นครปกครองโดยตรงของประเทศจีน
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง |
นครปกครองโดยตรง (จีนตัวย่อ: 直辖市; จีนตัวเต็ม: 直轄市; พินอิน: zhíxiáshì) หรือหากแปลตามภาษาอังกฤษจะเรียกว่า เทศบาลนคร[1] (อังกฤษ: municipality)[2][3] เป็นระดับสูงสุดของการจำแนกประเภทของนครที่ใช้ในสาธารณรัฐประชาชนจีน นครเหล่านี้มีระดับเทียบเท่ากับมณฑล และเป็นเขตการปกครองประเภทหนึ่งในบรรดาเขตการปกครองระดับที่หนึ่งของประเทศจีน ซึ่งอยู่ภายใต้การบริหารโดยตรงของรัฐบาลกลาง
นครปกครองโดยตรง 直辖市 Zhíxiáshì | |
---|---|
หมวดหมู่ | เขตการปกครองระดับที่หนึ่ง รัฐเดี่ยว |
ที่ตั้ง | สาธารณรัฐประชาชนจีน |
จำนวน | 4 แห่ง (ตามภาพด้านบน: #1 ปักกิ่ง; #2 เทียนจิน; #3 ฉงชิ่ง; #4 เซี่ยงไฮ้) |
ประชากร | 12,938,224 คน (เทียนจิน) 28,846,170 คน (ฉงชิ่ง) 21.7 ล้านคน (ค.ศ. 2016) (ปักกิ่ง) 24.15 ล้านคน (ค.ศ. 2016) (เซี่ยงไฮ้) |
พื้นที่ | 6,341 km2 (2,448.1 sq mi) (เซี่ยงไฮ้) – 82,400 km2 (31,816 sq mi) (ฉงชิ่ง) |
หน่วยการปกครอง | เขต, อำเภอ, อำเภอปกครองตนเอง |
นครปกครองโดยตรงของจีนเป็น "นคร" (จีน: 市; พินอิน: shì) ที่มีอำนาจ "ระดับมณฑล" (จีน: 省级; พินอิน: shěngjí) ภายใต้เขตอำนาจเดียวกัน กล่าวคือ นครปกครองโดยตรงของจีนเป็นทั้งนครและมณฑลพร้อมกันในตัวมันเอง
นครปกครองโดยตรงของจีนมักไม่ใช่ "นคร" ตามความหมายของมันตามปกติ (กล่าวคือ ไม่ได้เป็นเมืองที่มีพื้นที่ต่อเนื่องขนาดใหญ่) แต่เป็นการประกอบเขตการปกครองหลายแห่งเข้าด้วยกัน ได้แก่ พื้นที่เมืองที่เป็นใจกลาง (ซึ่งคือเมืองในความเป็นจริง มักมีชื่อเดียวกันกับชื่อของนครปกครองโดยตรงนั้น ๆ) และพื้นที่ชนบทขนาดใหญ่กว่าที่ล้อมรอบใจกลางเมือง ซึ่งประกอบไปด้วยเมืองขนาดเล็ก (เขตและแขวง) และหมู่บ้านหลายแห่ง นครปกครองโดยตรงของจีนที่ใหญ่ที่สุด มีพื้นที่ห่างกันกว่า 100 กิโลเมตร (62 ไมล์) เพื่อที่จะแยกความแตกต่างของ "นครปกครองโดยตรง" ออกจากพื้นที่เมืองจริง ๆ จะใช้คำว่า "พื้นที่เมือง" (จีน: 市区)
ประวัติ
แก้นครปกครองโดยตรงเริ่มแรกมี 11 แห่ง ได้แก่ หนานจิง เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง เทียนจิน ชิงเต่า ฉงชิ่ง ซีอาน กว่างโจว ฮั่นโข่ว (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของอู่ฮั่น) เฉิ่นหยาง และฮาร์บิน ในสมัยที่รัฐบาลสาธารณรัฐจีนปกครองประเทศจีน นครปกครองโดยตรงเหล่านี้จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1927 ซึ่งจัดตั้งขึ้นไม่นานนับจากที่เมืองเหล่านี้ถูกจัดตั้งให้เป็น "นคร" ในช่วงทศวรรษ 1920 นอกจากนี้ ต้าเหลียนก็เป็นนครปกครองโดยตรงอีกแห่งหนึ่งเช่นกัน แต่เป็นเพียงในนาม เพราะอยู่ภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่น นครปกครองโดยตรงดังกล่าวข้างต้นในตอนแรกเรียกว่า นครพิเศษ (特别市; 特別市; tèbiéshì) แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น นครภายใต้สภาบริหาร (院辖市; 院轄市; yuànxiáshì) และเปลี่ยนเป็น นครปกครองโดยตรง (直辖市; 直轄市; zhíxiáshì) ดังเช่นปัจจุบัน
