บุญเรือน ชุณหะวัณ
ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ (สกุลเดิม โสพจน์; 25 เมษายน พ.ศ. 2463 – 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564) เป็นภริยาของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี และเป็นพระญาติฝ่ายพระชนนีในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[1][2]
บุญเรือน ชุณหะวัณ | |
---|---|
คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย | |
ดำรงตำแหน่ง 4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 (2 ปี 203 วัน) | |
ก่อนหน้า | วิรัตน์ ชมะนันทน์ |
ถัดไป | หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | บุญเรือน โสพจน์ 25 เมษายน พ.ศ. 2463 |
เสียชีวิต | 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (101 ปี) กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
คู่สมรส | ชาติชาย ชุณหะวัณ (2487—2541) |
บุตร | วาณี ชุณหะวัณ ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ |
บุพการี |
|
อาชีพ | ครู |
ประวัติ
แก้ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดสี่คนของแช่ม กับ บ๋วย โสพจน์ มีพี่น้องชื่อ ชื่น, สนิท และอำไพ (เดิมชื่อ ทุเรียน) ตามลำดับ บิดาเป็นลูกพี่ลูกน้องทางพระชนนีของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี[1][2]
ท่านผู้หญิงบุญเรือนและพี่น้องทั้งหมดได้รับการอุปการะจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และเป็นผู้ติดตามเมื่อครั้งเดินทางไปโลซาน สวิตเซอร์แลนด์ โดยโดยสารทางเรือจากปีนังเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2476 พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร และพระพี่เลี้ยงเนื่อง จินตดุล[3] ต่อมาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงจัดให้ท่านไปอยู่กับครอบครัวชาวสวิตเซอร์แลนด์ และไปศึกษาต่อที่โรงเรียนประจำสำหรับเด็กผู้หญิง[3]
ท่านผู้หญิงบุญเรือนสำเร็จการศึกษาด้านการเลี้ยงเด็ก และตามเสด็จฯ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเดินทางกลับประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2481[4] เป็นครูสอนหนังสืออยู่ที่โรงเรียนอนุบาลละอออุทิศ[5](โรงเรียนสาธิตละอออุทิศ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต)
ท่านผู้หญิงบุญเรือน ชุณหะวัณ ถึงแก่อนิจกรรมจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 01.38 น. สิริอายุ 101 ปี
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯ ให้พระราชทานเพลิงศพในวันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 14.00 น. ณ วัดพระศรีมหาธาตุวรมหาวิหาร เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร กร ทัพพะรังสี สุวัจน์ ลิปตพัลลภ วรรณรัตน์ ชาญนุกูล จาตุรนต์ ฉายแสง ประเสริฐ บุญชัยสุข เทวัญ ลิปตพัลลภ วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ เข้าร่วมพิธีพระราชทานเพลิงศพ[6]
ชีวิตส่วนตัว
แก้ท่านผู้หญิงบุญเรือนสมรสกับพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งขณะนั้นผู้บังคับหมวดกองพันทหารม้าที่ 1 รักษาพระองค์ เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2487[7] มีบุตรธิดาด้วยกันสองคน คือ
- วาณี ชุณหะวัณ (เกิด 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2488) สมรสและหย่ากับร้อยโทระวี หงสประภาส มีธิดาหนึ่งคนคือ ปวีณา พหิทธานุกร (สกุลเดิม หงสประภาส)[8]
- ไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ (8 ตุลาคม พ.ศ. 2490 – 11 มิถุนายน พ.ศ. 2563) สมรสกับอโณทัย ชุณหะวัณ (สกุลเดิม จิตราวัฒน์) มีธิดาสองคน คือ ธิษะณา และสิริจรรยา ชุณหะวัณ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2532 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[9]
- พ.ศ. 2531 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[10]
- พ.ศ. 2533 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า ชั้นที่ 2 ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ (ท.จ.ว.) (ฝ่ายใน)[11]
- พ.ศ. 2526 – เหรียญลูกเสือสดุดี ชั้นที่ 1[12]
- พ.ศ. 2481 – เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 8 ชั้นที่ 5 (อ.ป.ร.5)[13]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. แม่เล่าให้ฟัง. กรุงเทพ : มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559. 286 หน้า. หน้า 9. ISBN 978-616-7681-19-1.
- ↑ 2.0 2.1 กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. "แม่เล่าให้ฟัง (1)". Mother of Mine. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2558.
- ↑ 3.0 3.1 กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. เจ้านายเล็ก ๆ - ยุวกษัตริย์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559. 450 หน้า. หน้า 164. ISBN 974-7047-55-1.
- ↑ กัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้า. แม่เล่าให้ฟัง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์, 2559. 286 หน้า. หน้า 180. ISBN 978-616-7681-19-1.
- ↑ เรื่องย่อภาพยนตร์ "ชาติอาชาไนย" (2547) สร้างจากชีวประวัติพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ
- ↑ พระราชทานเพลิง ‘ท่านผู้หญิงบุญเรือน’ ครอบครัว-คนสนิท ร่วมไว้อาลัย
- ↑ ธนากิต. ประวัตินายกรัฐมนตรีไทย. กรุงเทพฯ : ปิรามิด, 2545, หน้า 331
- ↑ "ความรัก" สามมุม ของ สามหนุ่มคนดัง[ลิงก์เสีย] นิตยสารหญิงไทย ฉบับที่ 681 ปีที่ 29 ปักษ์หลัง เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-04-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๒๑๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๒
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์[ลิงก์เสีย], เล่ม ๑๐๕ ตอนที่ ๒๐๑ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๘, ๓ ธันวาคม ๒๕๓๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-06-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๗ ตอนที่ ๗๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๓, ๔ พฤษภาคม ๒๕๓๓
- ↑ รายนามผู้ได้รับพระราชทานเหรียญลูกเสือสดุดี ประจำปี ๒๕๒๖ จากเว็บไซต์ thaiscouts
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๕๕ ตอนที่ ๐ ง หน้า ๒๙๖๒, ๒๘ พฤศจิกายน ๒๔๘๑
ก่อนหน้า | บุญเรือน ชุณหะวัณ | ถัดไป | ||
---|---|---|---|---|
วิรัตน์ ชมะนันทน์ | คู่สมรสนายกรัฐมนตรีไทย (4 สิงหาคม พ.ศ. 2531 – 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534) |
หม่อมราชวงศ์สดศรี ปันยารชุน |