ทะเลอารัล
ทะเลอารัล (คาซัค: Арал теңізі / Aral teñızı; อุซเบก: Orol dengizi / Орол денгизи; การากัลปัก: Aral ten'izi / Арал теңизи; รัสเซีย: Ара́льское мо́ре) เป็นทะเลปิดที่อยู่ในเอเชียกลาง อยู่ระหว่างประเทศคาซัคสถานกับสาธารณรัฐการากัลปักสถานในประเทศอุซเบกิสถาน ปัจจุบันปริมาณน้ำในทะเลลดลงมากจนทะเลแยกออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ทะเลอารัลเหนือ ทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันออก และทะเลอารัลใต้ส่วนตะวันตก
ทะเลอารัล | |
---|---|
ทะเลอารัลใน ค.ศ. 1989 (ซ้าย) และ 2014 (ขวา) | |
ที่ตั้ง | คาซัคสถาน - อุซเบกิสถาน, เอเชียกลาง |
พิกัด | 45°N 60°E / 45°N 60°E |
ชนิด | ทะเลปิด, ทะเลสาบธรรมชาติ, อ่างเก็บน้ำ (เหนือ) |
แหล่งน้ำไหลเข้าหลัก | เหนือ: แม่น้ำซีร์ดาร์ยา ใต้: เฉพาะน้ำบาดาล (อดีตคือแม่น้ำอามูดาร์ยา) |
พื้นที่รับน้ำ | 1,549,000 ตารางกิโลเมตร (598,100 ตารางไมล์) |
ประเทศในลุ่มน้ำ | [1] |
พื้นที่พื้นน้ำ | 68,000 ตารางกิโลเมตร (26,300 ตารางไมล์) (1960, ทะเลสาบเดียว) 28,687 ตารางกิโลเมตร (11,076 ตารางไมล์) (1998, สองทะเลสาบ) 17,160 ตารางกิโลเมตร (6,626 ตารางไมล์) (2004, สี่ทะเลสาบ) เหนือ: 3,300 ตารางกิโลเมตร (1,270 ตารางไมล์) (2008) ใต้: 3,500 ตารางกิโลเมตร (1,350 ตารางไมล์) (2005) |
ความลึกโดยเฉลี่ย | เหนือ: 8.7 เมตร (29 ฟุต) (2014)[ต้องการอ้างอิง] ใต้: 14–15 เมตร (46–49 ฟุต) (2005) |
ความลึกสูงสุด | เหนือ: 42 เมตร (138 ฟุต) (2008)[2] 30 เมตร (98 ฟุต) (2003) ใต้: 37–40 เมตร (121–131 ฟุต) (2005) 102 เมตร (335 ฟุต) (1989) |
ปริมาณน้ำ | เหนือ: 27 ลูกบาศก์กิโลเมตร (6 ลูกบาศก์ไมล์) (2007)[ต้องการอ้างอิง] |
ความสูงของพื้นที่ | เหนือ: 42 เมตร (138 ฟุต) (2011) ใต้: 29 m (95 ft) (2007) 53.4 เมตร (175 ฟุต) (1960)[3] |
ครั้งหนึ่งทะเลอารัลเคยมีพื้นที่มากถึง 68,000 ตารางกิโลเมตร แต่เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2503 ทะเลอารัลก็เล็กลงเรื่อย ๆ เพราะแม่น้ำอามูดาร์ยาและแม่น้ำซีร์ดาร์ยาที่ไหลเข้าสู่ทะเลโดนเปลี่ยนเส้นทางโดยโครงการชลประทานของสหภาพโซเวียต ในปี พ.ศ. 2547 พื้นที่ทะเลลดลงเหลือร้อยละ 25 ของขนาดเดิม และมีค่าความเค็มมากกว่าเดิมถึง 5 เท่า ซึ่งทำให้พืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ตายเสียส่วนใหญ่ ในปี พ.ศ. 2550 พื้นที่ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 10 ของขนาดเดิม แล้วทะเลอารัลก็แยกออกเป็นสามส่วน ซึ่งสองในสามนั้นเค็มเกินไปที่ปลาจะอาศัยอยู่ได้[4] อุตสาหกรรมการประมงที่เคยเฟื่องฟูได้ถูกทำลายลงไปแล้ว ส่วนเมืองประมงที่อยู่รอบ ๆ ชายฝั่งก็กลายสภาพเป็นสุสานเรือ ส่งผลให้เกิดปัญหาการว่างงานและปัญหาเศรษฐกิจตามมา
ปัญหาสิ่งแวดล้อม
แก้ประวัติ
