ธรรมบท เป็นชื่อประชุมพระพุทธพจน์ในรูปแบบคาถา และเป็น 1 ในตำราพุทธศาสนาซึ่งได้รับความนิยมอ่านทั้งเป็นที่รู้จักมากที่สุด[1] ธรรมบทฉบับต้นที่สุดอยู่ในขุททกนิกายซึ่งเป็นหมวดหนึ่งในพระสุตตันตปิฎกในพระไตรปิฎกภาษาบาลี

พระพุทธโฆสะ นักวิชาการและนักวิจารณ์พุทธศาสนา อธิบายว่า พระพุทธฎีกาแต่ละส่วนที่บันทึกไว้นั้น พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ต่างโอกาสแล้วแต่สถานการณ์จำเพาะที่บังเกิดขึ้นในพระชนม์และในสังฆมณฑล เขาร่ายรายละเอียดสถานการณ์ดังกล่าวไว้ในงานเขียนเรื่อง "ธัมมปทัฏฐกถา" ซึ่งต่อมากลายเป็นแหล่งตำนานพระพุทธประวัติ[2]

ประวัติ

แก้

ตามประเพณี ธรรมบทนั้นประกอบด้วยพระพุทธพจน์ซึ่งพระโคดมพุทธเจ้าตรัสไว้ในหลาย ๆ โอกาส[3] "เพราะเหตุที่กลั่นตัวอย่างอันซับซ้อน ทฤษฎี ถ้อยคารม และระดับอันสูงของพระพุทธโอวาทให้เป็นร้อยกรองที่กระชับแต่โปร่งใสดังมณี ธรรมบทจึงช่วยให้วิถีพุทธเป็นที่เข้าถึงได้โดยทั่วกัน...อันที่จริง เป็นไปได้ว่า บ่อเกิดธรรมบทในช่วง 300 ปีก่อนคริสต์ศักราชนั้นโยงไยไปถึงการที่สังฆณฑลอินเดียสมัยแรก ๆ จำต้องถอดเอาโวหารธรรมแห่งถ้อยพระพุทธพจน์ต้นฉบับออกเป็นภาษาชาวบ้าน"[4] ธรรมบทนี้เป็นส่วนหนึ่งของขุททกนิกายในพระสุตตันตปิฎกของพระไตรปิฎก กระนั้น อย่างน้อยกึ่งหนึ่งของธรรมบทปรากฏในส่วนอื่น ๆ ของพระไตรปิฎกด้วย[5] ครั้นราว 400 หรือ 500 ปีก่อนคริสต์ศักราช พระพุทธโฆสะแต่งอรรถกถาอธิบายธรรมบทเรียกว่า "ธัมมปทัฏฐกถา" มีเนื้อหา 305 เรื่องเพื่อขยายความเข้าใจร้อยกรองธรรมบท

ธรรมบทฉบับภาษาบาลีเป็นที่รู้จักมากที่สุด แต่ก็ปรากฏฉบับอื่นด้วย[6]

การจัดระเบียบ

แก้

ธรรมบทในภาษาบาลีประกอบด้วยร้อยกรอง 423 บท แบ่งเป็น 26 หมวดดังนี้[7][8][9]

1. ยมกวัคค์ (บทแฝด)
2. อปปมาทวัคค์ (บทไม่ประมาท)
3. จิตวัคค์ (บทคำนึง)
4. บุปผวัคค์ (บทดอกไม้)
5. พาลวัคค์ (บทคนชั่ว)
6. ปัณฑิตวัคค์ (บทผู้ทรงภูมิ)
7. อรหัตนวัคค์ (บทอรหันต์)
8. สหัสสวัคค์ (บทพัน)
9. ปาปวัคค์ (บทบาป)
10. ทัณฑวัคค์ (บทลงโทษ)
11. ชราวัคค์ (บทสูงวัย)
12. อัตตวัคค์ (บทตน)
13. โลกวัคค์ (บทโลก)
14. พุทธวัคค์ (บทตื่นรู้)
15. สุขวัคค์ (บทสุข)
16. ปิยวัคค์ (บทอันเป็นที่รัก)
17. โกธวัคค์ (บทโกรธ)
18. มลวัคค์ (บทมัวหมอง)
19. ธัมมัตถวัคค์ (บททรงธรรม)
20. มัคควัคค์ (บทชี้ทาง)
21. ปกิณณกวัคค์ (บทเบ็ดเตล็ด)
22. นิรยวัคค์ (บทนรก)
23. นาควัคค์ (บทช้างสาร)
24. ทัณหวัคค์ (บทกระหาย)
25. ภิกขุวัคค์ (บทขอทาน)
26. พราหมณวัคค์ (บทพราหมณ์)

