เพนกวิน

วงศ์ของนก
(เปลี่ยนทางจาก นกเพนกวิน)
เพนกวิน
ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: พาลีโอซีน-ปัจจุบัน
62–0Ma [1]
เพนกวินฮัมโบลด์ (Spheniscus humboldti) เป็นเพนกวินชนิดหนึ่งที่อยู่ในสกุล Spheniscus
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ไฟลัมย่อย: Vertebrata
ไม่ได้จัดลำดับ: Archosauria
ชั้น: Aves
อันดับ: Sphenisciformes
Sharpe, 1891
วงศ์: Spheniscidae
Bonaparte, 1831
สกุล
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ของเพนกวิน (สีฟ้า)

เพนกวิน (อังกฤษ: penguin) เป็นนกที่อยู่ในวงศ์ Spheniscidae อันดับ Sphenisciformes[2] เพนกวินเกือบทุกชนิดพบได้เฉพาะที่ซีกโลกใต้ มีเพียงสายพันธุ์เดียวเท่านั้นคือ เพนกวินกาลาปาโกส ซึ่งพบได้ทางเหนือของเส้นศูนย์สูตร

เพนกวินสามารถปรับให้เข้ากับชีวิตในน้ำได้เป็นอย่างดี มีลักษะเด่นคือขนสีขาวดำและปีกที่มีลักษณะคล้ายครีบเพื่อใช้ว่ายน้ำ เพนกวินส่วนใหญ่กินกุ้ง ปลา ปลาหมึก และสัตว์ทะเลขนาดเล็กอื่น ๆ เป็นอาหารโดยพวกมันมักหาอาหารได้ขณะว่ายน้ำอยู่ใต้น้ำ[3] เพนกวินใช้เวลาประมาณครึ่งชีวิตอยู่บนบกและอีกครึ่งหนึ่งอยู่ในทะเล แม้ว่าเพนกวินเกือบทุกชนิดจะมีถิ่นกำเนิดในซีกโลกใต้ แต่ในปัจจุบันไม่ได้พบเฉพาะในพื้นที่ที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น แอนตาร์กติกา เท่านั้นโดยยังมีอีกหลายชนิดที่อาศัยในเขตอบอุ่น

เพนกวินสายพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือเพนกวินจักรพรรดิซึ่งเมื่อตัวเต็มวัยจะสูงประมาณ 1.1 เมตร (3 ฟุต 7 นิ้ว) และหนัก 35 กิโลกรัม (77 ปอนด์)[4] ในขณะที่สายพันธุ์ที่เล็กที่สุดคือเพนกวินน้อยหรือที่รู้จักในชื่อเพนกวินนางฟ้าซึ่งสูงประมาณ 33 เซนติเมตร (13 นิ้ว) และหนักเพียง 1 กิโลกรัม (2.2 ปอนด์)[5] โดยทั่วไปแล้ว เพนกวินขนาดใหญ่มักอาศัยอยู่บริเวณที่เย็นกว่า และเพนกวินที่มีขนาดเล็กกว่าจะอาศัยอยู่บริเวณที่มีภูมิอากาศอบอุ่นหรือเขตร้อน เชื่อกันว่าเพนกวินยุคก่อนประวัติศาสตร์บางสายพันธุ์มีขนาดมหึมาโดยมีความสูงหรือน้ำหนักเท่ากับมนุษย์ที่โตเต็มวัยเลยทีเดียว

ศัพทมูลวิทยา

แก้

โดยชื่อ "เพนกวิน" แท้ที่จริงแล้วเดิมทีจะถูกใช้เป็นชื่อเรียกนกขนาดใหญ่ที่บินไม่ได้ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว คือ นกออคใหญ่ ซึ่งมีสภาพเหมือนกับเพนกวิน คือ บินไม่ได้และมีขนสีขาวดำ[6]

