ทางหลวงชนบท ฉช.2004

ถนนในจังหวัดฉะเชิงเทรา ประเทศไทย

ทางหลวงชนบท ฉช.2004 แยก ทล.34 (กม.ที่ 35+900)–บ้านบางพระ เป็นทางหลวงชนบทที่เชื่อมระหว่างถนนเทพรัตน มาเชื่อมต่อกับถนนสิริโสธร เริ่มต้นในอำเภอบางปะกง ผ่านอำเภอบ้านโพธิ์ และสิ้นสุดในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา

ทางหลวงชนบท ฉช.2004
แยก ทล.34 (กม.ที่ 35+900)–บ้านบางพระ
แผนที่
แนวสายทางเริ่มต้นจากถนนเทพรัตน
และสิ้นสุดที่ถนนสิริโสธร
Rural Road-ฉช.2004 (1).jpg
ถนนในช่วงตำบลบางเตย อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
ข้อมูลของเส้นทาง
ความยาว25.046 กิโลเมตร (15.563 ไมล์)
ประวัติ
ทางแยกที่สำคัญ
ปลายทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ ถ.เทพรัตน ใน อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา
 
ปลายทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ถ.สิริโสธร ใน อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
ตำแหน่งที่ตั้ง
ประเทศไทย
ระบบทางหลวง

ประวัติ

แก้

ทางหลวงชนบท ฉช.2004 แต่เดิมคือส่วนหนึ่งของ ทางหลวงท้องถิ่นสายพิมพาวาส–แสนภูดาษ ปรากฏในผังเมืองรวมในพื้นที่อำเภอบางปะกงและส่วนต่อเนื่องอำเภอบ้านโพธิ์เมื่อปี พ.ศ. 2518[1] ต่อมาได้มีการรวมเขากับถนนเกษมราษฎร์พัฒนา ที่มีจุดเริ่มต้นในอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา[2] ซึ่งมีหลักฐานบนสะพานข้ามคลองหนองขอนระบุไว้บนราวสะพานว่า กรมโยธาธิการ พ.ศ. 2534 อยู่บนถนนช่วงตำบลบางเตย จึงสันนิษฐานว่าถนนช่วงดังกล่าวได้รับการขยายแนวเส้นทางช่วงปี พ.ศ. 2534 สอดคล้องกับประวัติการก่อตั้ง โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ 4 (ปัจจุบันยุบรวมเป็นโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ศูนย์บางเตย) ที่ตั้งอยู่บนสายทางดังกล่าว ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2536 เพื่อเป็นโรงเรียนมัธยมศึกษาประจำตำบลในท้องที่ตำบลบางเตย บางกะไห เกาะไร่ และตำบลข้างเคียงในพื้นที่[3]

หลังจากได้มีการก่อตั้งกรมทางหลวงชนบทขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ. 2545 ได้มีการถ่ายโอนถนนดังกล่าวให้กับกรมทางหลวงชนบท และแบ่งทางหลวงท้องถิ่นสายพิมพาวาส–แสนภูดาษใหม่โดยในส่วนตำบลพิมพา เป็นทางหลวงชนบท ฉช.2004 และในตำบลหนองจอก อำเภอบางปะกงกับตำบลแสนภูดาษ อำเภอบ้านโพธิ์กำหนดให้เป็นทางหลวงชนบท ฉช.3020[4] รวมถึงกำหนดสายทางของถนนเกษมราษฎร์ที่ตัดกันกับทางหลวงชนบท ฉช.3001 และมาบรรจบกับทางหลวงท้องถิ่นสายพิมพาวาส–แสนภูดาษให้เป็นทางหลวงชนบท ฉช.2004[5]

ในปี พ.ศ. 2566 กรมทางหลวงชนบทได้เข้าดำเนินการปรับปรุงและขยายเส้นทาง ตั้งแต่กิโลเมตรที่ 6+500 ผ่านทางแยกไปยังทางหลวงชนบท ฉช.2030 ที่กิโลเมตรที่ 6+636 และไปสิ้นสุดที่แยกเกาะไร่จุดบรรจบกับทางหลวงชนบท ฉช.3001 ระยะทางรวม 4.425 กิโลเมตร ให้เป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร ที่ประกอบไปด้วยไหล่ทางและทางเท้า ระบบสัญญาณไฟจราจร ระบบระบายน้ำ และระบบส่องสว่าง คาดว่าจะก่อสร้างเสร็จในปี พ.ศ. 2568[6]

