ประสงค์ โฆษิตานนท์
ประสงค์ โฆษิตานนท์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ในรัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช และนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ อดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดเพชรบูรณ์ และสมาชิกวุฒิสภาจากการแต่งตั้ง พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2539
ประสงค์ โฆษิตานนท์ | |
---|---|
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 2 สิงหาคม – 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 | |
นายกรัฐมนตรี | นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ |
ก่อนหน้า | นายบัญญัต จันทน์เสนะ พลตำรวจโทธีรวุฒิ บุตรศรีภูมิ |
ถัดไป | นายถาวร เสนเนียม นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 15 ธันวาคม พ.ศ. 2486 เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
เสียชีวิต | 20 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (80 ปี) |
ศาสนา | พุทธ |
คู่สมรส | นางวันเพ็ญ โฆษิตานนท์ |
ประวัติ
แก้นายประสงค์ โฆษิตานนท์ เกิดเมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2486 ที่เขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการเงินและการธนาคาร จากสถาบันฟาร์อีสเทอร์น ประเทศฟิลิปปินส์ และระดับปริญญาโท สาขาการตลาด จากสถาบันเดลลาส ประเทศสหรัฐอเมริกา
นายประสงค์ โฆษิตานนท์ เป็นเจ้าของบริษัท อาณาจักรสุโขทัยหินอ่อนและแกรนิต จำกัด, บริษัท แกรนิตเพชรบูรณ์ จำกัด และบริษัท พี.วี.หินอ่อนและแกรนิต จำกัด
งานการเมือง
แก้นายประสงค์ โฆษิตานนท์ เคยได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกวุฒิสภา 2 สมัย คือ พ.ศ. 2535 และ พ.ศ. 2539[1] ต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงการสรรหาสมาชิกวุฒิสภามาเป็นการเลือกตั้ง ซึ่งนายประสงค์ โฆษิตานนท์ ได้ลงสมัครในจังหวัดเพชรบูรณ์ และได้รับการเลือกตั้งในครั้งนั้นด้วย
ต่อมานายสุวิทย์ คุณกิตติ หัวหน้าพรรคเพื่อแผ่นดิน ได้เสนอชื่อนายประสงค์ โฆษิตานนท์ รับตำแหน่งรัฐมนตรีในโควตาของพรรคเพื่อแผ่นดิน เนื่องจากนายประสงค์ เป็นนายทุนสนับสนุนพรรค[2] ทำให้นายประสงค์ โฆษิตานนท์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ใน 2 รัฐบาล คือ รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช[3] และรัฐบาลของนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์[4]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2548 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[5]
- พ.ศ. 2545 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ แต่งตั้งสมาชิกวุฒิสภา (นายประสงค์ โฆษิตานนท์ แทนตำแหน่งที่ว่าง)
- ↑ http://www.ryt9.com/s/refb/440161
- ↑ พระบรมราชโองการ ประกาศ ให้รัฐมนตรีพ้นจากความเป็นรัฐมนตรีและแต่งตั้งรัฐมนตรี
- ↑ "พระบรมราชโองการ ประกาศแต่งตั้งรัฐมนตรี (รัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์)" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-10-12. สืบค้นเมื่อ 2010-07-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-11-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๒ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๒, ๓ ธันวาคม ๒๕๔๘
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๑๙ ตอนที่ ๒๑ ข หน้า ๘, ๔ ธันวาคม ๒๕๔๕