อำเภอถลาง
ถลาง อำเภอหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต
อำเภอถลาง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Thalang |
คำขวัญ: เมืองประวัติศาสตร์ ธรรมชาติเลิศล้ำ ฟื้นฟูวัฒนธรรม สังคมสันติสุข | |
แผนที่จังหวัดภูเก็ต เน้นอำเภอถลาง | |
พิกัด: 8°1′54″N 98°20′0″E / 8.03167°N 98.33333°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ภูเก็ต |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 252.0 ตร.กม. (97.3 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 111,861 คน |
• ความหนาแน่น | 443.89 คน/ตร.กม. (1,149.7 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 83110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 8303 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอถลาง เลขที่ 357 ถนนเทพกระษัตรี ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต 83110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ที่ตั้งและอาณาเขต
แก้อำเภอถลางมีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอตะกั่วทุ่ง (จังหวัดพังงา)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอ่าวพังงา
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองภูเก็ตและอำเภอกะทู้
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับทะเลอันดามัน
ประวัติ
แก้พื้นที่เดิมของเกาะถลาง หรือ เกาะภูเก็ต ในแผนที่ของคลอดิอุส ปโตเลมี ประมาณ พ.ศ. 700 ระบุไว้ในชื่อ JUNK CEYLON เมื่อครั้งที่หลวงจีนอี้จิงเดินทางผ่านไปสืบพระพุทธศาสนาเรียกบริเวณนี้เป็น SILAN เปลี่ยนเสียงเป็น สลาง ในสมัยสุโขทัย มีปรากฏในจดหมายเหตุไทย - ฝรั่งเศส เป็น Jun Salon ฝ่ายเอกสารไทยใช้ ฉลาง มาจนถึงรัชกาลที่ 3 จึงมีปรากฏคำ ถลาง แทนชื่ออื่นทั้งหมด
ในหัวเมืองฝั่งทะเลตะวันตกของภาคใต้มีศูนย์กลางปกครองที่เมืองถลาง เจ้าเมืองถลางจะได้รับโปรดเกล้าฯเป็นผู้สำเร็จราชการแปดหัวเมือง (เมืองกระ เมืองคุระ เมืองคุรอด เมืองตะกั่วป่า เมืองตะกั่วทุ่ง (บางคลี) เมืองกราภูงา เมืองภูเก็จ และเมืองถลาง)
ศูนย์กลางการปกครองเมืองถลางในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ อยู่ที่บ้านลิพอน (ตำบลศรีสุนทร)มีพญาถลางคางเสงเป็นเจ้าเมือง ย้ายไปอยู่ที่บ้านดอน (ตำบลเทพกระษัตรี)มีพญาถลางจอมเฒ่าบ้านดอนเป็นเจ้าเมือง และเกาะบ้านเคียน (ตำบลเทพกระษัตรี) ในสมัยกรุงธนบุรี มีพญาถลางจอมรั้งบ้านเคียน พญาถลางอาด พญาถลางชู พญาสุรินทราชาพิมลอัยาขัน เป็นเจ้าเมือง พ.ศ. ๒๓๒๙ มีพญาเพชรคีรีศรีพิชัยสงครามรามคำแหง(เทียน ประทีป ณ ถลาง) เป็นเจ้าเมือง ถัดไปเป็นพระยาถลางฤกษ์ (จันทโรจวงศ์) พญาถลางทับ พญาถลางคิน และพญาถลางชู(เจ้าเมืองถลางคนสุดท้าย)
อำเภอถลางในอดีตเป็นเมืองของสองวีรสตรีท้าวเทพกระษัตรี และ ท้าวศรีสุนทร เดิมเรียกว่า อำเภอเมืองถลาง มีเจ้าเมืองปกครองเรียกว่า พระยาถลาง ได้จัดตั้งเป็นอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2441
- วันที่ 29 เมษายน 2460 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอถลาง มณฑลภูเก็ต เป็น อำเภอเมืองถลาง[1]
- วันที่ 14 พฤศจิกายน 2481 เปลี่ยนแปลงชื่ออำเภอเมืองถลาง จังหวัดภูเก็ต เป็น อำเภอถลาง[2] อีกครั้ง
- วันที่ 5 ธันวาคม 2483 โอนพื้นที่หมู่ 7,9 (ในขณะนั้น) ของตำบลดอน ไปขึ้นกับตำบลลิพอน[3]
- วันที่ 17 กันยายน 2498 จัดตั้งสุขาภิบาลเทพกระษัตรี ในท้องที่บางส่วนของตำบลเทพกระษัตรี[4]
- วันที่ 1 มีนาคม 2501 จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลศรีสุนทร ในท้องที่อำเภอถลาง[5]
- วันที่ 23 กรกฎาคม 2506 จัดตั้งสุขาภิบาลเชิงทะเล ในท้องที่บางส่วนของตำบลเชิงทะเล[6]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลเทพกระษัตรี และสุขาภิบาลเชิงทะเล เป็นเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี และเทศบาลตำบลเชิงทะเล[7] ตามลำดับ
เหตุการณ์สำคัญ
แก้10 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ได้เกิดเหตุเผาทำลายสถานีตำรวจภูธรถลาง ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวนมาก โดยเป็นเหตุจลาจล
การแบ่งเขตการปกครอง
แก้การปกครองส่วนภูมิภาค
แก้อำเภอถลางแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 46 หมู่บ้าน
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[8] |
แผนที่ |
---|---|---|---|---|---|
1. | เทพกระษัตรี | Thep Krasattri | 11
|
26,585
|
|
2. | ศรีสุนทร | Si Sunthon | 8
|
27,575
| |
3. | เชิงทะเล | Choeng Thale | 6
|
18,850
| |
4. | ป่าคลอก | Pa Khlok | 9
|
18,736
| |
5. | ไม้ขาว | Mai Khao | 7
|
13,836
| |
6. | สาคู | Sakhu | 5
|
7,016
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
แก้ท้องที่อำเภอถลางประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 8 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลเชิงทะเล ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเชิงทะเล
- เทศบาลตำบลเทพกระษัตรี ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลเทพกระษัตรี
- เทศบาลตำบลศรีสุนทร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลศรีสุนทรทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลป่าคลอก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าคลอกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเทพกระษัตรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเทพกระษัตรี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเชิงทะเล (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลเชิงทะเล)
- องค์การบริหารส่วนตำบลไม้ขาว ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไม้ขาวทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลสาคู ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสาคูทั้งตำบล
สถานที่สำคัญ
แก้- ท่าอากาศยานภูเก็ต (สนามบินนานาชาติภูเก็ต) ตำบลไม้ขาว
- พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ตำบลศรีสุนทร
- วนอุทยานสัตว์ป่าเขาพระแทว
- วัดพระทอง (วัดพระผุด) ตำบลเทพกระษัตรี
- วัดพระนางสร้าง ตำบลเทพกระษัตรี
- อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ตำบลศรีสุนทร
- อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ตำบลสาคู และตำบลไม้ขาว
อ้างอิง
แก้- ↑ [1] เก็บถาวร 2011-11-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนชื่ออำเภอ
- ↑ [2] เก็บถาวร 2011-11-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามจังหวัด และอำเภอบางแห่ง พุทธศักราช ๒๔๘๑
- ↑ [3]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงเขตตำบลในอำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
- ↑ [4]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเทพกษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
- ↑ [5]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล [จำนวน ๕๙ แห่ง]
- ↑ [6]ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
- ↑ [7] เก็บถาวร 2008-04-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีนพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.