐาน (formal proof) จากเซตของ ใน
ผลพวงทางไวยากรณ์ไม่ขึ้นอยู่กับการตีความระบบรูปนัยในแบบใด ๆ[9]
ผลพวงทางความหมาย
แก้สูตรหรือ formula เป็นผลพวงทางความหมาย (อังกฤษ: semantic consequence) ของเซตของข้อความ ในระบบรูปนัย ระบบหนึ่ง
ก็ต่อเมื่อไม่มีตัวแบบ ใด ๆ ที่ในนั้นสมาชิกของ เป็นจริงแต่ จะเป็นเท็จ[10] หรือพูดอีกแบบหนึ่งคือ เซตของการตีความสมาชิกใน ที่ทำให้ทั้งหมดเป็นจริงนั้นเป็นเซตย่อยของเซตของการตีความที่ทำให้ เป็นจริง
คำอธิบายเชิงอัญรูป
แก้คำอธิบายผลพวงเชิงตรรกะทางอัญรูป (modal logic) เป็นรูปแปรผันของใจความพื้นฐานดังนี้:
- เป็นจริงก็ต่อเมื่อมันจำเป็น ที่หากสมาชิกของ ทั้งหมดเป็นจริง แล้ว เป็นจริง
ในทางกลับกัน (หรือคนส่วนใหญ่จะบอกว่าในทางเดียวกัน):
- เป็นจริงก็ต่อเมื่อมันเป็นไปไม่ได้ ที่สมาชิกของ ทั้งหมดเป็นจริง แล้ว เป็นเท็จ
คำอธิบายแบบนี้เป็น "เชิงอัญรูป" เพราะมันอาศัยความจำเป็นเชิงตรรกะ (logical truth) และความเป็นไปได้เชิงตรรกะ (logical possibility) ซึ่งเป็นแนวคิดเชิงอัญรูป 'มันจำเป็นที่' เป็นวลีที่มักถูกแสดงเป็นตัวบ่งปริมาณทั้งหมดบนโลกที่เป็นไปได้ (possible world) คำอธิบายด้านบนจึงสามารถแปลได้เป็น:
- เป็นจริงก็ต่อเมื่อไม่มีโลกที่เป็นไปได้ที่สมาชิกของ ทั้งหมดเป็นจริง แล้ว เป็นเท็จ (ไม่จริง)
พิจารณาคำอธิบายเชิงอัญรูปในรูปของการให้เหตุผลซึ่งได้ให้ตัวอย่างไว้ด้านบน:
- กบทุกตัวสีเขียว
- เคอร์มิตเป็นกบ
- เพราะฉะนั้น เคอร์มิตตัวสีเขียว
ข้อสรุปเป็นผลพวงเชิงตรรกะของข้อตั้งเพราะเราไม่สามารถจินตนาการถึงโลกที่เป็นไปได้ใด ๆ เลยที่ (ก) กบทุกตัวสีเขียว (ข) เคอร์มิตเป็นกบ แล้ว (ค) เคอร์มิตตัวสีไม่เขียว
คำอธิบายเชิงอัญรูป-รูปนัย
แก้คำอธิบายเชิงอัญรูป-รูปนัยรวมเอาคำอธิบายแบบรูปนัยและอัญรูปเข้าด้วยกันและให้ผลออกมาเป็นรูปแปรผันของใจความพื้นฐานดังนี้:
- ก็ต่อเมื่อหากมันเป็นไปไม่ได้ที่การอ้างเหตุผลซึ่งมีรูปตรรกะเดียวกันกับ / จะมีข้อตั้งที่เป็นจริงและข้อสรุปที่เป็นเท็จ
คำอธิบายบนเหตุผลสนับสนุน
แก้คำอธิบายซึ่งได้พิจารณาไว้ด้านบนทั้งหมดเป็นแบบ "ถนอมความจริง" (truth-preservational) ซึ่งหมายความว่าเป็นคำอธิบายที่ถือว่าคุณลักษณะของการอนุมานที่ดีคือการอนุมานที่ไม่ยอมให้มีข้อสรุปเท็จที่มาจากข้อตั้งที่เป็นจริง แต่ในอีกทางหนึ่งคำอธิบายแบบ "ถนอมเหตุผลสนับสนุน" (warrant-preservational) ก็ถูกนำเสนอมาโดยบอกว่าคุณลักษณะของการอนุมานที่ดีคือการอนุมานที่ไม่ยอมให้มีข้อสรุปที่ไม่สามารถยืนยันด้วยเหตุผลสนับสนุนได้ซึ่งมาจากข้อตั้งที่สามารถยืนยันด้วยเหตุผลสนับสนุนได้ และคำอธิบายนี้เป็นแบบที่นิยมโดยนักสหัชญาณนิยม (intuitionism) เช่น ไมเคิล ดัมเม็ตต์ (Michael Dummett)