ลักษณะและพฤติกรรม

แก้

เพนกวินมีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณซีกโลกทางใต้หรือขั้วโลกใต้ เป็นนกที่บินไม่ได้ เนื่องจากมีโมเลกุลกระดูกที่หนาแน่นผิดจากนกทั่วไป[6] มีลักษณะเด่นคือ มีขนสีดำที่ด้านหลัง และขนสีขาวที่ด้านหน้าท้อง ซึ่งช่วยป้องกันเพนกวินจากสัตว์นักล่าต่าง ๆ เวลาว่ายน้ำ ปีกของเพนกวินมีลักษณะคล้ายครีบปลา ช่วยในการว่ายน้ำ แต่ไม่สามารถใช้ปีกในการบินเหมือนนกทั่วไป เพนกวินไม่สามารถหายใจในน้ำได้แต่สามารถกลั้นหายใจได้นานมากในน้ำ ร้อยละ 75 ของชีวิตเพนกวินจะอาศัยในน้ำ เพนกวินสามารถว่ายน้ำได้เร็วเฉลี่ยประมาณ 22–24 กิโลเมตร/ชั่วโมง และสามารถดำน้ำได้ลึกถึง 250 เมตร ตีนของเพนกวินเป็นพังผืดเหมือนตีนเป็ด ใช้ได้ดีเวลาว่ายน้ำหรือดำน้ำ แต่เมื่อเดินบนบกแล้ว เพนกวินจะเดินตัวตรง[7] แต่จะทำให้เดินอย่างช้า ๆ ซึ่งเพนกวินมีวิธีการเคลื่อนที่บนบกที่เร็วกว่าและใช้ได้ผลดีกว่าการเดิน นั่นคือ การไถลตัวไปตามทางลาดชันหรือพื้นที่ลื่นเป็นน้ำแข็ง [8]

เพนกวินออกลูกเป็นไข่ เมื่อเพนกวินตัวเมียออกลูกจะให้ตัวผู้กกไข่ ส่วนตัวเมียจะออกไปหาอาหาร ซึ่งได้แก่ ปลา, ครัสเตเชียน หรือหมึก ลูกเพนกวินแรกเกิดจะมีขนสีเทา เมื่อโตขึ้นขนสีเทาจะค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นสีดำที่ด้านหลัง และขนสีขาวที่ด้านหน้าท้อง เพนกวินจะมีพฤติกรรมการทำรังที่ต่างออกไปตามแต่ละชนิด บางชนิดทำรังใกล้ทะเล แต่บางชนิดทำรังในป่ามะเลาะ[9] หรือพื้นที่ในชุมชนของมนุษย์ เช่น ใต้ถุนบ้าน หรือในสวนหลังบ้าน ก็มี[7] เพนกวินทุกชนิดจะอาศัยอยู่ในบริเวณที่มีอากาศหนาว ทำให้เพนกวินต้องมีชั้นไขมันที่หนาเพื่อช่วยในการกักเก็บความร้อนจากร่างกาย และร่างกายมีการปรับอุณหภูมิอยู่เสมอ โดยมีระบบหมุนเวียนเลือดที่มีประสิทธิภาพ[6] รวมถึงชั้นไขมันนี้ยังใช้เป็นพลังงานอาหารในช่วงที่คลาดแคลน ขนของเพนกวินมี 2 ชั้น ชั้นในทำหน้าที่เหมือนขนของนกทั่วไป ส่วนชั้นนอกจะมีไขมันเคลือบไว้ เพื่อป้องกันน้ำ ความหนาวเย็น และลมหนาวจากภายนอก เพนกวินจะผลัดขนปีละครั้ง ขนที่เก่าและเสียหายจะหลุดออก และขนใหม่จะขึ้นอย่างรวดเร็วภายในระเวลาแค่ไม่กี่สัปดาห์ ซึ่งถือว่าเร็วมาก เมื่อเทียบกับนกทั่วไปซึ่งใช้เวลานานกว่านั้นมาก (โดยเฉลี่ยเกือบปี) หากแต่เพนกวินในช่วงผลัดขนนี้จะมีสภาพที่เปลี่ยนแปลงไปจนแทบจำไม่ได้ และจะไม่เข้าใกล้น้ำหรือว่ายน้ำเลย นอกจากนี้แล้วเพนกวินยังมีอวัยวะที่ทำงานได้อย่างพิเศษไม่เหมือนกับนกหรือสัตว์โลกทั่วไป ที่สามารถตรวจจับและส่งสัญญาณเตือนได้ถึงระดับโซเดียมในเลือดหากจะมีมากเกินไป อันเนื่องจากเป็นนกที่กินอาหารทะเลเป็นหลัก ซึ่งการทำงานนี้ของอวัยวะอันนี้ นักวิทยาศาสตร์ปัจจุบันยังไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ [6]