รายละเอียดของเส้นทาง

แก้
 
ป้ายแสดงหมายเลขสายทาง

ทางหลวงชนบท ฉช.2004 เป็นทางหลวงชนบทชั้น 3 มีระยะทาง 25.046 กิโลเมตร พิ้นผิวจราจรแบบแอสฟัลต์คอนกรีต[7] ขนาด 2 ช่องจราจร เขตทางกว้าง 20 - 30 เมตร[5] มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากตำบลหอมศีล ต่อเนื่องไปยังตำบลพิมพา อำเภอบางปะกง จากนั้นเข้าสู่เขตตำบลเทพราช ตัดกับทางหลวงชนบท ฉช.3001 เข้าสู่ตำบลเกาะไร่ อำเภอบ้านโพธิ์ ผ่านไปยังเพื่อนที่ตำบลบางเตย และสิ้นสุดที่ตำบลบางพระ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเส้นทางดังกล่าวอยู่ในความดูแลของกรมทางหลวงชนบททั้งสายทาง[7]

ทางหลวงชนบท ฉช.2004 เป็นถนนอีกเส้นทางหนึ่งที่มีแนวโครงการทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทราพาดผ่าน ในส่วนของด้านใต้ ส่วนที่ 2 โดยเป็นการก่อสร้างในรูปแบบของแยกต่างระดับ ใช้ชื่อว่า แยกต่างระดับบางเตย เป็นรูปแบบของวงเวียนบนพื้นราบ และทางเลี่ยงเมืองเป็นสะพานยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร[8]

นอกจากนี้แนวเส้นทางยังมีการวางระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติฝั่งตะวันออกพาดผ่านบริเวณสายทาง[9] ทำให้การดำเนินการในการก่อสร้างหรือขยายเส้นทางจราจรของทางหลวงชนบท ฉช.2004 ต้องมีการดำเนินการปรับแนวและเคลื่อนย้ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)[10] โดยแนวท่อดังกล่าวเป็นแนวท่อเดียวกับที่เคยเกิดเหตุระเบิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2563 ช่วงแนวทางหลวงชนบท ฉช.3001 จนมีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต[11]

รายชื่อทางแยก

แก้
รายชื่อทางแยกบน   ทางหลวงชนบท ฉช.2004 ทิศทาง: แยก ทล.34 (กม.ที่ 35+900)–บ้านบางพระ
จังหวัด อำเภอ กม.ที่ ชื่อจุดตัด ซ้าย ขวา
  ทางหลวงชนบท ฉช.2004 (แยก ทล.34 (กม.ที่ 35+900)–บ้านบางพระ)
ฉะเชิงเทรา บางปะกง 0+000   ถนนเทพรัตน ไปกรุงเทพฯ   ถนนเทพรัตน ไปจังหวัดชลบุรี
2+600 สะพาน ข้ามคลองต้นโพธิ์
2+690 สป.5004 ทางหลวงชนบท สป.5004 ไปจังหวัดสมุทรปราการ ไม่มี
3+400 สะพาน ข้ามคลองบางขื่อ
4+830 ทางคู่ขนาน   ทล.3702 ไปจังหวัดสมุทรปราการ   ทล.3702 ไปอำเภอบางปะกง
สะพาน ข้ามทางหลวงพิเศษหมายเลข 7
  ทล.3701 ไปจังหวัดสมุทรปราการ   ทล.3701 ไปวิทยาลัยการอาชีพบางปะกง
6+636 ไม่มี ฉช.3020 ทางหลวงชนบท ฉช.3020 ไปตำบลแสนภูดาษ
6+653 สะพาน ข้ามคลองขวางล่าง
บ้านโพธิ์ 9+712 สะพาน ข้ามคลองขวาง
11+140 แยกเกาะไร่   ทางหลวงชนบท ฉช.3001 ไปเขตลาดกระบัง   ทางหลวงชนบท ฉช.3001 ไปบรรจบ   ถนนสิริโสธร
11+462 สะพาน ข้ามคลองประเวศบุรีรมย์
13+032 สะพาน ข้ามคลองเกาะไร่
เมืองฉะเชิงเทรา 14+712 สะพาน ข้ามคลองแพรกนกเอี้ยง
15+636 สะพาน ข้ามคลองบางกะรู
15+955 ฉช.ถ 1-0001 ทางหลวงท้องถิ่น ฉช.ถ 1-0001 ไปวัดจรเข้น้อย บรรจบ   ถนนสุวินทวงศ์ ไม่มี
17+515 สะพาน ข้ามคลองแพรกชุมรุม
18+365 ถนนบางเตยพัฒนา ไปสถานีรถไฟคลองบางพระ ไม่มี
18+400 แยกต่างระดับบางเตย   ทล.365 ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา (ด้านใต้) ส่วนที่ 2   ทล.365 ทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา (ด้านใต้) ส่วนที่ 2
18+740 สะพาน ข้ามคลองบางพระ
19+518 สะพาน ข้ามคลองบางเตย
20+410 สะพาน ข้ามคลองหนองขอน
21+713 สะพาน ข้ามคลองบางกะไห
21+875 ถนนโสธรวงแหวน ซอย 9 ไปองค์การบริหารส่วนตำบลโสธร ไม่มี
22+711 สะพาน ข้ามคลองบางกะหลาม
23+207 ไม่มี ถนนสว่างสุขอุทิศ ไปวัดเทพราชปวราราม
24+121 สะพาน ข้ามคลองลัดยายหรั่ง
24+804 สะพาน ข้ามคลองหมอคง
25+046 แยกบ้านใหญ่ (แยกนาคู)   ถนนสิริโสธร เข้าเมืองฉะเชิงเทรา   ถนนสิริโสธร ไปอำเภอบางปะกง
      สะพาน              กำลังก่อสร้างหรือโครงการในอนาคต