ผลพวงเชิงตรรกะไม่เป็นทางเดียว
แก้คำอธิบายซึ่งถูกพิจารณาด้านบนทั้งหมดให้ผลเป็นความสัมพันธ์แบบผลพวงทางเดียว (Monotonicity of entailment) หรือก็คือแบบที่ถ้า เป็นผลพวงของ แล้ว จะเป็นผลพวงของซูเปอร์เซตใด ๆ ของ ด้วย เราสามารถระบุความสัมพันธ์แบบผลพวงไม่เป็นทางเดียว (Non-monotonic logic) เพื่อแสดงให้ดูว่าข้อความเช่น 'เจ้าขุนทองบินได้' เป็นผลพวงเชิงตรรกะของ
- {นกโดยปกติแล้วบินได้, เจ้าขุนทองเป็นนก}
แต่ไม่เป็นผลพวงเชิงตรรกะของ
- {นกโดยปกติแล้วบินได้, เจ้าขุนทองเป็นนก, เจ้าขุนทองเป็นนกเพนกวิน}.
ดูเพิ่ม
แก้- Ampheck
- การให้เหตุผลแบบนิรนัย
- กฎของเพิร์ซ (Peirce's law)
- กราฟเชิงตรรกะ (Logical graph)
- เครื่องหมายดังนั้น (Therefore sign)
- แคลคูลัสเชิงประพจน์
- ความสมเหตุสมผล (Validity (logic))
- เงื่อนไขเข้มงวด (Strict conditional)
- โดเมนแบบบูล
- ตรรกศาสตร์เชิงน่าจะเป็น (Probabilistic logic)
- ตรรกศาสตร์เชิงพีชคณิตนามธรรม (Abstract algebraic logic)
- เทิร์นสไตล์ (Turnstile (symbol))
- เทิร์นสไตล์คู่ (Double turnstile)
- ประตูสัญญาณตรรกะ
- ผลพวงเชิงสัจนิรันดร์ (Tautological consequence)
- พีชคณิตแบบบูล
- ฟังก์ชันแบบบูล (Boolean function)
- สัจนิรันดร์ (Tautology (logic))
- เหตุภาพ
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Beall, JC and Restall, Greg, Logical Consequence The Stanford Encyclopedia of Philosophy (Fall 2009 Edition), Edward N. Zalta (ed.).
- ↑ Quine, Willard Van Orman, Philosophy of Logic.
- ↑ 3.0 3.1 McKeon, Matthew, Logical Consequence Internet Encyclopedia of Philosophy.
- ↑ Kosta Dosen (1996). "Logical consequence: a turn in style". ใน Maria Luisa Dalla Chiara; Kees Doets; Daniele Mundici; Johan van Benthem (บ.ก.). Logic and Scientific Methods: Volume One of the Tenth International Congress of Logic, Methodology and Philosophy of Science, Florence, August 1995. Springer. p. 292. ISBN 978-0-7923-4383-7.
- ↑ Dummett, Michael (1993) Frege: philosophy of language Harvard University Press, p.82ff
- ↑ Lear, Jonathan (1986) Aristotle and Logical Theory Cambridge University Press, 136p.
- ↑ Creath, Richard, and Friedman, Michael (2007) The Cambridge companion to Carnap Cambridge University Press, 371p.