แก้ใน พ.ศ. 2461 รัฐบาลโซเวียตมีโครงการเปลี่ยนเส้นทางของแม่น้ำสองสายซึ่งหล่อเลี้ยงทะเลอารัล ได้แก่แม่น้ำอามูดาร์ยา ทางตอนใต้ และแม่น้ำซีร์ดาร์ยา ทางตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสร้างการชลประทานให้พื้นที่ทะเลทรายในการปลูกข้าว แตง ธัญพืช และฝ้าย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของสหภาพโซเวียตเพื่อส่งเสริมให้ฝ้าย หรือทองคำสีขาว กลายเป็นสินค้าส่งออกหลัก โครงการนี้ทำให้ประเทศอุซเบกิสถานกลายเป็นผู้ส่งออกฝ้ายที่ใหญ่ที่สุดประเทศหนึ่งของโลก[5]
การก่อสร้างคลองชลประทานเริ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 2480 แต่คลองหลายสายถูกสร้างไม่ดี ทำให้สูญเสียน้ำจากการรั่วและระเหย มีการสูญเสียน้ำประมาณร้อยละ 30 ถึง 75 จากคลองคาราคัมซึ่งเป็นคลองที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียกลาง ก่อนถึงปี 2500 น้ำประมาณ 20 ถึง 60 ลูกบาศก์กิโลเมตรไหลไปยังพื้นดินแทนที่จะไหลลงทะเล น้ำที่ไหลลงสู่ทะเลส่วนใหญ่ถูกเปลี่ยนเส้นทาง จนทำให้ทะเลอารัลเริ่มหดตัวในช่วงทศวรรษที่ 2500 ระหว่างปี 2504 ถึง 2513 ระดับน้ำทะเลลดลงเฉลี่ยปีละ 20 เซนติเมตร ในทศวรรษที่ 2510 ระดับเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 50 ถึง 60 เซนติเมตรต่อปี และในทศวรรษที่ 2520 น้ำในทะเลยิ่งลดลงเร็วขึ้น ที่อัตราเฉลี่ย 80 ถึง 90 เซนติเมตรต่อปี การใช้น้ำเพื่อการชลประทานก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเช่นกัน ปริมาณน้ำที่ถูกนำไปใช้จากแม่น้ำเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าระหว่างปี 2500 และ 2543 ในขณะที่ปริมาณการผลิตฝ้ายก็เพิ่มขึ้นเกือบสองเท่าในช่วงเวลาเดียวกัน อุตสาหกรรมประมงในทะเลอารัลต้องสูญหายไป ทั้งที่ในยุครุ่งเรืองเคยมีการจ้างงานกว่า 40,000 คน และจับปลาได้ถึงหนึ่งในหกของปลาทั้งหมดของสหภาพโซเวียต เช่นเดียวกับการจับหนูมัสแครตบริเวณปากแม่น้ำอามูดาร์ยาและซีร์ดาร์ยา ซึ่งเคยผลิตขนได้ถึง 500,000 ตัวต่อปี[6]
การหดตัวของทะเลอารัลไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายของโซเวียต ในปี พ.ศ. 2507 อเล็กซานดร์ อซาริน แห่งสถาบันไฮโดรโปรเจกต์ ชี้ให้เห็นว่าทะเลสาบนี้ต้องถูกทำลายลงโดยอธิบายว่า "มันเป็นส่วนหนึ่งของแผนห้าปีซึ่งอนุมัติโดยรัฐบาลแห่งสหภาพโซเวียต และโปลิตบูโร ไม่มีใครในตำแหน่งต่ำกว่ากล้าขัดแย้งแผนเหล่านี้แม้แต่คำเดียว ถึงแม้ว่ามันจะเกี่ยวข้องกับชะตาของทะเลอารัลก็ตาม"[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ "DRAINAGE BASIN OF THE ARAL SEA AND OTHER TRANSBOUNDARY SURFACE WATERS IN CENTRAL ASIA" (PDF). United Nations Economic Commission for Europe (UNECE). 2005. สืบค้นเมื่อ 4 February 2016.
- ↑ "The Kazakh Miracle: Recovery of the North Aral Sea". Environment News Service. 1 August 2008. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 April 2010. สืบค้นเมื่อ 22 March 2010.