สถานที่สำคัญ

แก้

สถานที่ราชการ

แก้
  •  
    โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ศูนย์บางเตย อยู่ในเส้นทางช่วงตำบลบางเตย อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา
    โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลพิมพา
  • โรงเรียนวัดพิมพาวาส (สีล้งสาราลัย)
  • เทศบาลตำบลพิมพา
  • องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะไร่
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางเตย
  • โรงเรียนวัดเกาะ
  • โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ ศูนย์บางเตย
  • องค์การบริหารส่วนตำบลบางกะไห
  • โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบางกะไห
  • โรงเรียนวัดนาคู (โรงเรียนกระจ่างประชานุกูล)
  • โรงเรียนวัดบางปรง

ศาสนสถาน

แก้
  • วัดสุนีย์ศรัทธาราม
  • วัดพิมพาวาส (ใต้)
  • วัดพิมพาวาส (เหนือ)
  • มัสยิดอัลฮาดี
  • วัดราษร์บำรุงวนาราม
  • วัดนาคูโมทนามัยปุญญาราม
  • วัดบางปรงธรรมโชติการาม

อ้างอิง

แก้
  1. ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวง ฉบับที่ ๓๑๗ (พ.ศ. ๒๕๔๐) ออกตามความในพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. ๒๕๑๘. เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๒ ก. ๒๐ มิ.ย. ๒๕๔๐. หน้า ๙
  2. ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมเมืองฉะเชิงเทรา พ.ศ. ๒๕๔๙. เล่ม ๑๒๓ ตอนที่ ๕๙ ก. ๗ มิ.ย. ๒๕๔๙. หน้า ๗
  3. "ประวัติโรงเรียนโดยสังเขป". web.archive.org. 2005-01-16. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-01-16. สืบค้นเมื่อ 2023-06-28.
  4. ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนบางปะกง  จังหวัดฉะเชิงเทรา  พ.ศ.  ๒๕๕๔. เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๙ ก. ๒๗ เม.ย. ๒๕๕๔. หน้า ๓๐
  5. 5.0 5.1 ราชกิจจานุเบกษา. กฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวมชุมชนสุวินทวงศ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. ๒๕๕๘. เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๙ ก. ๑๑ ก.พ. ๒๕๕๘. หน้า ๑
  6. "เริ่มเข้าพื้นที่สร้างถนนสาย ฉช.2004 "ฉะเชิงเทรา" 4.4 กม. วงเงิน 549 ล้าน". เดลินิวส์.
  7. 7.0 7.1 "บัญชีโครงข่ายทางหลวงชนบท ประจำปีงบประมาณ 2566" (PDF). กรมทางหลวงชนบท. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-02-26. สืบค้นเมื่อ 2023-06-28.
  8. "กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม เปิดแบบทางเลี่ยงเมืองฉะเชิงเทรา". www.thaigov.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. "เช็กแนวท่อก๊าซ เรื่องควรรู้ก่อนซื้อบ้าน". www.ddproperty.com.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "วิศวกรใหญ่กรมทางหลวงชนบท ประชุมงานรื้อย้ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติเพื่อก่อสร้างถนนสาย ฉช.2004 แยก ทล.34 – ทล.314 จ.ฉะเชิงเทรา". drr.go.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)[ลิงก์เสีย]
  11. "เหตุท่อส่งก๊าซธรรมชาติระเบิด ทำชาวบ้านเขตรอยต่อฉะเชิงเทรา-สมุทรปราการขวัญผวา". mgronline.com. 2020-10-22.