- ↑ FOLDOC: "syntactic consequence" เก็บถาวร 2013-04-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Hunter, Geoffrey, Metalogic: An Introduction to the Metatheory of Standard First-Order Logic, University of California Pres, 1971, p. 75.
- ↑ Etchemendy, John, Logical consequence, The Cambridge Dictionary of Philosophy
บรรณานุกรม
แก้- Anderson, A.R.; Belnap, N.D., Jr. (1975), Entailment, vol. 1, Princeton, NJ: Princeton.
- Augusto, Luis M. (2017), Logical consequences. Theory and applications: An introduction. London: College Publications. Series: Mathematical logic and foundations.
- Barwise, Jon; Etchemendy, John (2008), Language, Proof and Logic, Stanford: CSLI Publications.
- Brown, Frank Markham (2003), Boolean Reasoning: The Logic of Boolean Equations 1st edition, Kluwer Academic Publishers, Norwell, MA. 2nd edition, Dover Publications, Mineola, NY, 2003.
- Davis, Martin, (editor) (1965), The Undecidable, Basic Papers on Undecidable Propositions, Unsolvable Problems And Computable Functions, New York: Raven Press, ISBN 9780486432281
{{citation}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help). Papers include those by Gödel, Church, Rosser, Kleene, and Post. - Dummett, Michael (1991), The Logical Basis of Metaphysics, Harvard University Press, ISBN 9780674537866.
- Edgington, Dorothy (2001), Conditionals, Blackwell in Lou Goble (ed.), The Blackwell Guide to Philosophical Logic.
- Edgington, Dorothy (2006), "Indicative Conditionals", Conditionals, Metaphysics Research Lab, Stanford University in Edward N. Zalta (ed.), The Stanford Encyclopedia of Philosophy.
- Etchemendy, John (1990), The Concept of Logical Consequence, Harvard University Press.
- Goble, Lou, ed. (2001), The Blackwell Guide to Philosophical Logic, Blackwell
{{citation}}
:|first=
มีชื่อเรียกทั่วไป (help). - Hanson, William H (1997), "The concept of logical consequence", The Philosophical Review, 106 (3): 365–409, doi:10.2307/2998398, JSTOR 2998398 365–409.
- Hendricks, Vincent F. (2005), Thought 2 Talk: A Crash Course in Reflection and Expression, New York: Automatic Press / VIP, ISBN 978-87-991013-7-5
- Planchette, P. A. (2001), Logical Consequence in Goble, Lou, ed., The Blackwell Guide to Philosophical Logic. Blackwell.
- Quine, W.V. (1982), Methods of Logic, Cambridge, MA: Harvard University Press (1st ed. 1950), (2nd ed. 1959), (3rd ed. 1972), (4th edition, 1982).
- Shapiro, Stewart (2002), Necessity, meaning, and rationality: the notion of logical consequence in D. Jacquette, ed., A Companion to Philosophical Logic. Blackwell.
- Tarski, Alfred (1936), On the concept of logical consequence Reprinted in Tarski, A., 1983. Logic, Semantics, Metamathematics, 2nd ed. Oxford University Press. Originally published in Polish and German.
- Ryszard Wójcicki (1988). Theory of Logical Calculi: Basic Theory of Consequence Operations. Springer. ISBN 978-90-277-2785-5.
- A paper on 'implication' from math.niu.edu, Implication เก็บถาวร 2014-10-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- A definition of 'implicant' AllWords
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Beall, Jc; Restall, Greg (2013-11-19). "Logical Consequence". ใน Zalta, Edward N. (บ.ก.). Stanford Encyclopedia of Philosophy (Winter 2016 ed.).
- "Logical consequence". Internet Encyclopedia of Philosophy.
- Logical consequence ที่ Indiana Philosophy Ontology Project
- Logical consequence and entailment ที่ PhilPapers
- Hazewinkel, Michiel, บ.ก. (2001), "Implication", Encyclopedia of Mathematics, Springer, ISBN 978-1-55608-010-4