ข้อตาม
ข้อตาม (อังกฤษ: Consequent) เป็นครึ่งหลังของประพจน์เชิงสมมติฐาน มันเป็นส่วนที่ตามหลังคำว่า "แล้ว" ในประพจน์ที่มีรูปแบบมาตรฐาน ในเงื่อนไขเชิงตรรกศาสตร์ถ้า P แล้ว Q P จะเรียกว่าข้อนำ (Antecedent (logic)) และ Q เรียกว่าข้อตาม[1] ในบางบริบทอนุบทในภาษาอังกฤษก็อาจเรียกว่า apodosis[2]
ตัวอย่าง:
- ถ้า แล้ว .
เป็นข้อตามของประพจน์เชิงสมมติฐานนี้
- ถ้า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม แล้ว เป็นสัตว์
ในที่นี้ " เป็นสัตว์" คือข้อตาม
- ถ้าคอมพิวเตอร์คิดเป็น แล้วแสดงว่าพวกมันมีชีวิต
"พวกมันมีชีวิต" เป็นข้อตาม
ข้อตามที่อยู่ในประพจน์เชิงสมมติฐานไม่จำเป็นต้องเป็นผลพวงของข้อนำ
- ถ้าลิงสีม่วง แล้วปลาพูดภาษาคลิงงอน
"ปลาพูดภาษาคลิงงอน" เป็นข้อตาม แต่ไม่ได้เป็นผลพวงของ (หรือไม่เกี่ยวกันเลยกับ) คำกล่าวอ้างในข้อนำว่า "ลิงสีม่วง"
ดูเพิ่ม
แก้
- ข้อนำ (Antecedent (logic))
- ความจำเป็นและความพอเพียง (Necessity and sufficiency)
อ้างอิง
แก้- ↑ Sets, Functions and Logic - An Introduction to Abstract Mathematics, Keith Devlin, Chapman & Hall/CRC Mathematics, 3rd ed., 2004
- ↑ ดู Conditional sentence.