ปริซึมกลาน–ทอมป์สัน
ปริซึมกลาน–ทอมป์สัน (Glan–Thompson prism) เป็นปริซึมสำหรับโพลาไรเซอร์ชนิดหนึ่ง มีลักษณะคล้ายกับปริซึมนิคอล และ ปริซึมกลาน–ฟูโก โดยประกอบไปด้วยปริซึมสองก้อนที่ทำจากผลึกแคลไซต์เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน
เมื่อแสงผ่านเข้ามายังแคลไซต์ก้อนแรก จะเกิดการหักเหสองแนวขึ้น แล้วทำให้ลำแสงที่เข้ามาถูกแยกออกเป็นสองลำ แต่ละลำจะแผ่ไปตามเส้นทางเดียวกันโดยมีค่าดรรชนีการหักเหที่แตกต่างกัน ที่ส่วนรอยต่อ แสงสามัญ (o-ray) จะเกิดการสะท้อนกลับทั้งหมด เหลือเพียงแสงวิสามัญ (e-ray) ที่จะถูกส่งผ่าน ดังนั้นปริซึมกลาน–ทอมป์สัน จึงสามารถใช้เป็น ตัวแยกลำแสงโพลาไรซ์ได้ วัตถุดิบสำหรับเชื่อมต่อนั้นเดิมทีใช้น้ำมันสนบาลซัม แต่ในปัจจุบันโดยทั่วไปมักถูกแทนที่ด้วยโพลิเมอร์สังเคราะห์[1]
มุมรับแสง (มุมระหว่างลำแสงตกกระทบกับพื้นผิวปกติถึงพื้นผิวที่แสงผ่าน) ของปริซึมกลาน–ทอมป์สันจะกว้างกว่าเมื่อเทียบกับของปริซึมกลาน–ฟูโก (ซึ่งส่วนรอยต่อถูกแทนที่ด้วยอากาศ) แต่ขีดจำกัดบนของความรับอาบรังสีจะต่ำกว่าของปริซึมกลาน–ฟูโกมาก โดยจะอยู่ที่ประมาณ 1W/cm2 ในขณะที่ของปริซึมกลาน–ฟูโก จะอยู่ที่ประมาณ 100W/cm2[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ Bennett, Jean M. (1995). "Polarizers". ใน Bass, Michael (บ.ก.). Handbook of Optics Volume II (2nd ed.). McGraw-Hill. pp. 3.10–3.11. ISBN 0-07-047974-7.
- ↑ Hecht, Eugene (2002), Optics (ภาษาอังกฤษ) (4th ed.), United States of America: Addison Wesley, ISBN 0-8053-8566-5