นวราตรี (อักษรโรมัน: Navaratri) เป็นเทศกาลในศาสนาฮินดูรายปีที่เฉลิมฉลองเทิดเกียรติแด่พระแม่ทุรคา กินระยะเวลาเก้าคืนในเดือนอัศวินตามปฏิทินฮินดู (กันยายน-ตุลาคม)[1][2] ที่มาในการเฉลิมฉลองมีแตกต่างกันไปในแต่ละภาคส่วนของวัฒนธรรมฮินดูในอนุทวีปอินเดีย[1][3] คำว่า นวราตรี มาจากภาษาสันสกฤต คำว่า นว แปลว่าเก้า และ ราตรี แปลว่าค่ำคืน จึงแปลรวมกันว่า "เก้าค่ำคืน"[2]

นวราตรี
การเฉลิมฉลองนวราตรีในปูเณ ประเทศอินเดีย
ชื่ออื่น
  • นวรถ
  • เนาราตรี
  • นวราถรี
  • นวรัตระ
  • นราเต
  • นวรตัน
  • เนารตะ
  • เนาราต
  • ทุรคาบูชา
จัดขึ้นโดยชาวฮินดู
ประเภทศาสนาฮินดู
การเฉลิมฉลอง10 วัน (9 คืน)
การถือปฏิบัติ
  • ตั้งเวที
  • สวดภาวนา
  • การแสดง, นาฏศิลป์
  • ถือพรต
  • พิธีบูชา
  • นำมูรติจุ่มลงน้ำ
  • สวดภาวนารอบกองไฟ
วันที่9-10 วัน
วันที่ในปี 202315 ตุลาคม (อา.) – 24 ตุลาคม (อั.)
วันที่ในปี 20243 ตุลาคม (พฤ.) - 12 ตุลาคม (ส.)
ความถี่รายปี
ส่วนเกี่ยวข้องวิชัยทัศมี, ดาเชน, ทุรคาบูชา

ในแถบตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย นวราตรีมีความหมายเดียวกับทุรคาบูชา[4] ในฐานะการเฉลิมฉลองชัยชนะของพระทุรคาเหนืออสูรควาย มหิษาสูร เพื่อกู้คืนมาซึ่งธรรมะ[3] ส่วนในแถบอินเดียใต้จะเฉลิมฉลองชัยชนะของพระทุรคาหรือพระกาลี ในรัฐคุชราต นวราตรีจะประกอบด้วยการประกอบอารตี ตามด้วยนาฏกรรม ครรพ์ ในทุกกรณีของการฉลองนวราตรี มีรูปแบบร่วมกันคือชัยชนะของความดีเหนือความชั่วร้าย โดยมีรากฐานมาจากมหากาพย์หรือตำนาน เช่น เทวีมหัตมยะ[1][2]

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 Encyclopedia Britannica 2015.
  2. 2.0 2.1 2.2 James G. Lochtefeld 2002, pp. 468–469.
  3. 3.0 3.1 Fuller, Christopher John (2004). The Camphor Flame: Popular Hinduism and Society in India. Princeton University Press. pp. 108–109. ISBN 978-0-69112-04-85. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 February 2017. สืบค้นเมื่อ 22 February 2017.
  4. Celebrations: https://www.bhaktibharat.com/en/festival/durga-puja เก็บถาวร 26 มีนาคม 2022 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน