กากยวี

(เปลี่ยนทางจาก นิกายกาจู)
  • นิกายการ์จู หรือ คากิว(ทิเบต: བཀའ་བརྒྱུད་པ་, ไวลี: bka'-brgyud pa, พินอินทิเบต: Ga gyü ba) เป็นนิกายสำคัญนิกายหนึ่งของพุทธศาสนาในทิเบต ซึ่งคําว่าการ์จูเป็นการรวมกันของคําสองคําคือ การ์ หมายถึงอรรถาธิบาย(อุปเทศ)ข้อบัญญัติวจนะ ส่วน จู หมายถึงสายการปฏิบัติที่สืบทอดจากคุรุสู่ศิษย์ไม่ขาดช่วง มีที่มาจากพระวัชรธรได้มอบคําสอนให้กับท่านติโลปะ และท่านติโลปะได้มอบคําสอนให้กับท่านมาร์ปา โชคี โลโด ซึ่งเดินทางไปศึกษาพุทธศาสนานิกายตันตระในอินเดียและเนปาล ศิษย์ที่สืบทอดความรู้และนำมาเผยแพร่ในทิเบตคือมิลาเรปะ คำสอนของนิกายนี้มีทั้งสายสมาธิและสายการฝึกฝนทางปรัชญา
นิกายย่อย

นิกายการ์จูแบ่งย่อยได้อีกเป็น 4 นิกายคือ

  1. การ์จูริเริ่มโดย ซางยูดรักปา ซอนดู ดักปา
  2. บารอมการ์จูริเริ่มโดย บารอมทรมาวังจุก ผู้สร้างวัดบารอม
  3. ฟักดูการ์จู ริเริ่มโดย พักโม่ ดรูปะ โตเจ กยัลโป นิกายนี้แตกย่อยได้อีกเป็น 8 นิกายแต่เหลือในปัจจุบันเพียง 3 นิกายคือ นิกายดรุกปา นิกายดริกุง การ์จูและซังปาการ์จู ส่วนนิกายที่เหลือถูกลืนเข้ากับนิกายอื่น
  4. กรรมาการ์จู ริเริ่มโดย ดุสุม เค็มปา นิกายนี้มีการสืบทอดตำแหน่งผู้นำโดยการกลับชาติมาเกิด

คำสอน

แก้

นิกายการ์จูมีหลักปฏิบัติเฉพาะนิกายคือ โยคะทั้ง 6 ของนาโรปา จักรสัมภวะ มหากาล มหามุทรา ความแตกต่างของแต่ละนิกายย่อยอยู่ที่วิธีการสอนของอาจารย์ การศึกษาของพระสงฆ์ในนิกายนี้ เน้นเรื่องปัญญาบารมี มาธยมิก การรับรู้ที่ถูกต้อง พระวินัย และปรากฏการณ์วิทยา

อ้างอิง

แก้
  • ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ ษัฏเสน. พระพุทธศาสนาแบบทิเบต. [ม.ป.ท.] : ศูนย์ไทยธิเบต, 2538.