หลังจากก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนในปี ค.ศ. 1949 มีการยกฐานะอานชาน เปิ่นซี และฝู่ชุ่น ให้เป็นนครปกครองโดยตรง ในขณะที่ชิงเต่า ต้าเหลียน และฮาร์บิน ถูกลดฐานะให้เป็นนครระดับจังหวัด[4] และฮั่นโข่วถูกรวมเข้ากับอู่ฮั่น ทำให้ยังคงมีนครปกครองโดยตรง 12 แห่งดังเดิม จนกระทั่งยกฐานะต้าเหลียนกลับขึ้นมาในปี ค.ศ. 1950 ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 1952 ได้ลดฐานะหนานจิงให้เป็นนครระดับจังหวัด[5] ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1953 ได้ยกฐานะฮาร์บินกลับมาเป็นนครปกครองโดยตรงอีกครั้ง พร้อมกันกับฉางชุน[6]
ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1954 นครปกครองโดยตรง 11 แห่งจากทั้งหมด 14 แห่ง ถูกลดฐานะเป็นนครระดับกิ่งมณฑล หลายแห่งก็ได้กลายเป็นเมืองหลวงของมณฑลที่นครนั้นตั้งอยู่ มีเพียงปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเทียนจินเท่านั้น ที่ยังคงเป็นนครปกครองโดยตรง จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1997 ได้ยกฐานะฉงชิ่งให้กลับมาเป็นนครปกครองโดยตรงอีกครั้งด้วยพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น นอกจากนี้ เทียนจินยังเคยถูกลดฐานะเป็นนครระดับกิ่งมณฑลเป็นการชั่วคราวระหว่างปี ค.ศ. 1958–1967
ลำดับชั้น
แก้นครปกครองโดยตรงเป็นนครในลำดับชั้นสูงสุดในสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยที่ลำดับชั้นของนครในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีดังนี้
- นครปกครองโดยตรง (直辖市; 直轄市; zhíxiáshì)
- นครระดับจังหวัด (地级市; 地級市; dìjíshì) รวมถึงนครระดับกิ่งมณฑล
- นครระดับอำเภอ (县级市; 縣級市; xiànjíshì) รวมถึงนครระดับกิ่งจังหวัด
การบริหาร
แก้ตำแหน่งสูงสุดในนครปกครองโดยตรง คือ นายกเทศมนตรี นายกเทศมนตรีนั้นยังเป็นผู้แทนในสภาประชาชนแห่งชาติจีน (สภานิติบัญญัติ)[7] และรองเลขาธิการคณะกรรมการนครปกครองโดยตรงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนอีกด้วย อย่างไรก็ตาม อำนาจการบริหารสูงสุดในนครปกครองโดยตรงนั้นเป็นของเลขาธิการคณะกรรมการนครปกครองโดยตรงพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีน
นครปกครองโดยตรงในปัจจุบัน
แก้รายชื่อนครปกครองโดยตรงของสาธารณรัฐประชาชนจีนในปัจจุบัน
ISO[8] | ชื่อ | อักษรจีนตัวย่อ | พินอิน | ตัวย่อ | ประชากร (คน)[9] | พื้นที่ (ตร.กม.) | จำนวนเขตการปกครองย่อย | เขตที่ตั้งที่ทำการ | มณฑลเดิม (วันที่แยกออกมา) |
จังหวัดเดิม | อำเภอเดิม |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
CN-11 | ปักกิ่ง | 北京市 | Běijīng Shì | 京 jīng | 19,612,368 | 16,801 | 16 เขต | เขตตงเฉิง เขตตงโจว |
