ปริซึม (ทัศนศาสตร์)
ปริซึม (prism) ในทางทัศนศาสตร์ เป็นอุปกรณ์สำหรับทำให้แสงเกิด การกระจาย การหักเห การหักเหสองแนว การสะท้อนกลับทั้งหมด ทำขึ้นจาก ทรงหลายหน้า ที่ใช้วัสดุเป็นตัวกลางที่โปร่งใส เช่น แก้ว หรือ ควอตซ์ โดยมากแล้วจะใช้ทรงปริซึมสามเหลี่ยม
ภาพรวม
แก้เนื่องจากดรรชนีหักเหแสงของวัสดุแปรผันตาม ความยาวคลื่น ของแสง ทิศทางของแสงที่ผ่านปริซึมจึงแปรผันตามความยาวคลื่น ปรากฏการณ์นี้เรียกว่า การกระจาย สามารถทำให้แสงแยกเป็นสเปกตรัมได้
ปริซึมยังใช้เพื่อเป็นตัวเปลี่ยนทิศทางของแสงโดยทำให้เกิดการสะท้อนกลับทั้งหมด ในกรณีนี้ ระนาบที่แสงตกกระทบปริซึมและออกจากปริซึมจะตั้งฉากกับทิศทางการเดินทางของแสง และจะไม่เกิดการกระจายของแสงเนื่องจากการหักเห ตัวอย่างเช่น ใน กล้องสองตา ภาพจะกลับด้านเพื่อสร้างภาพตั้งตรง (ปริซึมปอร์โร, ปริซึมหลังคา) หรืออย่างเช่น ในช่องมองภาพของกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว แกนเชิงแสงจะหักเลี้ยวสามครั้งก่อนจะไปสู่ช่องมองภาพ (เพนทาปริซึม)
ปริซึมรูปวงแหวนขนาดใหญ่บางครั้งถูกวางไว้รอบ ๆ เลนส์แฟรแนลที่ใช้ในประภาคารเพื่อเป็นตัวเสริม
นอกจากนี้แล้วยังมีปริซึมสำหรับทำเป็นโพลาไรเซอร์ โดยแยกทิศทางการเดินทางของแสงตามโพลาไรเซชัน หรือส่งผ่านแสงโพลาไรซ์เพียงทิศทางเดียว
ปริซึมชนิดต่าง ๆ ตามการใช้งาน
แก้สเปกโทรสโกปี
แก้หักเปลี่ยนทิศทางหรือแยกลำแสง
แก้- เพนทาปริซึม
- ปริซึมปอร์โร
- ปริซึมปอร์โร–อับเบอ
- ปริซึมอับเบอ–เคอนิช
- ปริซึมชมิท–เพชาน
- ปริซึมโดฟ
- ปริซึมไดโครอิก
- ปริซึมหลังคาอามีชี
โพลาไรเซชัน
แก้- การแยกโดยการสะท้อนกลับทั้งหมด
- การแยกโดยการหักเห
- สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแฟรแนล