วัดพระทอง
วัดพระทอง เป็นวัดราษฎร์สังกัดคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งอยู่ในตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 30 ไร่ 3 งาน 98 ตารางวา มีที่ธรณีสงฆ์ 2 แปลง เนื้อที่ 18 ไร่
วัดพระทอง | |
---|---|
ชื่อสามัญ | วัดพระทอง, วัดนาใน, วัดพระผุด, วัดพระหล่อคอ |
ที่ตั้ง | ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต |
ประเภท | วัดราษฎร์ |
นิกาย | มหานิกาย |
พระพุทธรูปสำคัญ | พระผุด |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
วัดพระทองตั้งวัดเมื่อ พ.ศ. 2328 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2523 มีพระพุทธรูปโบราณ มีลักษณะครึ่งองค์โผล่จากพื้น และมีอีกเรื่องเล่าว่า เมื่อคราวพระเจ้าปดุงมาตีเมืองถลางก็พยายามขุดพระไปด้วย แต่ไม่สามารถนำขึ้นได้เช่นกัน จึงสร้างพระครึ่งองค์ครอบไว้เรียกว่า พระผุด จนเมื่อพระธุดงค์มาปักกลดบริเวณนี้แล้วสร้างวัด โดยอัญเชิญพระผุดเป็นพระประธานในโบสถ์ กล่าวกันว่าพระผุดเป็นพระทองคำ จึงพอกปูนทับลงไปอีกครั้งดังที่เห็นในปัจจุบัน นามของวัดชาวบ้านเรียกแตกต่างกันไปว่า วัดนาใน บ้าง วัดพระผุด บ้าง หรือ วัดพระหล่อคอ ตามลักษณะพระพุทธรูป
วัดยังมีพิพิธภัณฑ์อยู่ข้างโบสถ์พระทอง เป็นที่รวมโบราณวัตถุและเครื่องใช้ของชาวภูเก็ตที่ชาวบ้านนำมาบริจาค[1] ด้านการศึกษาได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมเริ่มมาตั้งแต่ พ.ศ. 2503
อาคารเสนาสนะที่สำคัญ ได้แก่ อุโบสถกว้าง 8 เมตร ยาว 24 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2524 บานประตูหน้าต่างใช้ไม้สักแกะสลักภาพพุทธประวัติ ภายในอุโบสถมีภาพเขียนเรื่องพาหุง พระเจ้าสิบชาติ พระเวสสันดร พื้นปูด้วยหินอ่อน ศาลาการเปรียญกว้าง 16 เมตร ยาว 52 เมตร เป็นอาคารคอนกรีต 2 ชั้น กุฏิสงฆ์จำนวน 7 หลัง เป็นอาคารไม้และคอนกรีตชั้นเดียวและสองชั้น[2]
-
วิหารหลวงพ่อพระผุด เคยเป็นอุโบสถหลังเก่า
-
หลวงพ่อพระผุด
-
อุโบสถหลังปัจจุบัน
-
มณฑปประดิษฐานพระธาตุของหนึ่งในปัญจวัคคีย์
-
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงสักการะหลวงพ่อพระผุดในปี พ.ศ.2502
-
พระพุทธรูปปางพระเกศธาตุ
-
หุ่นจำลองเหตุการณ์เด็กเลี้ยงควายนำเชือกไปผูกกับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูป
รายนามเจ้าอาวาส
แก้- หลวงพ่อสิงห์
- หลวงพ่อไชย
- หลวงพ่อคง
- หลวงพ่อมั่น
- หลวงพ่อพัด
- หลวงพ่อวร
- พลวงพ่อชุ่ม
- หลวงพ่อโต
- หลวงพ่อวอน
- หลวงพ่อเขม
- หลวงพ่อพุธ
- หลวงพ่อรอด
- หลวงพ่อช่วย
- หลวงพ่อไชยศรี
- พระครูวิตถารสมณวัตร (ฝรั่ง) พ.ศ. 2440–2501
- พระครูสุวรรณพุทธาภิบาล (สุขุม) พ.ศ. 2503
อ้างอิง
แก้- ↑ "พิพิธภัณฑ์วัดพระทอง". พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย.
- ↑ "ประวัติวัดพระทอง พิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๗".