- ↑ JAXA - South Aral Sea shrinking but North Aral Sea expanding
- ↑ Philip Micklin; Nikolay V. Aladin (March 2008). "Reclaiming the Aral Sea". Scientific American. สืบค้นเมื่อ 2008-05-17.
{{cite news}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ USDA-Foreign Agriculture Service (2008). "Cotton Production Ranking". National Cotton Council of America. สืบค้นเมื่อ 2008-05-17.
- ↑ 6.0 6.1 Michael Wines (2002-12-09). "Grand Soviet Scheme for Sharing Water in Central Asia Is Foundering". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 2008-03-08.
ข้อมูล
แก้- Aladin, Nikolay Vasilevich; Gontar, Valentina Ivanovna; Zhakova, Ljubov Vasilevna; Plotnikov, Igor Svetozarovich; Smurov, Alexey Olegovich; Rzymski, Piotr; Klimaszyk, Piotr (27 November 2018). "The zoocenosis of the Aral Sea: six decades of fast-paced change". Environmental Science and Pollution Research International. 26 (3): 2228–2237. doi:10.1007/s11356-018-3807-z. PMC 6338704. PMID 30484051.
- Bissell, Tom (April 2002). "Eternal Winter: Lessons of the Aral Sea Disaster". Harper's. pp. 41–56. สืบค้นเมื่อ 17 May 2008.
- Bissell, Tom (2004). Chasing The Sea: Lost Among the Ghosts of Empire in Central Asia. New York: Vintage Books. ISBN 978-0-375-72754-2.
- Borroffka, Nikolaus G.O. (2010), "Archaeology and Its Relevance to Climate and Water Level Changes: A Review", ใน Kostianoy, Andrey G.; Kosarev, Aleksey N. (บ.ก.), The Aral Sea Environment, Heidelberg: Springer-Verlag, pp. 283–303
- Cretaux, Jean-François; Letolle, René; Bergé-Nguyen, Muriel (2013). "History of Aral Sea level variability and current scientific debates". Global and Planetary Change. 110: 99–113. Bibcode:2013GPC...110...99C. doi:10.1016/j.gloplacha.2013.05.006. สืบค้นเมื่อ 8 June 2020.
- Ellis, William S (February 1990). "A Soviet Sea Lies Dying". National Geographic. pp. 73–93.
- Ermakhanov, Zaualkhan K.; Plotnikov, Igor S.; Aladin, Nikolay V.; Micklin, Philip (28 February 2012). "Changes in the Aral Sea ichthyofauna and fishery during the period of ecological crisis". Lakes & Reservoirs: Research and Management. 17 (1): 3–9. doi:10.1111/j.1440-1770.2012.00492.x.
- Ferguson, Rob (2003). The Devil and the Disappearing Sea. Vancouver: Raincoast Books. ISBN 1-55192-599-0.
- Ryszard Kapuscinski, Imperium, Granta, 2019, ISBN 9781783785254
- Kasperson, Jeanne; Kasperson, Roger; Turner, B.L (1995). The Aral Sea Basin: A Man-Made Environmental Catastrophe. Dordrecht; Boston: Kluwer Academic Publishers. p. 92. ISBN 92-808-0848-6.
- Bendhun, François; Renard, Philippe (2004). "Indirect estimation of groundwater inflows into the Aral sea via a coupled water and salt mass balance model". Journal of Marine Systems. 47 (1–4): 35–50. doi:10.1016/j.jmarsys.2003.12.007. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 14 February 2008. สืบค้นเมื่อ 17 May 2008.
- Micklin, Philip (2007). "The Aral Sea Disaster". Annual Review of Earth and Planetary Sciences. 35 (4): 47–72. Bibcode:2007AREPS..35...47M. doi:10.1146/annurev.earth.35.031306.140120.
- Sirjacobs, Damien; Grégoire, Marilaure; Delhez, Eric; Nihoul, JCJ (2004). "Influence of the Aral Sea negative water balance on its seasonal circulation patterns: use of a 3D hydrodynamic model". Journal of Marine Systems. 47 (1–4): 51–66. Bibcode:2004JMS....47...51S. doi:10.1016/j.jmarsys.2003.12.008. hdl:2268/2793.
- Sun, Fangdi; Ma, Ronghua (14 June 2019). "Hydrologic changes of Aral Sea: A reveal by the combination of radar altimeter data and optical images". Annals of GIS. 25 (3): 247–261. doi:10.1080/19475683.2019.1626909.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Aral Sea from Space (time lapse)