ระบบการถอดอักษรแบบไวลี
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
ระบบการถอดอักษรแบบไวลี (Wylie transliteration; 威利转写) เป็นหนึ่งในวิธีการถอดอักษรทิเบตเป็นอักษรโรมัน คิดค้นขึ้นโดยเทอเรล ไวลี (Turrell Wylie) ในปี ค.ศ. 1959 และได้กลายเป็นตัวช่วยสำคัญในการทับศัพท์ภาษาทิเบตแบบถอดตัวอักษรเพื่อการศึกษา
ภาพรวม
แก้อักษรทิเบตเป็นอักษรแสดงเสียงซึ่งได้รับการคิดขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 7 เพื่อแสดงเสียงภาษาทิเบตในสมัยนั้น แต่เสียงอ่านภาษาทิเบตในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมาก ในขณะที่อักษรยังเขียนเหมือนเดิมอยู่ ดังนั้นเมื่อพยายามเขียนภาษาทิเบตโดยใช้อักษรโรมันจึงมีความแตกต่างอย่างมากระหว่างการถอดอักษรกับการถอดตามเสียง ระบบการถอดอักษรไวลีนี้เป็นวิธีทับศัพท์โดยการถอดอักษรทิเบตโดยตรง เน้นการถอดอักษรให้เห็นรากศัพท์มากกว่าที่จะแสดงเสียงอ่านจริง ต่างจากระบบพินอินทิเบตที่ถอดตามเสียงโดยอิงสำเนียงลาซ่าเป็นมาตรฐาน
ประวัติศาสตร์
แก้ในปี ค.ศ. 1959 เทอเรล ไวลี ได้ชี้ให้เห็นว่าระบบการทับศัพท์ทิเบตที่ใช้กันมาก่อนหน้านั้นมีปัญหา จึงได้เรียบเรียงระบบการถอดอักษรนี้ขึ้น โดยเขาไม่ได้คิดขึ้นเองใหม่ทั้งหมดแต่ปรับปรุงจากระบบที่มีการใช้อยู่ในมหาวิทยาลัยวอชิงตัน
พยัญชนะ
แก้อักษรพยัญชนะแต่ละตัวถอดเป็นอักษรโรมันตามระบบไวลีได้ดังนี้
ཀ | ཁ | ག | ང | ཅ | ཆ | ཇ | ཉ | ཏ | ཐ | ད | ན | པ | ཕ | བ | མ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ไวลี | k | kh | g | ng | c | ch | j | ny | t | th | d | n | p | ph | b | m |
พินอินทิเบต | g | k | k | ng | j | q | q | ny | d | t | t | n | b | p | p | m |
เสียงอ่าน | ก | ค | ค | ง | จ | ช | ช | ญ | ต | ท | ท | น | ป | พ | พ | ม |
ཙ | ཚ | ཛ | ཝ | ཞ | ཟ | འ | ཡ | ར | ལ | ཤ | ས | ཧ | |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ไวลี | ts | tsh | dz | w | zh | z | ' | y | r | l | sh | s | h |
พินอินทิเบต | z | c | c | w | x | s | y | r | l | x | s | h | |
เสียงอ่าน | จ | ช | ช | ว | ซ | ซ | อ | ย | ร | ล | ซ | ซ | ฮ |
อักษรทิเบตตัวสุดท้ายคือ ཨ นั้นเป็นเสียง "อ" ซึ่งจะไม่แสดงในการเขียนระบบไวลี
สระ
แก้อักษรทิเบตมีรูปสระมีอยู่ 4 ตัวคือสระอี อู เอ โอ โดยสระอะจะไม่แสดงรูปในอักษรทิเบตแต่จะแทนด้วยตัว a ในระบบไวลี
ཨ | ཨི | ཨུ | ཨེ | ཨོ |
---|---|---|---|---|
a | i | u | e | o |
อา | อี | อู | เอ | โอ |
เพิ่มเติม
แก้เครื่องหมาย (་) ที่วางต่อท้ายแต่ละพยางค์จะแทนด้วยการเว้นวรรค