อ้างอิง

แก้
  1. See, for instance, Buswell (2003): "rank[s] among the best known Buddhist texts" (p. 11); and, "one of the most popular texts with Buddhist monks and laypersons" (p. 627). Harvey (2007), p. 322, writes: "Its popularity is reflected in the many times it has been translated into Western languages"; Brough (2001), p. xvii, writes: "The collection of Pali ethical verses entitled Dhammapada is one of the most widely known of early Buddhist texts."
  2. This commentary is translated into English as Buddhist Legends by E W Burlingame.
  3. Pertinent episodes allegedly involving the historic Buddha are found in the commentary (Buddharakkhita & Bodhi, 1985, p. 4). In addition, a number of the Dhammapada's verses are identical with text from other parts of the Pali tipitaka that are directly attributed to the Buddha in the latter texts. For instance, Dhammapada verses 3, 5, 6, 328-330 can also be found in MN 128 (Ñāamoli & Bodhi, 2001, pp. 1009-1010, 1339 n. 1187).
  4. Wallis (2004), p. xi.
  5. Geiger (2004), p. 19, para. 11.2 writes:

    More than half the verses may be found also in other canonical texts. The compiler of the [Dhammapada] however certainly did not depend solely on these canonical texts but also made use of the great mass of pithy sayings which formed a vast floating literature in India.

    In a similar vein, Hinüber (2000), p. 45, para. 90 remarks: "The contents of the [Dhammapada] are mainly gnomic verses, many of which have hardly any relation to Buddhism."
  6. Buddhist Studies Review, 6, 2, 1989, page 153, reprinted in Norman, Collected Papers, volume VI, 1996, Pali Text Society, Bristol, page 156
  7. English chapter titles based on Müller (1881).
  8. Pali retrieved 2008-03-28 from "Bodhgaya News" (formerly, La Trobe U.) starting at http://www.bodhgayanews.net/tipitaka.php?title=&record=7150 เก็บถาวร 2011-07-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, and from "MettaNet - Lanka" at http://www.metta.lk/tipitaka/2Sutta-Pitaka/5Khuddaka-Nikaya/02Dhammapada/index.html.
  9. Brough (2001) orders the chapters of the Gandhari Dharmapada as follows: I. Brāhmaṇa; II. Bhikṣu; III. Tṛṣṇā; IV. Pāpa; V. Arhant; VI. Mārga; VII. Apramāda; VIII. Citta; IX. Bāla; X. Jarā; XI. Sukha; XII. Sthavira; XIII. Yamaka; XIV. Paṇḍita; XV. Bahuśruta; XVI. Prakīrṇaka (?); XVII. Krodha; XVIII. Pruṣpa; XIX. Sahasra; XX. Śīla (?); XXI. Kṛtya (?); XXII. Nāga, or Aśva (?); XXIII. - XVI. [Lost]. [Parenthesized question marks are part of Brough's titles.] Cone (1989) orders the chapters of the Patna Dharmapada as follows: 1. Jama; 2. Apramāda; 3. Brāhmaṇa; 4. Bhikṣu; 5. Attha; 6. Śoka; 7. Kalyāṇī; 8. Puṣpa; 9. Tahna; 10. Mala; 11. Bāla; 12. Daṇḍa; 13. Śaraṇa; 14. Khānti; 15. Āsava; 16. Vācā; 17. Ātta; 18. Dadantī; 19. Citta; 20. Māgga; 21. Sahasra; [22. Uraga].

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
  •   วิกิซอร์ซมีงานที่เกี่ยวข้องกับ ธรรมบท