เหอเป่ย์ (ต.ค. 1949) |
ชุ่นเทียน | ต้าซิง |
CN-12 | เทียนจิน | 天津市 | Tiānjīn Shì | 津 jīn | 12,938,224 | 11,760 | 16 เขต | เขตเหอผิง | เหอเป่ย์ (ม.ค. 1967) |
เทียนจิน | เทียนจิน |
CN-31 | เซี่ยงไฮ้ | 上海市 | Shànghǎi Shì | 沪 hù | 23,019,148 | 6,340 | 16 เขต | เขตหฺวางผู่ | เจียงซู (มี.ค. 1927) |
ซงเจียง | เซี่ยงไฮ้ |
CN-50 | ฉงชิ่ง | 重庆市 | Chóngqìng Shì | 渝 yú | 28,846,170 (ใจกลางเมือง 16,240,026) |
82,300 (ใจกลางเมือง 6,268) |
26 เขต, 8 อำเภอ, 4 อำเภอปกครองตนเอง (ใจกลางเมือง: 19 เขต) |
เขตยฺหวีจง | เสฉวน (พ.ค. 1997) |
ฉงชิ่ง | ปา |
นครปกครองโดยตรงในอดีต
แก้รายชื่อนครปกครองโดยตรงของสาธารณรัฐจีนและสาธารณรัฐประชาชนจีนในอดีต
ชื่อ | อักษรจีนตัวย่อ | พินอิน | ตัวย่อ | เขตที่ตั้งที่ทำการ | ช่วงเวลา | มณฑลเดิม | จังหวัดเดิม | อำเภอเดิม |
---|---|---|---|---|---|---|---|---|
จิงตู | 京都市 | Jīngdū Shì | 京 jīng | เขตตงเฉิง | 1921–1927 | จื๋อลี่ (มณฑลปัจจุบัน: เหอเป่ย์) |
ชุ่นเทียน | ต้าซิง |
จินกู | 津沽市 | Jīngū Shì | 津 jīn | เขตเหอผิง | 1921–1927 | จื๋อลี่ (มณฑลปัจจุบัน: เหอเป่ย์) |
เทียนจิน | เทียนจิน |
ซงฮู่ | 淞沪市 | Sōnghù Shì | 沪 hù | เขตหฺวางผู่ | 1921–1927 | เจียงซู | ซงเจียง | เซี่ยงไฮ้ |
ชิงเต่า | 青岛市 | Qīngdǎo Shì | 青 qīng | เขตชื่อหนาน | 1921–1927, 1929–1949 | ชานตง | เจียวโจว | เจียว |
ฮาร์บิน | 哈尔滨市 | Hārbīn Shì | 哈 hā | เขตหนานกั่ง | 1921–1927, 1947–1949, 1953–1954 | ซงเจียง (มณฑลปัจจุบัน: เฮย์หลงเจียง) |
ปินโจว | ปิน |
ฮั่นโข่ว | 汉口市 | Hànkǒu Shì | 汉 hàn | เขตเจียงอ้าน | 1921–1927, 1929–1931, 1947–1949 | หูเป่ย์ | ฮั่นหยาง | ฮั่นหยาง |
อู๋ซี | 无锡市 | Wúxī Shì | 锡 xī | เขตปินหู | 1921–1927 | เจียงซู | ฉางโจว | อู๋ซี |
หางโจว | 杭州市 | Hángzhōu Shì | 杭 háng | เขตก่งชู่ | 1921–1927 | เจ้อเจียง | หางโจว | อู๋หาง |
หนิงปัว | 宁波市 | Níngbō Shì | 甬 yǒng | เขตหยินโจว | 1921–1927 | เจ้อเจียง | หนิงปัว | หยิน |
อานชิ่ง | 安庆市 | Ānqìng Shì | 安 ān | เขตต้ากฺวัน | 1921–1927 | อานฮุย | อานชิ่ง | ไหฺวหนิง |
หนานชาง | 南昌市 | Nánchāng Shì | 洪 hóng | เขตตงหู | 1921–1927 | เจียงซี | หนานชาง | หนานชาง |
อู่ชาง | 武昌市 | Wǔchāng Shì | 武 wǔ | เขตอู่ชาง | 1921–1927 | หูเป่ย์ | อู่ชาง | เจียงเซี่ย |
กว่างโจว | 广州市 | Guǎngzhōu Shì | 穗 suì | เขตเยฺว่ซิ่ว | 1921–1927, 1930, 1947–1954 | กวางตุ้ง | กว่างโจว | พันยฺหวี หนานไห่ |
อู๋โจว | 梧州市 | Wúzhōu Shì | 梧 wú | เขตฉางโจว | 1921–1927 | กว่างซี | อู๋โจว | ชางอู๋ |
หนานจิง | 南京市 | Nánjīng Shì | 宁 níng | เขตสฺวันอู่ | 1927–1952 | เจียงซู | เจียงหนิง | เจียงหนิง |
ซีอาน | 西安市 | Xī'ān Shì | 鎬 hào | เขตเว่ย์ยาง | 1927–1954 | ฉ่านซี | ซีอาน | ฉางอาน |