เพนกวิน มีอายุขัยโดยเฉลี่ยประมาณ 15–20 ปี แต่บางชนิดก็อาจมีอายุที่ยาวกว่านั้น[10] ทุกชนิดจะอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่คล้ายนิคม ในบางครั้งอาจมีการรวมฝูงกันมากถึงจำนวนนับแสนหรือล้านตัว เพนกวินเป็นนกที่บินไม่ได้ แต่สามารถว่ายน้ำได้อย่างคล่องแคล่วและรวดเร็วมาก ซึ่งเพนกวินจะตกเป็นอาหารของสัตว์ล่าเหยื่อขนาดใหญ่ เช่น วาฬออร์กา, แมวน้ำเสือดาว หรือ นกจมูกหลอดยักษ์ เป็นต้น[11]

 
ฝูงเพนกวินเมื่อว่ายน้ำ

เพนกวิน เป็นนกที่แพร่ขยายพันธุ์ในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งตรงกับปลายปีของเวลาในซีกโลกใต้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่อากาศยังอบอุ่นและยังหาอาหารกินได้ เพนกวินจะออกไข่และฟักให้เป็นตัวในช่วงนี้ และจะเร่งเลี้ยงดูลูกให้เติบโตอย่างรวดเร็วเพื่อให้ทันฤดูหนาว ซึ่งเป็นฤดูที่ทั้งพื้นดินและทะเลในซีกโลกทางใต้เป็นน้ำแข็งทั้งหมด และเป็นฤดูกาลที่ยาวนานมาก เพนกวินบางชนิด อย่างเพนกวินจักรพรรดิ (Aptenodytes forsteri) ซึ่งเป็นเพนกวินชนิดที่ใหญ่ที่สุด ในเพศผู้อาจมีน้ำหนักตัวมากได้ถึง 40 กิโลกรัม ซึ่งเป็นการเตรียมตัวสำรองพลังงานอาหารไว้เพื่อรอรับกับฤดูหนาว[8]

การผสมพันธุ์

นอกจากนี้แล้ว ยังมีข้อมูลจากการบันทึกโดยนักสำรวจขั้วโลกใต้ชาวอังกฤษในปี ค.ศ. 1910 ที่ศึกษาถึงพฤติกรรมเพนกวินที่อาเดลีแลนด์ พบว่า มีพฤติกรรมทางเพศที่แปลกประหลาดมาก โดยมีการพบการรักร่วมเพศ, การข่มขืน, การผสมพันธุ์โดยไม่หวังการสืบพันธุ์ รวมถึงการผสมพันธุ์กับซากเพนกวินเพศเมียที่ตายไปนานแล้วด้วย [12]

เหตุที่เพนกวินไม่สามารถบินได้ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นเพราะความสามารถที่ดีในการว่ายน้ำและดำน้ำ จึงทำให้ปีกของเพนกวินไม่สามารถใช้ในการบินได้ เพราะการว่ายน้ำและดำน้ำใช้พลังงานที่น้อยกว่า ความสามารถในการบินก็ค่อย ๆ ลดลงเรื่อย ๆ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการวิจัยจากนกทะเลชนิดอื่นที่มีสายพันธุ์ใกล้เคียงกับเพนกวินมากที่สุด เช่น นกทะเลปากยาว[13]