อู่ฮั่น | 武汉市 | Wǔhàn Shì | 汉 hàn | เขตเจียงอ้าน | 1927–1929, 1949 | หูเป่ย์ | ฮั่นหยาง อู่ชาง |
ฮั่นหยาง เจียงเซี่ย |
จิงตู | 北平市 | Jīngdū Shì | 平 píng | เขตตงเฉิง | 1928–1949 | จื๋อลี่ (มณฑลปัจจุบัน: เหอเป่ย์) |
ชุ่นเทียน | ต้าซิง |
ต้าเหลียน | 大连市 | Dàlián Shì | 连 lián | เขตซีกั่ง | 1947–1949 | อานตง/เหลียวตง (มณฑลปัจจุบัน: เหลียวหนิง) |
จินโจว | หนิงไห่ |
เฉิ่นหยาง | 沈阳市 | Shěnyáng Shì | 沈 shěn | เขตเฉิ่นเหอ | 1947–1954 | เหลียวซี (มณฑลปัจจุบัน: เหลียวหนิง) |
เฟิ่งเทียน | เฟิ่งเทียน |
อานชาน | 鞍山市 | Ānshān Shì | 鞍 ān | เขตเถี่ยตง | 1949–1954 | อานตง/เหลียวตง (มณฑลปัจจุบัน: เหลียวหนิง) |
เหลียวหยาง | ไห่เฉิง เหลียวหยาง |
เปิ่นซี | 本溪市 | Běnxī Shì | 本 běn | เขตผิงชาน | 1949–1954 | อานตง/เหลียวตง (มณฑลปัจจุบัน: เหลียวหนิง) |
เฟิ่งเทียน | เปิ่นซี |
ฝู่ชุ่น | 抚顺市 | Fǔshùn Shì | 抚 fǔ | เขตซินฝู่ | 1949–1954 | อานตง/เหลียวตง (มณฑลปัจจุบัน: เหลียวหนิง) |
เฟิ่งเทียน | ฝู่ชุ่น |
ลฺหวี่ต้า | 旅大市 | Lǚdà Shì | 旅 lǚ | เขตซีกั่ง | 1950–1954 | ลฺหวี่ต้า (มณฑลปัจจุบัน: เหลียวหนิง) |
จินโจว | หนิงไห่ |
ฉางชุน | 长春市 | Chángchūn Shì | 春 chūn | เขตหนานกฺวัน | 1953–1954 | จี๋หลิน | ฉางชุน | ฉางชุน |
อ้างอิง
แก้- ↑ ราชบัณฑิตยสภา. ประกาศสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เรื่อง กำหนดชื่อประเทศ ดินแดน เขตการปกครอง และเมืองหลวง วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2564 (หน้า 21)
- ↑ "Local Governments". Chinese Government's Official Web Portal. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 March 2012. สืบค้นเมื่อ 10 January 2015.
- ↑ "Administrative Division". english.www.gov.cn. สืบค้นเมื่อ 2021-07-21.
- ↑ [1] เก็บถาวร มีนาคม 18, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ [2] เก็บถาวร มีนาคม 18, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ [3] เก็บถาวร มิถุนายน 19, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Chongqing Mayor: Government Must Place Service Above Anything Else". Xinhua News Agency. March 3, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ November 21, 2008. สืบค้นเมื่อ February 21, 2011.
- ↑ ISO 3166-2:CN (ISO 3166-2 codes for the provinces of China)
- ↑ "Communiqué of the National Bureau of Statistics of People's Republic of China on Major Figures of the 2010 Population Census (No. 1)". National Bureau of Statistics of China. April 28, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 15, 2013. สืบค้นเมื่อ July 19, 2011.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ นครปกครองโดยตรงของประเทศจีน