วิวัฒนาการ

แก้
 
ภาพวาดของไวมานู (Waimanu spp.) บรรพบุรุษของเพนกวิน

บรรพบุรุษของเพนกวิน เป็นนกที่ปีกไม่สามารถบินได้ แต่กลับว่ายน้ำได้คล่องแคล่วที่มีชื่อว่า "ไวมานู" ที่มีชีวิตอยู่ในยุคพาลีโอซีน ประมาณ 62 ล้านปีก่อน ซึ่งฟอสซิลของไวมานู ปัจจุบันพบได้ที่นิวซีแลนด์ ไวมานูมีรูปร่างที่เพรียวยาวแตกต่างจากเพนกวินในปัจจุบันมาก[1]

โดยเพนกวินที่มีขนาดใหญ่ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว เช่น Kumimanu biceae มีความสูงประมาณ 1.77 เมตร น้ำหนัก 101 กิโลกรัม มีชีวิตอยู่ราว 50–60 ล้านปีก่อน และเชื่อว่ามีขนสีน้ำตาลซึ่งต่างจากเพนกวินทั่วไปในปัจจุบัน และมีจะงอยปากยื่นยาวกว่า พบโครงกระดูกที่นิวซีแลนด์เมื่อปี ค.ศ.2017 แต่เพนกวินที่ใหญ่ที่สุดที่เคยพบมาคือ Palaeeudyptes klekowskii มีความสูงถึง 2 เมตร น้ำหนักไม่น้อยกว่า 115 กิโลกรัม ค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 2014[14]

สำหรับเพนกวินในยุคปัจจุบัน เป็นนกที่ถือกำเนิดมานานกว่า 40 ล้านปีก่อน จากการศึกษาไมโตคอนเดรียและดีเอ็นเอพบว่า เพนกวินสกุล Aptenodytes ซึ่งเป็นเพนกวินชนิดที่ใหญ่ที่สุด เป็นต้นสายพันธุ์ของเพนกวินทั้งหมดในปัจจุบัน ก่อนที่แต่ละสกุลหรือชนิดจะแยกสายวิวัฒนาการของตัวเองขึ้นมา[15][16]

การจำแนก

แก้

แบ่งออกได้เป็น 6 สกุล ได้แก่

 
สัญลักษณ์ของลีนุกซ์เป็นเพนกวินที่ชื่อ "ทุก" (Tux)

และแบ่งออกเป็นชนิดต่าง ๆ ได้ประมาณ 19 ชนิด[2] หรือ 20 ชนิด[10]

และมีที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์อีกหลายสกุลและหลายชนิด (ประมาณ 40 ชนิด[10])

ความสัมพันธ์กับมนุษย์

แก้

เพนกวินเป็นนกที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์ในด้านต่าง ๆ มากมาย ในอดีตเป็นนกที่มนุษย์ล่าเพื่อเอาเนื้อมาบริโภค[10] แต่ในปัจจุบันเป็นสัตว์ที่เลี้ยงไว้แสดงตามสวนสัตว์หรือสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำต่าง ๆ ทั่วโลก (โดยมากจะเป็นเพนกวินฮัมโบลด์) โดยสถานที่เลี้ยงเพนกวินที่มีจำนวนมากที่สุด คือ โตเกียวซีไลฟ์ปาร์ค ในกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น[17]

และถึงถูกอ้างอิงถึงในสัญลักษณ์หรือวัฒนธรรมร่วมสมัยต่าง ๆ เช่น เป็นสัญลักษณ์ของลีนุกซ์, เป็นตัวละครฝ่ายร้ายในการ์ตูนชุด Batman ของดีซี คอมิคส์ ที่ชื่อ Penguin ที่มีต้นแบบมาจากเพนกวินจักรพรรดิ เป็นต้น[18]

รูปภาพ

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 New Zealand ดินแดนแห่งนก, "Mutant Planet" ทางแอนิมอลแพลนเน็ต. สารคดีทางทรูวิชั่นส์: เสาร์ที่ 22 ธันวาคม 2555
  2. 2.0 2.1 "Spheniscidae". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
  3. https://seaworld.org/animals/all-about/penguins/diet-and-eating-habits/
  4. DK (September 6, 2016). Animal!. Penguin. ISBN 9781465459008.
  5. https://web.archive.org/web/20111216162812/http://mesh.biology.washington.edu/penguinProject/Little
  6. 6.0 6.1 6.2 6.3 จุดประกาย 7 WILD, 19 ความน่ารักของเพนกวิน. กรุงเทพธุรกิจปีที่ 29 ฉบับที่ 10421: วันอังคารที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2560
  7. 7.0 7.1 "ไปดูจิงโจ้ที่เกาะแกงกา/ ไปดูจิงโจ้ที่เกาะแกงการู". passportidea. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-08-31. สืบค้นเมื่อ 2013-07-20.
  8. 8.0 8.1 ฤดูใบไม้ร่วง, สุดยอดสารคดีโลก: "อัศจรรย์โลกน้ำแข็ง (Frozen Planet) " ทางไทยพีบีเอส: พฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม 2556
  9. "นกเพนกวินฮัมโบลด์ (นกเพนกวินเปรูเวียน)". หมูหินดอตคอม. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-02-24. สืบค้นเมื่อ 2013-07-20.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "About Penguins". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-31. สืบค้นเมื่อ 2013-07-20.
  11. "นกเพนกวิน-penguin เพนกวิน". prapot.[ลิงก์เสีย]
  12. "เปิดบันทึกลับข้ามศตวรรษพฤติกรรม "เซ็กซ์วิปริต" ในเพนกวิน". ผู้จัดการออนไลน์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-20. สืบค้นเมื่อ 2013-07-20.
  13. "นักวิจัยไขปริศนาทำไมเพนกวินจึงบินไม่ได้สำเร็จแล้ว/ นักวิจัยไขปริศนา"ทำไมเพนกวินจึงบินไม่ได้?"สำเร็จแล้ว". สนุกดอตคอม.
  14. หน้า 7 วิทยาการ-เกษตร, เพนกวินยักษ์โบราณเคยมีขนาดเท่ามนุษย์. "โลกโศภิณ". ไทยรัฐปีที่ 68 ฉบับที่ 21882: วันอังคารที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ขึ้น 2 ค่ำ เดือน 2 ปีระกา
  15. Baker AJ, Pereira SL, Haddrath OP, Edge KA (2006). "Multiple gene evidence for expansion of extant penguins out of Antarctica due to global cooling". Proc Biol Sci. 273 (1582): 11–17. doi:10.1098/rspb.2005.3260. PMC 1560011. PMID 16519228.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  16. Ksepka, D. T. B., Sara; Giannini, Norberto P; (2006). "The phylogeny of the living and fossil Sphenisciformes (penguins)". Cladistics. 22 (5): 412–441. doi:10.1111/j.1096-0031.2006.00116.x.{{cite journal}}: CS1 maint: extra punctuation (ลิงก์) CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  17. วรเทพ มุธุวรรณ ดร., เดินเที่ยว Tokyo Sea Life Park ณ ประเทศญี่ปุ่น 1 และ2 คอลัมน์ "Blue Planet". นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่ 25 และ 26 ปีที่ 2: กรกฎาคม-สิงหาคม 2012
  18. "The Enemies List". Comics 101. January 14, 2004. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-06. สืบค้นเมื่อ December 25, 2010.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้